💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

จีดีพีไตรมาสสอง หดตัว “12.2%” แต่ดีกว่าคาด

เผยแพร่ 18/08/2563 14:23

Actual: -12.2%y/y Previous: -2.0%y/y (Revised)
KTBGM: -13.0%y/y Consensus: -13.0%y/y

GDP TH
เศรษฐกิจไทยไตรมาสสองหดตัว 12.2%y/y ถดถอยหนักสุดนับตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง (Q2/98 -12.5%)หลังการระบาดของ COVID-19 ได้ดับเครื่องยนต์เศรษฐกิจหลัก อาทิ
การบริโภคเอกชนและการลงทุน ภาคการส่งออกขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัวตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

เราเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดของวิกฤติไปแล้วและมองว่าจีดีพีจะหดตัวไม่น้อยกว่า 8%y/y ในปีนี้แต่จะกลับมาโตได้ราว 6% ในปีหน้า ทั้งนี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลังและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายควรร่วมประสานกันให้มากขึ้นเพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไป

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Real GDP) ไตรมาสที่ 2 ปี 2020 หดตัว 9.7% จากไตรมาสที่ผ่านมา (q/q)

ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสสองของปีนี้หดตัวถึง 12.2%จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมาจากการบริโภคเอกชนที่หดตัวหนักถึง 6.6% (จาก +2.7%ในไตรมาสแรก) ขณะเดียวกันการลงทุนก็หดตัวหนักขึ้น (-8.0% จาก -6.5%ในไตรมาสแรก) ส่วนภาคต่างประเทศก็หดตัวลงหนักโดยการส่งออกบริการ(ส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว) หดตัวกว่า 70% จากที่ขยายตัวได้เฉลี่ย 2% ในช่วง3 ปี ที่ผ่านมา เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าที่พลิกหดตัว 15.9% จากที่โตได้ 2.0%ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้ มีเพียงการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวกว่า 1.4% ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

สศช. ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2020 เป็นหดตัว -7.3% ถึง -7.8% โดย สศช. ประเมินว่าหากไม่มีการระบาด COVID-19 ระลอกที่ 2 ที่รุนแรงเศรษฐกิจก็ทยอยฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะทยอยออกเพิ่มเติมในครึ่งหลังของปีและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงของธนาคารแห่งประเทศไทย

เราเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยพ้นจุดต่ำสุดของวิกฤติ COVID-19 ในไตรมาสที่ 2 แต่เศรษฐกิจก็จะหดตัว 8.8% ในปีนี้ ก่อนที่จะพลิกกลับมาขยายตัวได้ 6.1% ปีหน้า

หากไม่มีการระบาดหนักของ COVID-19 อีกระลอก เราเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวต่อเนื่อง หนุนโดยภาพการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลกขณะเดียวกันการฟื้นตัวเศรษฐกิจก็จะได้รับอานิสงส์จากมาตรการของภาครัฐและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงของธปท. ทำให้ทั้งปี 2020 เศรษฐกิจไทยหดตัวราว 8.8%และขยายตัวกว่า 6.1% ได้ในปีหน้า (ตัวเลขคาดการณ์โดย Krungthai COMPASS)

อย่างไรก็ดี หากมีการระบาดอีกระลอกที่รุนแรง เศรษฐกิจก็อาจซบเซากว่าคาด โดยเราเชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยหนักอาจส่งผลให้ ธปท.ต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น เช่น ลดดอกเบี้ยจนเหลือ 0%หรือใช้เครื่องมือแบบใหม่ๆ อย่าง การทำ QE หรือการตรึงบอนด์ยีลด์ให้อยู่ในระดับต่ำเช่นเดียวกับ RBA, BI และ BOJ

ภาพเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยหนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง โดยเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยงที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม Cyclical ที่มีแนวโน้มผลประกอบการดีขึ้นตามภาวะการฟื้นตัวเศรษฐกิจ นอกจากนี้ หากนักลงทุนเชื่อว่าจะไม่มีการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงอีกระลอกการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่าง กองทุนรวมอสังหาฯและโครงสร้างพื้นฐาน(REITs and Infra.) ก็ยังมีความน่าสนใจเนื่องจากส่วนต่างของปันผลกับยีลด์พันธบัตรรัฐบาล (Yield spread)ที่จะยังสูงอยู่ภายใต้ภาวะดอกเบี้ยต่ำไปอีกนาน (Near Zero-rate for Longer) อีกทั้งระดับราคาสินทรัพย์ดังกล่าวก็เรียกได้ว่าต่ำจากระดับก่อน COVID อยู่มาก ทำให้นักลงทุนยังมีโอกาสลุ้นทั้งปันผลและส่วนต่างของราคา (Capital gains)

 

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย