การแตกพาร์หุ้นคือการที่บริษัทตัดสินใจแบ่งหุ้น 1 ส่วนออกเป็นหลายๆ ส่วนซึ่งหากพูดกันในเชิงเทคนิคแล้วการแบ่งหุ้นไม่ได้ทำให้มูลค่าของหุ้นหรือสัดส่วนของผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามกลยุทธ์นี้จะทำให้ราคาของแต่ละหุ้นลดลงแต่แลกมาด้วยความสามารถในการเข้าถือหุ้นของนักลงทุนรายย่อยเพิ่มขึ้นซึ่งกลยุทธ์นี้จะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงหุ้นในขณะที่หุ้นตัวนั้นๆ มีราคาสูงอยู่ได้
อีลอน มัสก์ CEO ของบริษัทเทสลา (NASDAQ:TSLA) เลือกใช้กลยุทธ์นี้เพื่อให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเป็นเจ้าของหุ้นเทสลาที่ปัจจุบันมีราคาอยู่ประมาณ $1,640 เพราะเขาเข้าใจดีว่าทุกคนกำลังให้ความสนใจเทสลาแต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้าเป็นจ้าของหุ้นเทสลาได้ในขณะที่ราคาหุ้นอยู่สูงขนาดนี้ซึ่งหลังจากที่ข่าวนี้ประกาศออกไปหุ้นเทสลาก็ปรับตัวสูงขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงการตัดสินใจที่ถูกต้องของโทนี่ สตาร์คในโลกความเป็นจริง
การแตกพาร์หุ้นของเทสลาถูกแบ่งออกในอัตราส่วน 5-1 เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเป็นเจ้าของหุ้นเทสลาได้หลังจากที่ตลอดทั้งปี 2020 หุ้นเทสลาทะยานขึ้นมาแล้ว 300% ในสัปดาห์ที่แล้วเฉพาะวันพุธวันเดียวที่มีข่าวแตกพาร์ หุ้นหุ้นเทสลาก็สามารถขึ้นมาได้มากถึง 13.12% วันพฤหัสบดีขึ้นมาอีก 4.2% มีราคาปิดล่าสุดอยู่ที่ $1651.50 ซึ่งการแบ่งหุ้นครั้งนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคมที่จะถึงนี้
เมื่อเดือนที่แล้วมีรายงานว่าเกือบ 4 หมื่นบัญชีใน “โรบินฮู้ด” ฟินเทคที่ให้บริการเป็นช่องทางการซื้อขายหุ้นและสินทรัพย์อื่นๆ เพิ่มหุ้นของบริษัทเทสลาเข้าไปในพอร์ตลงทุนลองพวกเขา นอกจากนี้การแบ่งหุ้นของเทสลายังส่งผลให้หุ้นของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์อื่นๆ ที่มีข่าวเกี่ยวกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้นทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเลยด้วยซ้ำ
นาย Ben Kallo และ Robert W. Baird นักวิเคราะห์ที่สำนักข่าวบลูมเบิร์กอ้างอิงถึงวิเคราะห์เหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า “การแตกพาร์ของหุ้นเทสลาครั้งนี้คือการตอกย้ำว่าโลกของเราในปัจจุบันมีนักลงทุนรายย่อยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีเติบโตอย่างก้าวกระโดดเพิ่มความคาดหวังให้กับนักลงทุนที่มองไปถึงยุคอนาคต”
เหรียญอีกด้านของ Tesla
อ้างอิงข้อมูลจาก Morningstar Direct กระแสความต้องการหุ้นเทสลาที่เกิดจากการแตกพาร์หุ้นทำให้หุ้นเทสลาเข้าใกล้คุณสมบัติที่จะสามารถถูกย้ายขึ้นไปมีชื่ออยู่บนดัชนีS&P 500 Index หรือตลาดหุ้นที่รวมของ 500 บริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาได้ ไม่ใช่เพียงเท่านั้นตอนนี้บริษัทเทสลาสามารถทำสถิติรายงานผลประกอบการที่ได้กำไรมา 4 ไตรมาสติดต่อกันและยิ่งเข้าใกล้เงื่อนไขที่ว่าบริษัทจะต้องมีมูลค่าทางการตลาดอย่างน้อย $1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หากว่าเทสลาถูกลิสต์ขึ้น S&P 500 จริงหุ้นเทสลาจะกลายเป็นหุ้นที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “น่าซื้อ” ทันที
ในความเห็นของเราการถือหุ้นเทสลาตอนนี้ไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีของนักลงทุนที่ต้องการถือหุ้นเทสลาโดยคิดว่าจะอ้างอิงจากความแข็งแกร่งพื้นฐานของบริษัทเพราะขาขึ้นของหุ้นเทสลาตอนนี้เกิดขึ้นจากการปั่นราคาขึ้นมาของนักลงทุนรายย่อยเป็นส่วนใหญ่จึงทำให้เราไม่สามารถประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นเทสลาได้ในตอนนี้
หุ้นของเทสลาตอนนี้มีราคาซื้อขายที่สูงมากกว่าการซื้อขายหุ้นของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์อย่างเช่นเจนเนอรัล มอเตอร์ (NYSE:NYSE:GM) มากถึง 14 เท่า และมีมูลค่าทางการตลาดอยู่ที่ $306,000 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ามูลค่าทางการตลาดของบริษิทโตโยต้า (NYSE:TM) และฟอร์ด (NYSE:F) รวมกัน
แต่ถ้าพูดถึงเรื่องการทำกำไรกลับกลายเป็นว่ามีบทวิเคราะห์น่าสนใจของนักข่าว Wall Street Journal รายงานว่าเทสลาไม่ได้ทำกำไรเพิ่มขึ้นจากการขายรถยนต์ไฟฟ้าเพียงลำพังแล้ว
“อันที่จริงแล้วยอดตัวเลขผลกำไรรวมของเทสลาลดลง 4% เมื่อเทียบจากปีที่แล้วแต่เทสลายังสามารถทำกำไรได้มากถึง $6,000 ล้านเหรียญโดยมี $428 ล้านเหรียญมาจากค่าเช่าที่เก็บจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์อื่นที่มาใช้เทคโนโลยีผลิตรถไร้มลพิษจากเทสลาเพื่อให้ได้สิทธิ์ตามกฎหมายยกเว้นเก็บภาษีให้กับบริษัทที่สามารถผลิตรถยนต์ไร้มลพิษได้ เฉพาะกำไรจากการเก็บในส่วนนี้เทสลาได้กำไรมากกว่า 100% จากรายได้ที่เทสลาทำได้จากธุรกิจทั้งหมด ในไตรมาสที่ 2 ปี 2019 เทสลาได้กำไรจากการขายเชื่อ $111 ล้านเหรียญสหรัฐ”
อันที่จริงแล้วการเติบโตของกำไรเทสลาเพิ่มขึ้นน้อยมากมาตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2018 ถ้าไม่ได้กฎหมายที่เอื้อประโยชน์กับรถที่ไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศ (ZEV) และกฎหมายการขายเชื่อมาช่วย เทสลาจะไม่สามารถทำสถิติรายงานผลประกอบการที่มีกำไรเป็นบวก 4 สัปดาห์ติดอย่างที่เป็นข่าวได้เลย
โดยสรุปแล้ว
หุ้นเทสลาได้รับประโยชน์จากการแตกพาร์หุ้นเพราะกลยุทธ์นี้เปิดโอกาสให้มีผู้ถือหุ้นรายย่อยสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับเทสลาได้ แต่ความจริงก็คือการแบ่งหุ้นนี้ไม่ได้เปลี่ยนพื้นฐานความเป็นจริงและมูลค่าของบริษัทเทสลาไปซึ่งความจริงที่ว่านั้นก็คือยอดขายจากรถพลังงานไฟฟ้าไม่ได้เพิ่มขึ้น