💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

เศรษฐกิจไทยเดือน มิ.ย. เริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น

เผยแพร่ 03/08/2563 11:14
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน มิ.ย. ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า หลังจากมีการทยอยผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมต่าง ๆ เริ่มกลับมาดำเนินการ สะท้อนจากการลงทุนภาครัฐยังขยายต่อได้ดีต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 รวมทั้งการส่งออกไม่รวมทองคำ -18.4% YoY ถือว่า ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเช่นเดียวกับการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนหดตัวน้อยลง

อย่างไรก็ดีภาคการท่องเที่ยวยังได้รับผลกระทบทางตรงอย่างหนักเป็นเดือนที่3 ทั้งนี้เราคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยใน 3Q63 มีแนวโน้มฟื้นตัว โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน หลังจากไม่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยเป็นเวลา 60 วัน ทางด้านเศรษฐกิจต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญได้มีการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown เช่นเดียวกันส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่จึงทำให้ปริมาณการค้ามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แต่เรามองว่า เศรษฐกิจต้องเผชิญกับความท้าทาย ได้แก่1) ภาคการท่องเที่ยวที่อาจต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว 2) การแข็งค่าของค่าเงินบาทอาจเป็นปัจจัยกดดันภาคการส่งออก3) อัตราเงินเฟ้อและดัชนีความเชื่อม่ันผู้บริโภคที่อยู่ในระดับต่า และ4) ตลาดแรงงานยังเปราะบาง

ภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน มิ.ย. ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า หลังจากภาครัฐมีการคลายมาตรการ Lockdown อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวยังคงถูกกระทบอย่างหนักจากมาตรการการห้ามเดินทางข้ามประเทศที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มีเพียงการใช้จ่ายภาครัฐเท่านั้นที่ยังคงขยายตัวได้เป็นเดือนที่ 4


1) จำนวนนักท่องเที่ยวหดตัว 100% YoY ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากผลของมาตรการการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID–19 ซึ่งผลของจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงนั้นทำให้กระทบต่อธุรกิจ และ แรงงานที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยว เช่น โรงแรมและธุรกิจขนส่ง

2) การลงทุนภาคเอกชน หดตัว 12.1% YoY ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 แต่ถือว่า ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ลดลง ที่ -22.6% YoY และการลงทุนในหมวดก่อสร้างหดตัว 2.4% YoY ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ตามยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างโดยเฉพาะเสาเข็มคอนกรีต

3) มูลค่าการส่งออก หดตัวเร่งขึ้น 24.6% YoY ซึ่งหากไม่รวมการส่งออกทองคำส่งผลให้มูลค่าการส่งออกติดลบน้อยลงที่ 18.4% YoY โดยเป็นการปรับดีขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้นตามการทยอยเปิดเมืองของประเทศคู่ค้าจาก 1) หมวดยานยนต์และชิ้นส่วน -38.3% YoY ตามการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ที่หดตัวเพิ่มขึ้น 2) เครื่องจักรและอุปกรณ์ -22.7% YoY สอดคล้องกับภาวะการลงทุนของประเทศคู่ค้าที่อ่อนแอ 3) สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันที่หดตัวทั้งด้านราคาและปริมาณ

4) การบริโภคภาคเอกชน -4.7% YoY ติดลบน้อยลงจากเดือนก่อนหน้า หลังจากภาครัฐมีการคลายมาตรการ Lockdown จึงทำให้ประชาชนออกมาใช้จ่ายได้มากขึ้น ประกอบกับแรงหนุนต่อเนื่องจากมาตรการเยียวยาของภาครัฐ และรายได้เกษตรกรที่หดตัวน้อยลง อย่างไรก็ตาม การบริโภคภาคเอกชนยังคงหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากการจ้างงาน รายได้ และความเชื่อมั่นที่อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน -18.9% YoY หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ตามยอดจำหน่ายรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล รถเชิงพาณิชย์และยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ที่ปรับตัวดีขึ้น2) สินค้ากึ่งคงทนลดลงตามการนำเข้าเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม 3) สินค้าไม่คงทน -3.2% YoY หดตัวลดลงตามการใช้จ่ายที่ปรับตัวดีขึ้นทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ และน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ไปบางส่วน รวมทั้งได้รับแรงหนุนจากมาตรการการเยียวยาจากภาครัฐ


ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นกิจกรรมหลักที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจ โต 15.2% YoY ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน โดยรายจ่ายประจำขยายตัวเล็กน้อยตามการเบิกจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการเป็นสำคัญ ส่วนรายจ่ายลงทุนขยายตัวสูงตามการเบิกจ่ายของรัฐบาลกลางเพื่อซ่อมบำรุงถนนเป็นสำคัญ

บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Yuanta Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย