💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

ส่งออกเดือนมิถุนายน ยังคงหดตัว “23.17%”

เผยแพร่ 24/07/2563 16:49

Exports June 2020
Actual: -23.17%y/y
Previous: -22.50%y/y
Consensus: -15.0%y/y

Import and export data
♦ยอดการส่งออกไทยเดือนมิถุนายนยังคงหดตัว 23.17%y/yแย่กว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ -15.0%ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการระบาด COVID-19และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ยอดการนำเข้าหดตัว18.05%y/y ทำให้ดุลการค้ายังคงเกินดุลกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์


♦ เราคงมองว่า การส่งออกไทยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและมีแนวโน้มปรับตัวได้ดีขึ้นตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกในช่วงครึ่งหลังของปี นอกจากนี้ยอดส่งออกจะได้รับแรงหนุนจากยอดการส่งออกทองคำหลังราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นใกล้จุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ดุลการค้ามีแนวโน้มเกินดุลต่อเนื่องส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปีอยู่ในระดับ 3%-4% ของ GDPเนื่องจากยอดการนำเข้าจะฟื้นตัวได้ช้า

 เรามองว่าดุลการค้าเกินดุลจะเป็นปัจจัยหนุนให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นปีแม้ว่าการท่องเที่ยวและการลงทุนจากต่างชาติจะยังไม่ฟื้น

กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมิถุนายนโดยยอดการส่งออกหดตัวต่อเนื่องถึง 23.17%ส่วนยอดการนำเข้าก็หดตัวราว 18.05% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนทำให้ดุลการค้าเกินดุลราว 1.6 พันล้านดอลลาร์

 ยอดการส่งออกสินค้ามีมูลค่า 16.4 พันล้านดอลลาร์คิดเป็นการหดตัวถึง 23.17%y/yแม้จะเป็นการหดตัวลงในเกือบทุกหมวดสินค้า ยกเว้นสินค้าประเภทอาหารและสินค้าจากยางพาราที่ขยายตัวราว 7% และ 10%ตามลำดับ แต่ภาพรวมการส่งออกนั้นดีขึ้น โดยสินค้าอุตสาหกรรมหดตัว25% ดีขึ้นจากที่หดตัวถึง 27% ในเดือนก่อนหน้า

หนุนโดยการฟื้นตัวของยอดการส่งออกสินค้าเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวเหลือ 0.3% จากที่หดตัวกว่า 15% อย่างไรก็ดีสินค้าเกษตรยังคงเผชิญปัญหาหนักสะท้อนจากปริมาณการส่งออกที่หดตัวหนักขึ้นพร้อมกับราคาสินค้าเกษตรหลักที่ยังซบเซา

กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ยอดการส่งออกจะค่อยๆฟื้นตัวดีขึ้นสะท้อนจากยอดสั่งซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากบริษัทที่ต้องการลดความเสี่ยงปัญหา Supply Chain ในจีน ขณะเดียวกันการส่งออกก็จะมีแรงหนุนจากโอกาสที่บริษัทต่างชาติจะลดการพึ่งพาการผลิตในจีน และหันมาตั้งฐานการผลิตในไทย อาทิอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์

เราคงมุมมองว่า ดุลการค้าเกินดุลมีแนวโน้มเกินดุลและหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น แตะ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นปี

การฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกจะช่วยหนุนการส่งออกสินค้าไทยขณะเดียวกัน ยอดการนำเข้าจะฟื้นตัวอย่างช้าๆเนื่องจากบริษัทเอกชนก็มีแนวโน้มชะลอการลงทุนไปก่อนพร้อมกันนั้นราคาน้ำมันที่จะทรงตัวในระดับต่ำรวมถึงความต้องการสินค้าในประเทศที่ค่อยๆฟื้นตัว จะเป็นปัจจัยหนุนให้ดุลการค้ามีแนวโน้มเกินดุลต่อเนื่อง ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวจะช่วยให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นแตะ 30.50 บาทต่อดอลลาร์ ณ สิ้นปี ทั้งนี้ในระยะสั้นเงินบาทมีความเสี่ยงที่จะผันผวนสูงขึ้นและอาจอ่อนค่าลงใกล้ระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์ได้ จากปัจจัยความเสี่ยงสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงใกล้การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ประเด็นการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่สองและความอ่อนไหวของการเมืองในประเทศ

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย