รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

รายงานผลประกอบการ 5 บริษัทใหญ่ของสหรัฐฯ ที่จะต้องทำให้ตลาดต้องสะเทือน

โดยInvesting.com
ผู้เขียนJesse Cohen
เผยแพร่ 17/07/2563 14:52

เริ่มต้นกันไปแล้วกับการรายงานผลประกอบไตรมาสที่ 2 ปี 2020 ซึ่งนักลงทุนว่ากันว่าจะเป็นตัวเลขผลประกอบการที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตทางการเงินปี 2008 เลยทีเดียว ในสัปดาห์หน้าความเข้มข้นของการรายงานตัวเลขจะยิ่งส่งผลกระทบต่อตลาดลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ

กลุ้มหุ้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มพลังงาน นักวิเคราะห์คาดว่าหุ้นในกลุ่มนี้จะร่วงลงมากถึง 154% ตามมาด้วยหุ้นในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่คาดการณ์เอาไว้ 114% เทียบกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่นักวิเคราะห์มองว่าจะได้รับความเสียหายเพียง 8% เท่านั้น

หากนับเฉพาะบริษัทในกลุ่มเทคโนโลยีชื่อดังอย่าง แอปเปิล ไมโครซอฟท์ แอมะซอน กูเกิลและเฟซบุ๊กรวมกันแล้วพบว่าทั้ง 5 บริษัทคิดเป็น 20% ของมูลค่าทางการตลาดของดัชนี S&P 500 สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของกลุ่มเทพหุ้นเทคโนโลยีว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ มากขนาดไหน ผลสำรวจจากแบงก์ ออฟ อเมริการะบุว่ามากกว่า 74% ของผู้จัดการกองทุนเชื่อว่าหุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังไงก็สามารถปรับตัวขึ้นต่อไปได้Top 5 Companies % Of Market Cap

ในบทความนี้เราจะพาไปดูสถานการณ์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้ง 5 ว่าพวกเขามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนกับการรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ที่กำลังจะมาถึงนี้

1. Microsoft (รายงานผลประกอบการในวันที่ 22 กรกฏาคมหลังจากตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ปิด)

คาดการณ์อัตราการเติบโตของการปันผลกำไรต่อหุ้น (EPS) ในไตรมาสที่ 2: +1.4% แบบปีต่อปี
คาดการณ์อัตราการเติบโตของผลกำไรในไตรมาสที่ 2: +8% แบบปีต่อปี

ไมโครซอฟท์ (NASDAQ:MSFT) คือหนึ่งในบริษัทที่สามารถทำผลงานได้อย่างโดดเด่นในช่วงวิกฤตโควิด-19 ด้วยตัวเลขการปรับตัวขึ้น 51% ตลอด 4 เดือนล่าสุด สร้างขาขึ้นที่มากกว่าดัชนี S&P 500 มากถึง 38% เมื่อเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน หุ้นไมโครซอฟท์มีจุดสูงสุดอยู่ที่ $216.35 ที่พึ่งสามารถขึ้นไปทำได้เมื่อวันที่ 9 กรกฏาคมและปัจจุบันมีราคาล่าสุดอยู่ที่ $203.92 บริษัทไมโครซอฟท์มีมูลค่าทางการตลาดรวมแล้วทั้งสิ้นอยู่ที่ 1,580,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นบริษัทที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงสุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก

ที่ผ่านมาบริษัทไมโครซอฟท์ทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำจากความต้องการบริการบนระบบคลาวด์ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หลายๆ บริษัทเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของระบบออนไลน์และพยายามอัปเกรดบริการต่างๆ ภายในบริษัทเพื่อเอาตัวรอดจากวิกฤตโควิด-19 และรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปพึ่งพาระบบออนไลน์กันมากขึ้น

MSFT Daily

บริษัทไมโครซอฟท์จะรายงานผลประกอบการตามปีทางบัญชีของไตรมาสที่ 4 ในวันพุธที่ 22 กรกฏาคมหลังจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิด นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขการปันผลต่อหุ้นของไมโครซอฟท์จะอยู่ที่ $1.39 ต่อหุ้นมากกว่า $1.37 ของช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้วและมีตัวเลขกำไรสุทธิอยู่ที่ $36,420 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้น 8% จากตัวเลข $33,720 ล้านเหรียญสหรัฐของปี 2019 ในช่วงเวลาเดียวกัน

หนึ่งมาตรวัดความสำเร็จของไมโครซอฟท์ที่นักวิเคราะห์จะจับตาดูคืออัตราการเติบโตของผู้ใช้งานบริการระบบคลาวด์ของบริษัทไม่ว่าจะเป็น Azure, GitHub, เซิฟเวอร์ SQL, เซิฟเวอร์ของผลิตภัณฑ์ Windows และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจคลาวด์ เฉพาะกำไรแบบปีต่อปีของไมโครซอฟท์เพิ่มขึ้น 39% จากธุรกิจระบบคลาวด์คิดเป็น $13,300 ล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสล่าสุดในขณะที่กำไรจาก Azure เพิ่มขึ้น 59%

2. Amazon (รายงานผลประกอบการในวันที่ 23 กรกฏาคมหลังจากตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ปิด)

คาดการณ์อัตราการเติบโตของการปันผลกำไรต่อหุ้น (EPS) ในไตรมาสที่ 2: -73.3% แบบปีต่อปี
คาดการณ์อัตราการเติบโตของผลกำไรในไตรมาสที่ 2: +27.4% แบบปีต่อปี

บริษัทค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกแอมะซอน (NASDAQ:AMZN) คืออีกหนึ่งตัวอย่างของการวางตัวเองไว้ในการค้าขายออนไลน์เป็นหลักก่อนที่โควิดจะมาและวันนี้วิสัยทัศน์ของ CEO คนเก่งก็แสดงให้เห็นว่าการค้าขายออนไลน์สามารถเอาตัวรอดได้อย่างไรในวันที่โลกไม่อนุญาตให้ผู้คนรวมตัวกัน หุ้นแอมะซอนทะยานขึ้นมา 65% นับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม มีราคาสูงสุดอยู่ที่ $3,344 และมีราคาปิดล่าสุดอยู่ที่ $2999.90 ปัจจุบันบริษัทแอมะซอนมีมูลค่าทางการตลาดรวมแล้วทั้งสิ้น $1,510,000 ล้านเหรียญสหรัฐและเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดเป็นอันดับสามในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ

AMZN Daily

การรายงานผลประกอบการของแอมะซอนจะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฏาคมหลังตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ปิด นักวิเคราะห์คาดว่ากำไรสุทธิที่แอมะซอนจะทำได้ในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ $80,800 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นอัตราการเติบโตแบบปีต่อปีอยู่ที่ 27.4% สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตของวงการ e-commerce และธุรกิจคลาวด์ ที่น่าตกใจคือนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขการปันผลกำไรต่อหุ้นของแอมะซอนจะลดลงมากถึง 74% จากตัวเลขของเมื่อปีที่แล้วลงไปยัง $1.37 ต่อหุ้นเพราะบริษัทได้นำเงินไปอุ้มพนักงานของบริษัทเอาไว้ไม่ให้พนักงานตกงานในช่วงโควิด-19

นอกจากตัวเลข EPS และผลกำไรแล้ว ตลาดจะให้ความสนใจกับการเติบโตของธุรกิจคลาวด์และต้องการดูว่าแอมะซอนสามารถขยายบริการ Amazon Web Services (AWS) ของตัวเองไปได้ไกลแค่ไหน เฉพาะยอดขายจาก AWS ช่วยให้แอมะซอนทำเงินได้มากถึง $10,220 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว

3. Facebook (รายงานผลประกอบการในวันที่ 29 กรกฏาคมหลังจากตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ปิด)

คาดการณ์อัตราการเติบโตของการปันผลกำไรต่อหุ้น (EPS) ในไตรมาสที่ 2: +50.5% แบบปีต่อปี
คาดการณ์อัตราการเติบโตของผลกำไรในไตรมาสที่ 2: +1.3% แบบปีต่อปี

อีกหนึ่งบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากโควิดโดยตรงเลยคือเฟซบุ๊ก (FB) ตลอดช่วง 4 เดือนที่ล่าสุดหุ้นเฟซบุ๊กปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 60% สร้างจุดสูงสุดเอาไว้ที่ $250.05 และมีราคาปิดปัจจุบันอยู่ที่ $240.93 ปัจจุบันบริษัทเฟซบุ๊กมีมูลค่าทางการตลาดอยู่ที่ $681,000 ล้านเหรียญสหรัฐและถือเป็นบริษัทเดียวที่มูลมูลค่าทางการตลาดต่ำกว่า $1,000,000 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับบริษัทยักษ์ใหญ่อีก 4 บริษัท

FB Daily

แต่เฟซบุ๊กก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ชนะที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในช่วงโควิดเนื่องจากรัฐบาลมีคำสั่งให้ประชาชนต้องทำงานอยู่กับบ้าน การค้าขายในส่วนใหญ่จึงต้องเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์และเฟซบุ๊กก็ได้รับเลือกให้เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยส่วนใหญ่ นี่คือที่มาว่าทำไมแอปพลิเคชันชื่อดังทั้ง 3 อย่างเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม (Instagram) และวอทส์แอป (WhatsApp) ถึงมียอดผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นซึ่งเมื่อนำยอดผู้ใช้งานมารวมกันแล้วสามารถประเมินได้ 2,600 ล้านคน

ในช่วงนี้แม้เฟซบุ๊กจะมีข่าวการถูกบริษัทผู้ลงโฆษณายักษ์ใหญ่ประมาณ 1,000 รายร่วมกันคว่ำบาตรไม่โฆษณาบนเฟซบุ๊กแต่นักวิเคราะห์ยังคงเชื่อมั่นในรายงานผลประกอบการของวันพุธที่ 29 กรกฎาคมว่าเฟซบุ๊กจะมีตัวเลขการปันผลต่อหุ้นเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% เป็น $1.37 ได้เมื่อเทียบในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนตัวเลขผลกำไรคาดว่าเฟซบุ๊กจะสามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้นจาก $16,890 ล้านเหรียญสหรัฐเป็น $17,100 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบในช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตามนักลงทุนก็ยังต้องการทราบว่าการร่วมกันคว่ำบาตรของบริษัทมากถึง 1,000 บริษัทจะส่งผลกระทบต่อกำไรจากโฆษณาของเฟซบุ๊กในไตรมาสนี้และตลอดทั้งปี 2020 มากแค่ไหน

4. Apple (รายงานผลประกอบการในวันที่ 30 กรกฏาคมหลังจากตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ปิด)

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

คาดการณ์อัตราการเติบโตของการปันผลกำไรต่อหุ้น (EPS) ในไตรมาสที่ 2: -7.8% แบบปีต่อปี
คาดการณ์อัตราการเติบโตของผลกำไรในไตรมาสที่ 2: -5.3% แบบปีต่อปี

คงไม่ต้องแนะนำตัวกันเยอะกับบริษัทนี้เพราะเพียงพูดคำว่าไอโฟน (iPhone) ทุกคนก็ร้อง “อ๋อ” กันหมดแล้ว จริงอยู่ว่าวิกฤตโควิดถือว่าสร้างผลกระทบกับสายพานการผลิตไอโฟนของแอปเปิล (NASDAQ:AAPL) อย่างมีนัยสำคัญแต่หุ้นของบริษัทผลไม้ก็ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้ตั้ง 70% นับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคม

หุ้นแอปเปิลสร้างจุดสูงสุดตลอดกาลเอาไว้ที่ $399.82 เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาและมีราคาล่าสุดอยู่ที่ $386.09 ปัจจุบันบริษัทแอปเปิลมีมูลค่าทางการตลาดรวมแล้วทั้งสิ้น $1,680,000 ล้านเหรียญสหรัฐและเป็นบริษัทที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ปัจจุบันAPPL Daily

บริษัทแอปเปิลจะรายงานผลประกอบการในวันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขการปันผลกำไรต่อหุ้นของแอปเปิลจะอยู่ที่ $2.01 ลดลง 8% จากช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้วซึ่งเคยอยู่ที่ $2.18 เช่นเดียวกันกับตัวเลขยอดขายที่ถูกคาดการณ์ว่าจะลดลง 5.3% ในช่วงเวลาเดียวกันเหลือ $50,920 ล้านเหรียญสหรัฐเนื่องจากยอดขายของบริษัทได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการล็อกดาวน์ทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกาและยุโรป

แม้ว่าแอปเปิลจะไม่รายงานยอดขายต่อหน่วยของไลน์อัปผลิตภัณฑ์ให้ทราบ แต่นักลงทุนก็ต้องการทราบว่าแอปเปิลจะยอมเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกของผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับไอโฟนรุ่นประหยัดที่พึ่งเปิดตัวไปอย่าง “iPhone SE” หรือไม่ นอกจากนี้นักลงทุนยังสนใจอยากที่จะรู้ตัวเลขยอดขายผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกอย่างเช่น AirPods และ Apple Watch 

5. Google (รายงานผลประกอบการในวันที่ 30 กรกฏาคมหลังจากตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ปิด)

คาดการณ์อัตราการเติบโตของการปันผลกำไรต่อหุ้น (EPS) ในไตรมาสที่ 2: -44.4% แบบปีต่อปี
คาดการณ์อัตราการเติบโตของผลกำไรในไตรมาสที่ 2: -4.7% แบบปีต่อปี

บริษัทสุดท้ายที่เราจะพูดถึงกันในบทความนี้หากพูดชื่อบริษัทอย่าง “อัลฟาเบต (Alphabet) (NASDAQ:GOOGL)” ไปคนที่ไม่ใช่นักลงทุนอาจไม่รู้จักแต่ถ้าบอกว่า “กูเกิล” รับรองว่าร้อง “อ๋อ” อีกเช่นกัน กูเกิลถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่สามารถสร้างอัตราการเติบโตได้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 เพราะบริการส่วนใหญ่ของกูเกิลตั้งอยู่บนระบบคลาวด์ อย่างไรก็ตามกูเกิลได้รับผลกระทบที่คล้ายกันกับเฟซบุ๊กคือบริษัทที่มาฝากโฆษณาบนกูเกิลได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ผลกระทบนั้นแสดงออกมาในรูปแบบของราคาหุ้น หุ้นกูเกิลสร้างจุดสูงสุดเอาไว้ที่ $1576.16 เมื่อวันจันทร์และมีราคาปิดล่าสุดอยู่ที่ $1518.00 เชื่อหรือไม่ว่าในระยะ 4 เดือนล่าสุดหุ้นของกูเกิลปรับตัวขึ้นมาเพียง 42% เท่านั้น มีมูลค่าทางการตลาดอยู่ที่ $1,040,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นบริษัทที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงเป็นอันดับ 4 เมื่อเทียบกับบริษัทที่ได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้

GOOGL Daily

กูเกิลจะรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม นักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขการปันผลกำไรต่อหุ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่แล้วจะลดลงจาก $14.21 เหลือ $7.90 ต่อหุ้นและยอดกำไรสุทธิที่บริษัททำได้จะลดลงจาก $38,940 ล้านเหรียญสหรัฐเป็น $37,110 ล้านเหรียญสหรัฐ

คำถามสำคัญที่อยู่ในใจนักลงทุนคือผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 และการล็อกดาวน์ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อกูเกิลมากน้อยแค่ไหน ในไตรมาสที่ผ่านมากูเกิลได้กำไรจากการฝากโฆษณามากถึง $33,760 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็น 82% ของกำไรบริษัททั้งหมดในไตรมาสล่าสุด ส่วนที่น่าจะช่วยสร้างอัตราการเติบโตทางผลกำไรให้กับกูเกิลได้คือสิ่งที่เรียกว่า “กูเกิล คลาวด์ แพลตฟอร์ม” ซึ่งจากข้อมูลไตรมาสล่าสุดพบว่าสามารถทำกำไรให้กูเกิลได้มากถึง 52% หรือคิดเป็น $2,780 ล้านเหรียญสหรัฐ

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย