💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

เศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย. ได้รับผลกระทบอย่างมากจาก COVID-19

เผยแพร่ 01/06/2563 13:50
อัพเดท 09/07/2566 17:32
AOT
-
PTT
-

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานเศรษฐกิจประจ าเดือน เม.ย. หดตัวมากขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเนื่องจากเกือบทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ ระบาดโรค COVID-19 โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุดหดตัวถึง100% YoY เป็ นผลมาจาก การห้ามเดินทางเข้าไทย ส่วนการส่งออกหากไม่รวมทองคำที่เป็น Swing Factorหดตัวสูงถึง15.9% YoY ถือเป็ นการหดตัวมากสุดในรอบ 8 ปีจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ลดลง ด้านการบริโภคภาคเอกชนลดลง ตามรายได้ที่อ่อนแอทั้งจากครัวเรือนนอกภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากมาตรการLockdown และครัวเรือนภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากการภัยแล้ง ขณะที่มีเพียงการใช้จ่ายภาครัฐเท่านั้นที่ยังคงขยายตัวได้ดีเป็นเดือนที่2 จากรายจ่ายประจำและการใช้จ่ายลงทุน ตามการเบิกจ่ายหลัง พ.ร.บ.งบประมาณปี2563 ประกาศใช้

ทั้งนี้เราคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวในเดือน มิ.ย. จาก
1) จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศอยู่ในระดับต่า
2) รัฐบาลในไทยและต่างประเทศผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ส่งผลบวกต่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออกสอดคล้องกับมุมมองเดิมของเราว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะพบกับจุดต่าสุดใน 2Q63 และจะเหน็สัญญาณการฟื้นตัวใน 3Q63

มีเพียงการใช้จ่ายภาครัฐเท่านั้นที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจ
ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน เม.ย. หดตัวลงเกือบทุกกิจกรรม เป็นผลมาจากมาตรการควบคุมโรค COVID-19 ที่เข้มข้นทั ้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้มีการใช้มาตรการLockdown รวมถึงการปิดการเดินทางข้ามประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายด้านต้องหยุดชะงักลง และกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยอย่างมาก มีเพียงการใช้จ่ายภาครัฐเท่านั้นที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่2 นับตั ้งแต่ประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 โดยรายละเอียด มีดังนี้
1) ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด หดตัวอย่างมีนัยสำคัญ 100% YoY สืบเนื่องจาก มาตรการห้ามเดินทางเข้าไทย ส่งผลให้ในเดือนเม.ย. ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเดือนนี ้และส่งผลกระทบอย่างหนักต่อธุรกิจสนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจขนส่งผู้โดยสาร จึงเป็ Sentiment เชิงลบต่อหุ้น AOT (BK:AOT), ERW, CENTEL, MINT

2) มูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัว 3.3% YoY ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 (ตามข้อมูลของ ธปท.) หากไม่รวมการส่งออกทองค าที่เป็ น swing factor จะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกหดตัวสูงถึง 15.9% YoY เป็นการลดลงต ่าสุดในรอบ 8 ปี โดยเป็ นผลจากการหดตัวสินค้า2.1) หมวดยานยนต์และชิ้นส่วน -49% YoY หดตัวมากสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและผู้ประกอบการหลายแห่งปิดโรงงานชั่วคราวเป็นปัจจัยลบต่อหุ้น STANLY, SAT 2.2) สินค้ากลุ่มที่เคลื่อนไหวตามราคาน ้ามันดิบลดลง 28.7% YoY เป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงอย่างมาก เป็ น Sentiment เชิงลบต่อ PTT (BK:PTT), PTTEP, PTTGC,TOP 2.3) เครื่องใช้ไฟฟ้ า -19.8% YoY ติดลบครั ้งแรกในรอบ 5 เดือน ในทางกลับกันสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปขยายตัวได้ดีเนื่องจากได้รับผลบวกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เป็นปัจจัยบวกต่อ CPF, GFPT

3) การบริโภคภาคเอกชน -15.1% YoY ตามการใช้จ่ายในทุกหมวด เช่น 3.1) สินค้าคงทนหดตัว 37.5% YoY จากยอดจำหน่ายรถยนต์ที่ลดลงสอดคล้องกับกำลังซื้อที่อ่อนแอ ตามรายได้ของครัวเรือนนอกภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากการใช้มาตรการควบคุมโรค COVID-19อย่างเข้มข้น รวมถึงรายได้เกษตรกรที่ได้ผลกระทบของภัยแล้ง 3.2) สินค้ากึ่งคงทนติดลบ 6.9% YoY ตามยอดค้าปลีกและการนำเข้าเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มที่ลดลง 3.3) สินค้าไม่คงทน -11.7 % YoY หลังจากเดือนก่อนหน้ามีการซื้อสินค้ากักตุน
ก่อนจะมีมาตรการปิดเมือง

4) การลงทุนภาคเอกชน หดตัว 6.1% YoY ตามการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและ อุปกรณ์ จากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่อ่อนแอลง ส่งผลให้ผลประกอบการและความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจลดลง ประกอบกับภาคธุรกิจมีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่มากจึงชะลอการลงทุนออกไปขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวจากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน โดยรายจ่ายประจำขยายตัวสอดคล้องกับการเบิกจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรค COVID-19 ส่วนการใช้จ่ายด้านการลงทุนขยายตัวตามการเบิกจ่ายหลังพ.ร.บ. งบประมาณปี2563 ประกาศใช้

กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในเดือน มิ.ย. หลังภาครัฐผ่อนคลายมาตรการ Lockdown
เศรษฐกิจใน 2Q63 มีแนวโน้มหดตัวน้อยกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ในตอนแรก เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื ้อCOVID-19 ในประเทศไทยมีจำนวนต่ำกว่า 10 คนต่อวัน มาเป็นเวลา 25 วัน (ไม่รวมผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศ หรือ อยู่ใน State Quarantine) ณ วันที่ 29 พ.ค. 2563 โดยภาครัฐใช้มาตรการ Lockdownเต็มรูปแบบเป็นระยะเวลาเพียง 1 เดือนครึ่งเท่านั้น และในเดือน มิ.ย. ศบค. เตรียมผ่อนคลายมาตรการLockdown ระยะ 3 โดยมีการขยายเวลาเปิดห้างและศูนย์แสดงสินค้าถึงเวลา 21.00 น. รวมถึงเปิดสถานประกอบการหลายประเภท เช่น โรงหนัง สถานเสริมความงาม และฟิตเนส เป็นต้น

จึงมีความเป็นไปได้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนจะเริ่มฟื้นตัวได้ ทางด้านเศรษฐกิจต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสำคัญเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown เช่นเดียวกัน จึงเป็นปัจจัยบวกต่อสินค้าส่งออกในระยะถัดไป ทำให้เรายังคงมุมมองเดิมว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะพบกับจุดต่ำสุดใน 2Q63 และจะสามารถกลับมาเติบโตได้ใน 3Q63 แต่ภาคการท่องเที่ยวซึ่งพึงพานักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก อาจจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะสำหรับการฟื้นตัว เพราะหลายประเทศ รวมถึงไทย ยังคงต้องใช้มาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศอยู่

บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Yuanta Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย