สัปดาห์ที่ผ่านมา เศรษฐกิจทั่วโลกเดินหน้าส่งสัญญาณฟื้นตัวโดยเฉพาะในฝั่งยุโรปที่ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจปรับตัวขึ้น ตอบรับแนวโน้มการผ่อนคลาย Lockdown
ติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจทั่วโลก โดยปัจจัยชี้นำเศรษฐกิจและตลาดการเงิน อย่างดัชนี PMI ในหลายประเทศมีโอกาสปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งจะช่วยหนุนให้ตลาดกล้าที่จะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) ต่อ
ควรระวังความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รวมทั้งการจลาจลในสหรัฐฯ ที่อาจกดดันให้ตลาดหันมาปิดรับความเสี่ยงและลดการถือครองดอลลาร์
นอกจากนี้ภาวะดังกล่าวจะทำให้สกุลเงินปลอดภัย อย่างเงินเยนญี่ปุ่นเป็นที่ต้องการของตลาดและช่วยกดดันให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง
กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า 31.50-32.00 บาท/ดอลลาร์ USD/THB
มุมมองนโยบายการเงิน
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ในวันอังคาร ตลาดมองว่า RBA จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Cash Rate) ไว้ที่ระดับ 0.25% พร้อมทั้งคงเป้าหมายบอนด์ยีลด์ 3ปี ที่ระดับ 0.25% แต่อาจมีการเปิดเผยถึงความเป็นไปได้ของการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบหากเศรษฐกิจซบเซามากขึ้น
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสฯ ตลาดมองว่า ECB จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Deposit Facility Rate) ไว้ที่ระดับ -0.50% และมองว่า ECB อาจจำเป็นต้องขยายวงเงินการซื้อสินทรัพย์อีก 5 แสนล้านยูโร พร้อมทั้งขยายเวลาการอัดฉีดสภาพคล่องดังกล่าวไปจนถึงกลางปี 2021
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดประเมินว่าแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯจะมีทิศทางที่ดีขึ้น โดย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและนอกภาคการผลิต (ISM Mfg. & Non-Mfg.PMIs) ในเดือนพฤษภาคม จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 43.7จุด และ 44.5จุด
ฝั่งเอเชีย –ตลาดมองว่าเศรษฐกิจจีนจะส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่องผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการ (Caixin Manufacturing & Services PMIs) ในเดือนพฤษภาคมที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 49.6จุด และ 47.3จุด ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 49.4จุด และ 44.4จุด ตามลำดับ
ฝั่งไทย –ตลาดจะจับตาแนวโน้มการบริโภคครัวเรือนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC Consumer Confidence) ในเดือนพฤษภาคมที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 48จุด จาก 47.2จุดหลังการทยอยปลดล็อคมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ดีอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) กลับลดลงสู่ระดับ -3.2% หลังราคาน้ำมันดิบดิ่งลงกว่า 50%จากปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานก็ลดลงสู่ระดับ 0.38% จากภาวะเศรษฐกิจซบเซา
ดูปฏิทินเศรษฐกิจ
https://th.investing.com/economic-calendar/
ไม่อยากพลาดบทความดีๆ อย่าลืมกด "ติดตาม" นะครับ