💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

ส่งออกไทยสร้าง Surprise...ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

เผยแพร่ 25/05/2563 11:08

กระทรวงพาณิชย์รายงานส่งออกไทยเดือน เม.ย. ที่+2.12%YoY ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่2 และดีกว่าที่ตลาดคาดที่ -3% YoY โดยได้รับปัจจัยหนุน ดังนี้

1) ทองคำโตก้าวกระโดดถึง 1 พันเปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า
2) สินค้าเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรมพลิกกลับมาขยายตัว 4.04% YoY ครั้งแรกในรอบ 9 เดือน โดยเฉพาะในหมวดของข้าว ทูน่ากระป๋อง และไก่สดแช่แข็งและ แปรรูป

อย่างไรก็ตาม หากหักทองคำออก ส่งออกไทยจะหดตัว 10% YoY ทางด้านการนำเข้า หดตัวถึง 17.1% YoY ตามการนำเข้าที่ลดลงของสินค้าทุกประเภท เช่น สินค้าเชื้อเพลิง สินค้า อุปโภคบริโภค และยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ทำให้ดุลการค้าเกินดุลราว US$2.46 พันล้าน โดยภาพรวมส่งออกไทยในเดือน เม.ย. ยังคงทำได้ดีกว่าภาพรวมของภูมิภาค เช่น อินโดนีเซีย ไต้หวัน และมาเลเซีย

ส่งผลให้ส่งออกไทย +1.19% YoY ในช่วง 4M63 เราประเมินว่า ภาพรวมการส่งออกในช่วงทเี่หลือของ 2Q63 ยังมีแรงกดดันจากโรค COVID-19 แต่มี Upside Risk จากการส่งออกทองคำและการทยอยคลาย Lockdown ในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม ส่งออกไทยมีปัจจัยเสี่ยงต้องติดตาม ได้แก่ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีน ที่มีโอกาส กลับมาปะทุอีกครั้ง, เงินบาทแข็งค่า, ราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และความเสี่ยงของการ แพร่ระบาดโรค COVID-19 รอบสอง (Second Wave)

ส่งออกขยายตัว...สวนทางกับนำเข้าที่หดตัวแรง การส่งออกเดือน เม.ย. ขยายตัว 2.12% YoY สวนทางกับที่ตลาดคาด -3% YoY แต่หากหักทองคำออกส่งออก ไทยจะหดตัวมากถึง10% YoY โดยมีรายละเอียดดังนี้

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรพลิกกลับมาขยายตัว 4.04% YoY ครั้งแรกในรอบ 9เดือน โดยได้รับปัจจัยหนุนจาก
1) ส่งออกข้าวที่เร่งตัวขึ้น 23.1% YoY เป็นครั้งแรกในรอบ 18เดือน โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากผู้บริโภคมีการกักตุนในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 2) ทูน่ากระป๋อง ขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญ +21.7% YoY สูงสุดในรอบ 21เดือน ส่งผลบวกต่อ TU
3) ไก่สดแช่แข็งและแปรรูปยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ที่ 9.6% YoY โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นที่ไทยส่งออกเป็นอันดับ 1เนื่องจากได้ผลบวกจาก FTA รวมถึงปริมาณผลผลิตไก่ในญี่ปุ่นมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ และในตลาดจีนยังมีคำสั่งซื้อต่อเนื่อง เป็นปัจจัยหนุนต่อ CPF และ GFPT

อย่างไรก็ตาม สินค้าเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรมหลักที่หดตัว มีดังนี้
1) ยางพารา -20.7% YoY ได้รับ ผลกระทบจากมาตรการการ Lockdown ในหลายประเทศและการปิดด่านการขนส่งสินค้า
2) น้ำตาลทราย และมันสำปะหลังหดตัว 8.3% YoY และ 6.7% YoY ตามลำดับ จากปัญหาภัยแล้งส่งผลให้ผลผลิตลดลง จึงเหลือปริมาณเพื่อการส่งออกน้อยลง
3) เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ -14.4% การส่งออกไปยังตลาดหลัก อย่าง CLMV ชะลอลง เนื่องจากผู้ประกอบการขยายฐานการผลิตและจำหน่ายสินค้าในประเทศดังกล่าว ทดแทนการส่งออก ดังนั้น การส่งออกที่ลดลงเรามองว่าไม่ส่งผลลบต่อ OSP

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเติบโต 4.4% YoY ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2จาก
1) การส่งออกทองเป็นสำคัญ +1,103% YoY จากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น หลังเกิดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางทั่วโลก
2) แผงวงจรไฟฟ้า พลิกกลับมาขยายตัว 1.84% YoY ครั้งแรกในรอบ 6 เดือน จากความต้องการสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงของมาตรการLockdown ในหลายประเทศ

ขณะที่ สินค้าอุตสาหกรรมที่หดตัวแรง ได้แก่
1) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ -53.8% YoY โดย รถยนต์หดตัวทุกประเภท เช่น รถยนต์นั่ง รถปิ๊กอัพ รถบัสและรถบรรทุก จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 รวมถึงการปิดโรงงานผลิตในไทย
2) สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ติดลบ 31.3% YoY จากราคาน้ำมันและความต้องการใช้ที่ลดลง
3) คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ -2.1% YoY เนื่องจากจีนซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่กลับมาเปิดประเทศ จึงส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย

นอกจากนี้ หากพิจารณาการส่งออกรายประเทศพบว่า ตลาดส่งออกสำคัญยังคงขยายตัวได้ดี เช่น สหรัฐฯ เร่งตัวขึ้น 34.6% YoY จากการส่งออกยานพาหนะอื่น ๆ และส่วนประกอบ ส่วนญี่ปุ่นและจีน กลับมา ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 และ 3 เดือน ตามลำดับ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย ในทางกลับกัน สหภาพยุโรปหดตัว 28.7% YoY ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Yuanta Securities

ไม่อยากพลาดบทความดีๆ อย่าลืมกด "ติดตาม" นะครับ

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย