เชื่อว่าสัปดาห์นี้ตลาดยังปรับตัวขึ้นจากปัจจัยหนุนระยะสั้น
(1) การประกาศการผล ประกอบการบริษัทจดทะเบียนในดัชนี S&P500 แล้ว 458 บริษัท คิดเป็น 91% จากทั้งหมด โดยผลประกอบการเป็นบวก 216 บริษัท เป็นลบ 200 บริษัท แม้ผล ประกอบการโดยภาพรวมจะหดตัวลงถึง 7.3% YoY แต่ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ โดยมีผลประกอบการดีกว่าคาด 297 บริษัท และต่่ากว่าคาด 144 บริษัท และเมื่อ พิจารณารายกลุ่มอุตสาหกรรมพบว่า กลุ่มที่มีผลประกอบการเป็นบวก อาทิ กลุ่ม Technology ประกาศผลประกอบการแล้ว 59 บริษัทคิดเป็น 83% มีผลประกอบการ เติบโต 6.3% YoY ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 4.8% และกลุ่ม Health Care ประกาศผลประกอบการแล้ว 56 บริษัท คิดเป็น 93% มีผลประกอบการเติบโต 10.39% YoY ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะหดตัว 1.1% ท่าให้โดยภาพรวมตลาดหุ้น สหรัฐยังตอบรับในเชิงบวก เนื่องจากอุตสาหกรรมทั้งสองกลุ่มข้างต้นมี Market Cap รวมกันคิดเป็น 40% ของ S&P500 และเป็นกลุ่มที่น่าตลาดในช่วงที่ผ่านมา
(2) การเพิ่มสินทรัพย์ของ FED อย่างต่อเนื่องผ่านการท่า QE และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านนโยบายการคลังยังเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นสหรัฐต่อในระยะนี้ โดยเมื่อคืนนี้จาก การเข้าให้การต่อสภาคลองเกรสของประธาน FED พร้อมกับรัฐมนตรีคลังสหรัฐเพื่อ ชี้แจงเกี่ยวมาตรการของธนาคารกลางและมาตรการรัฐบาลในการรับมือผลกระทบทาง เศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่า FED ก่าลังเร่งปล่อยเงินกู้ให้แก่ ภาคธุรกิจ และพร้อมที่จะอัดฉีดสภาพคล่องเพิ่มเติมเพื่อพยุงเศรษฐกิจสหรัฐ และหากกิจการในสหรัฐเกิดการล้มละลายจ่านวนมาก FED และสภาคลองเกรสก็อาจจะ จ่าเป็นต้องออกมาตรการครั้งใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
ในวันนี้ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปี ที่ระดับ 3.85% และคงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปี ที่ระดับ 4.65%
ในวันนี้แนะน่าติดตามการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของไทย โดยตลาดคาดการณ์ ว่าจะปรับลดลงมา 0.25% สู่ระดับ 0.50%
บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่ cgsec.co.th
ไม่อยากพลาดบทวิเคราะห์ดีๆ อย่าลืมกด "ติดตาม" นะครับ
..........
เราแนะนำให้ท่านติดตามปฏิทินเศรษฐกิจที่นี่