💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2557 แต่ 1Q63 หดตัวน้อยกว่าคาด

เผยแพร่ 19/05/2563 09:55
XAU/USD
-
GC
-

COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2557

เศรษฐกิจไทยใน 1Q63 หดตัว 1.8% YoY ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 1.5% YoY นับเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่ 1Q57 (-0.4% YoY)ซึ่งมีเหตุการณ์ทางการเมือง และหดตัวมากสุดนับตั้งแต่ 4Q54 (-4.0% YoY) ซึ่งเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ แต่ GDP 1Q63 ที่รายงานออกมา ถือว่าดีกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ -3.9% YoY

สาเหตุหลักของการหดตัวใน 1Q63 มาจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่มีการแผ่ขยายเป็นวงกว้าง ทำให้รัฐบาลหลายประเทศมีมาตรการ Lockdown, Social Distancing และจำกัดการเดินทางทั้งภายในและระหว่างประเทศอย่างเข้มงวด ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเดือน มี.ค. โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) ด้านการใช้จ่าย ลดลงเกือบทุกด้าน ดังนี้
1.1) การบริโภคภาคเอกชน:ขยายตัว 3% YoY ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ +4.1% YoY จาก การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนและกึ่งคงทนที่ลดลง สอดคล้องกับรายได้และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลง ขณะที่การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัว 2.8% YoY สอดคล้องกับการใช้จ่ายของภาค ครัวเรือนที่มีการใช้จ่ายในหมวดสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงสินค้าจำเป็นจำนวนมากเพื่อ รองรับการแพร่ระบาดของ COVID-19และการใช้ไฟฟ้าของภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น 8.3% YoY ซึ่งส่งผลให้ การใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัว 9.3% YoY
1.2) การลงทุนภาคเอกชน: -5.5% YoY ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 2.6% YoY เป็นผลจากการลงทุนในหมวดก่อสร้างและการก่อสร้างที่ลดลง ขณะเดียวกันการลงทุนภาครัฐ ลดลง 9.3% YoY เป็นผลจากการลงทุนด้านก่อสร้างที่ลดลง โดยเฉพาะการก่อสร้างรัฐบาลที่ได้รับผลกระทบจากความล่าช้าของ พรบ. รายจ่ายงบประมาณปี 2563 ส่งผลให้ การลงทุนรวม หดตัว 6.5% YoY
1.3) การส่งออกรวม ปรับตัวลดลงตามมูลค่าการส่งออกบริการที่ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ -29.7 % YoY เมื่อเทียบกับ 4Q62 ที่ขยายตัว2% YoY ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้า (ในรูป USD) พลิกกลับมาขยายตัว 1.5% YoY เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว 4.9% YoY โดยเฉพาะน้ำตาล คอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์
1.4) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของภาครัฐ: ติดลบ 2.7% YoY เนื่องจากความล่าช้าของ พรบ. รายจ่ายงบประมาณปี 2563

2) ด้านการผลิต มีรายละเอียดดังนี้
2.1) สาขาที่พักและบริการด้านอาหาร: ลดลง 24.1% YoY สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดย 1Q63 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ลดลง 38% YoY นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 13ไตรมาส (นับตั้งแต่ 4Q59) และเมื่อรวมกับ จำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ลดลง 38.2% YoY ลดลงครั้งแรกในรอบ 6ไตรมาส (นับตั้งแต่ 3Q61)

2.2) สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า: หดตัวแรงถึง 6% YoY ตามการลดลงของบริการขนส่งผู้โดยสารเป็นสำคัญ โดยบริการขนส่งทางอากาศลดลง 20.8% YoY ซึ่งสอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลง

2.3) สาขาเกษตรกรรมการป่าไม้และการประมง: -5.7% YoY ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ -2.5 % YoY เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง และปริมาณน้ำในเขื่อนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติส่งผลให้ผลผลิตพืชเกษตรลดลง

2Q63 เป็นจุดต่ำสุด

เราคงมุมมองเดิมว่า เศรษฐกิจไทยจะถึงจุดต่ำสุดใน 2Q63 เมื่อมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดหรือ มาตรการ Lockdown มีความเข้มข้นมากสุด กล่าวคือ การบริโภคภาคเอกชน มาตรการควบคุมต่าง ๆ เช่น การปิดศูนย์การค้า, ร้านอาหารเปิดให้บริการ เฉพาะซื้อกลับบ้านและ Delivery, มาตรการ Curfew เป็นต้น รวมถึงนโยบาย Work from Home ของ บริษัทเอกชน มีผลยาวนานกว่าช่วง 1Q63 ที่หลายมาตรการเริ่มนำมาใช้ช่วงปลายไตรมาส

การท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบจากมาตรการห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว ถูกขยายระยะเวลาจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2563 นอกจากนี้ หลายประเทศยังคงเผชิญกับปัญหาการแพร่ ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ เดินทางออกนอกประเทศได้ยากเช่นกัน การส่งออก มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าและมีอุปสรรคด้านการขนส่งเนื่องจาก มาตรการปิดเมืองของหลายประเทศ แต่มี Swing Factor คือ ทองคำ ซึ่งเป็นหนึ่่ในตัวช่วยของการ ส่งออกสินค้าใน 1Q63 เพราะราคาทองคำสูงขึ้นมาก ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มตามไปด้วย

ติดตาม การรายงานยอดส่งออกเดือน เม.ย. ซึ่งเป็นเดือนแรกของไตรมาส 2 ในวันที่ 22 พ.ค.นี้โดย Bloomberg Consensus คาดส่งออกเดือน เม.ย. หดตัวราว 2% YoY

คลาย Lockdown ช่วยจุดประกายความหวังของการฟื้นตัวใน 3Q6

เมื่อมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไทย ให้ผลลัพธ์ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับหลายประเทศ ช่วยให้ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงต่อเนื่องและทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ทาง ศบค. เริ่มผ่อนคลาย มาตรการ Lockdown ตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. ด้วยการให้กิจการและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงต่ำทยอยเปิด และล่าสุด ศูนย์การค้ากลับมาเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค. (แต่จำเป็นต้องยึดหลักการ Social Distancing อย่างเคร่งครัด) ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และหากการแพร่ระบาดรอบสองหรือ Second Wave ไม่ได้เกิดขึ้น เราเชื่อว่าการฟื้นตัวอย่างชัดเจนของ เศรษฐกิจไทย มีโอกาสเกิดขึ้นได้เร็วสุดตั้งแต่ 3Q63 สศช. ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยประจำปี 2563 เป็น -5.0% ถึง -6.0% YoY ใกล้เคียงกับประมาณการของ กนง. ที่ -5.3% YoY และของ Bloomberg Consensus ที่ -5.1% YoY หากอิง GDP 1Q63 ที่เพิ่งประกาศออกมา เราสามารถคำนวณได้ว่า ในช่วงที่เหลือของปี 2563 (ตั้งแต่ 2Q63-4Q63) GDP Growth ของไทย จะอยู่ที่ราว -4.8% ถึง 7.5% YoY จึงจะทำให้ GDP Growth ใกล้เคียงกับ ประมาณการทั้งปีนี้ของ สศช. ทั้งนี้ ทาง Yuanta Research อยู่ระหว่างทบทวนประมาณการ GDP จาก เดิมช่วงกลางเดือน มี.ค. เราคาดว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้ จะหดตัวราว 1% YoY

บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Yuanta Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย