💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

COVID-19 ฉุดจีดีพีไตรมาสแรก หดตัว “1.8%”

เผยแพร่ 18/05/2563 13:12
  • GDP Q1 2020
  • Actual: -1.8%y/y        Previous: +1.5%y/y(Revised)

    KTBGM: -4.0%y/y      Consensus: -3.9%y/y

      • เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกหดตัว 1.8%y/y ถดถอยหนักจากไตรมาสสี่ที่ขยายตัว 1.5% หลังการระบาดของ COVID-19 กดดันให้เครื่องยนต์เศรษฐกิจทุกส่วนหดตัว อาทิ การบริโภคเอกชนและการลงทุน ภาคการส่งออก ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐพลิกกลับมาขยายตัวหลังมีการเร่งเบิกจ่าย
      • เรามองว่าเศรษฐกิจจะหดตัวถึง 6.5%y/y ในปีนี้ แม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในไตรมาสที่ 2 แต่ การบริโภคครัวเรือน การท่องเที่ยวและการลงทุนภาคเอกชนอาจจะยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ดี จึงจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของภาครัฐในการช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

    สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Real GDP) ไตรมาสที่ 1 ปี 2020 หดตัว2.2% จากไตรมาสที่ผ่านมา

    • การระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปีนี้หดตัวถึง 1.8% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยภาวะเศรษฐกิจซบเซามาจากการบริโภคเอกชนที่ชะลอตัวลง (+3.0%จาก +4.1%ในไตรมาสสี่) ขณะเดียวกันการลงทุนก็หดตัวลงหนัก (-6.8% จาก +0.8%ในไตรมาสสี่) ขณะที่ภาคต่างประเทศหดตัวลงหนักโดยการส่งออกบริการ (ส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว) พลิกกลับมาหดตัวเกือบ 30% จากที่ขยายตัวได้เฉลี่ย 2% ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว 2.0% จากที่หดตัว 5.1% นอกจากนี้การเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าทำให้การใช้จ่ายภาครัฐยังคงหดตัว 2.7%
    • สศช. ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2020 เป็นหดตัว -6% ถึง -5%โดย สศช. ประเมินว่าเศรษฐกิจจะหดตัวหนักขึ้นในไตรมาสที่ 2  จากมาตรการ Lockdown แต่จะได้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลงช่วยหนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

    เราคาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะหดตัวถึง 6.5% ในปีนี้แต่มีความเสี่ยงที่จะหดตัวหนักถึง 10% หากทั่วโลกเผชิญการระบาดระลอก 2 ของ COVID-19 ที่รุนแรง

    • ในช่วงครึ่งแรกปี 2020 เศรษฐกิจมีแนวโน้มเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession)ภายใต้แรงกดดันต่อเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19แต่เรามองว่าการเร่งลงทุนของภาครัฐ ร่วมกับนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ ธปท. และภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก นำโดยเศรษฐกิจโซนเอเชีย อาทิ จีน ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มคึกคักมากขึ้น จะสามารถช่วยพยุงเศรษฐกิจและจะช่วยทำให้ทั้งปี 2020 เศรษฐกิจไทยหดตัวราว 6.5%
    • อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจอาจซบเซาหนักถึง -10.0% หากการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 2 กดดันให้ทั่วโลกใช้มาตรการ Lockdown จนกว่าจะพบวัคซีน โดยเรามองว่าผลกระทบดังกล่าวอาจกดดันให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง 80% พร้อมกับการส่งออกที่อาจหดตัวถึง 8.0% ซึ่งในกรณีดังกล่าวอาจส่งผลให้ ธปท. มีความจำเป็นที่จะต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น และอาจลดดอกเบี้ยได้เหลือ 0.25% ในปีนี้และการลดดอกเบี้ยอาจเกิดขึ้นได้เร็วสุดในการประชุมเดือนมิถุนายนนี้ (ลด 50bps)

     

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย