เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักลงทุนฟอเร็กซ์ว่าสกุลเงินดอลลาร์มีมูลค่าผูกติดอยู่กับราคาน้ำมันเพราะทางเหนือของอเมริกาคือที่ตั้งของบริษัท 5 ผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันยักษ์ใหญ่ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่กราฟสกุลเงินแคนาดาดอลลาร์จะวิ่งขึ้นลงตามปริมาณความต้องการในสินค้าโภคภัณฑ์และสามารถสรุปได้ง่ายๆ ว่า “หากราคาน้ำมันขึ้นสกุลเงินแคนาดาดอลลาร์ก็จะขึ้นตามเช่นกัน”
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในกราฟระยะยาวเราจะพบว่ากราฟสกุลเงินแคนาดาดอลลาร์เทียบดอลลาร์สหรัฐรายเดือนยังคงวิ่งวนเวียนอยู่บริเวณจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2004 แต่ตอนนี้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นแล้วแต่ทำไมสกุลเงินแคนาดาดอลลาร์กลับไม่ปรับตัวขึ้นตาม?
หมายเหตุ: เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ภาพของกราฟที่นำมาประกอบจึงเป็นกราฟที่ต่างช่วงเวลากันระหว่าง USD/CAD และ CAD/USD
จากรูปจะเห็นว่ากราฟหยุดอยู่ที่จุดต่ำสุดเดือนมีนาคมปี 2016 แต่ความเป็นไปได้ยังคงอยู่ที่แนวโน้มขาลงซึ่งกราฟมีโอกาสลงไปถึงบริเวณ 0.6 ที่เป็นจุดต่ำสุดระหว่างปี 2001-2003 เพราะมูลค่าของสกุลเงินแคนาดาดอลลาร์ถูกผูกติดเอาไว้กับราคาน้ำมันดิบ ดังนั้นเมื่อมูลค่าในการผลิตหินน้ำมันของสหรัฐฯ ถูกปรับลดลงผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงแสดงออกมาในกราฟ USD/CAD รายวันด้านล่าง
แม้ว่าช่วงสิ้นเดือนเมษายนราคาน้ำมันดิบจะสามารถดีดกลับมาจากระดับติดลบเกือบ $40 และมีราคาอยู่ที่ประมาณ $10 ภายในวันถัดมาแต่กราฟ USD/CAD กลับไม่ได้วิ่งลง ที่แย่ไปกว่านั้นคือกราฟสร้างรูปแบบที่ดูเหมือนจะวิ่งขึ้นเสียด้วยซ้ำ
สาเหตุที่พฤติกรรมของกราฟ USD/CAD เป็นเช่นนี้เพราะดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินตั้งต้นในการเข้าซื้อหรือถือสัญญาในตลาดน้ำมันดิบ ตั้งแต่เดือนกรกฏาคมปี 1944 ที่การเซ็นสัญญายินยอมที่จะยกเลิกการกำหนดค่าเงินเองหรือการใช้ทองคำหนุนหลัง แล้วหันไปผูกติดอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินของตนกับสกุลเงินดอลล่าห์สหรัฐ (Bretton Woods Agreement) เกิดขึ้น หลังจากนั้นนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการเข้ามาถือหุ้นในสหรัฐฯ จะต้องใช้สกุลเงินดอลลาร์ซื้อผ่านเข้ามา
สิ่งที่เกิดขึ้นกับกราฟ USD/CAD ก็คือเมื่อวานนี้กราฟได้ปรับตัวสูงขึ้นหลังจากลงไปทดสอบจุดต่ำสุดและได้สร้างรูปแบบ rounding bottom ถ้ากราฟสามารถทะลุเส้นประเทรนด์ไลน์สีดำด้านบนขึ้นมาได้จะหมายความว่าความต้องการในสกุลเงินดอลลาร์เพื่อไปลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตอนนี้มีมากกว่าแคนาดาดอลลาร์ที่มูลค่าผูกติดอยู่กับราคาน้ำมัน
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่ากราฟจะสามารถทะลุแนวต้านเส้นประด้านบนขึ้นไปได้โดยแท่งเทียนที่ทะลุขึ้นไปต้องสามารถขึ้นสูงกว่าจุดสูงสุดที่ใช้เป็นจุดลากเริ่มต้นของเส้นเทรนด์ไลน์ขาลง จากนั้นพวกเขาจะรอให้ราคาปรับตัวกลับลงมาทดสอบเส้นเทรนด์ไลน์เพื่อยืนยันแนวโน้มขาขึ้นรอบใหม่
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง ใช้วิธีการเทรดแบบเดียวกันกับกลุ่มที่ไม่ชอบความเสี่ยงแต่ในจังหวะที่กราฟย่อกลับลงมาจะไม่รอแท่งเทียนที่เป็นสัญญาณยืนยัน
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะเข้าซื้อในตอนนี้ทันทีซึ่งพวกเขาพิจารณาความเสี่ยงแล้วว่าคุ้มค่าเมื่อดูจากรูปแบบ rounding bottom ที่กราฟสร้างขึ้นมา
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: 1.4000
- Stop-Loss: 1.3900
- ความเสี่ยง: 100 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:1.4300
- ผลตอบแทน: 300 จุด
-อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3