โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 13 สิงหาคม 2019
ตลาดเงินและตลาดหุ้นต่างก็ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อประธานาธิบดีทรัมป์ออกมากล่าวว่าจะเลื่อนกำหนดการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนออกไปก่อน โดยกล่าวว่า “เราตัดสินใจทำเช่นนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับลูกค้าในสหรัฐฯ ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส” จะเห็นได้ว่าความเห็นดังกล่าวไม่ได้เป็นเพราะการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมีความคืบหน้า แต่มาจากแรงกดดันจากธุรกิจทางฝั่งของสหรัฐฯ เสียมากกว่า ไม่ว่าจะอย่างไร นักลงทุนจึงใช้โอกาสนี้ในการปิดสถานะ short ไปก่อน ทำให้ ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ไต่ขึ้นมาได้มากกว่า 400 จุด และ USD/JPY ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 106 ได้
AUD และ NZD ก็ปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกันจนทำให้นักลงทุนเกิดความสงสัยว่าทั้งสองตัวจะลงไปแตะจุดต่ำสูดแล้วหรือยัง แต่ในขณะที่เราหวังว่าสกุลเงินที่มีความเสี่ยงจะฟื้นตัวขึ้นได้นั้น ไม่เพียงแต่ครั้งนี้จะไม่ใช่ครั้งแรกที่ประธานาธิบดีรับรู้ว่าการใช้มาตรการทางภาษีอาจทำให้เกิดผลเสียต่อสภาพเศรษฐกิจเท่านั้น แต่เขาไม่ได้กล่าวถึงเลยว่าปฏิกิริยาจากจีนคือข่าวร้ายและเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาต้องออกมาประกาศเช่นนั้นในวันอังคารที่ผ่านมา เขาอาจผ่อนปรนมาตรการภาษีกับจีนไปจนถึงสิ้นปีนี้เพื่อเป็นการซื้อเวลาในการเจรจาต่อรองเพิ่มเติม แต่ท้ายที่สุดแล้วทรัมป์ก็จะได้รับกดดันจากธุรกิจต่างๆ ในสหรัฐฯ เอง ไม่ใช่คู่ค้าอย่างจีน ดังนั้นการเก็บภาษีดังกล่าวก็อาจจะเกิดขึ้นได้อีกครั้ง
เรากำลังจับตามองสถานการณ์การชุมนุมประท้วงในฮ่องกงในขณะนี้อยู่ด้วยเช่นกัน เนื่องจากจีนก็กำลังเริ่มที่จะเพิ่มการตอบสนองขึ้นเรื่อยๆ ทรัมป์เคยบอกไว้ว่าจีนเริ่มขนย้ายกำลังทหารมายังเขตชายแดนของฮ่องกงแล้ว การชุมนุมประท้วงในครั้งนี้ส่งผลกระทบที่ค่อนข้างรุนแรงต่อสภาพเศรษฐกิจของฮ่องกงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ประท้วงชุมนุมกันเพื่อปิดสนามบิน และหากจีนส่งกำลังทหารเข้าไปสลายการชุมนุมก็อาจทำให้ความรุนแรงขยายตัวออกไปยังทั่วโลกได้ ทรัมป์และรัฐบาลสหรัฐฯ จะคงจุดยืนที่จะไม่ยื่นมือเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เขากล่าวว่าจีนมีความสามารถพอที่จะแก้ไขสถานการณ์นี้ได้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม หากเรามีหุ้นของ Square (NYSE:SQ) เป็นหุ้นสำคัญตัวหนึ่งในตลาดเอเชียแล้วล่ะก็ ตลาดทั่วโลกก็คงจะย่ำแย่ไปตามๆ กัน นักลงทุนจะเริ่มวิ่งหาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและจะผลักดันให้ USD/JPY และสกุลเงินอื่นๆ ลดต่ำลงไปอีก
ค่าเงิน ดอลลาร์ ยังได้รับแรงหนุนจากดัชนีราคาผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้น 0.3% ในเดือน กรกฎาคม เมื่อ เทียบกับปีก่อนหน้า ถือว่าเพิ่มจาก 1.6% เป็น 1.8% ดัชนีราคาผู้บริโภคกำลังเริ่มเคลื่อนตัวเข้าหาเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่เฟดวางเอาไว้ เมื่อนำมาพิจารณาประกอบกับการเลื่อนกำหนดเก็บภาษีจากจีนในครั้งนี้จึงเป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้ดอลลาร์สหรัฐฟื้นตัวขึ้นได้อย่างมาก เมื่อเทียบกับ เยนญี่ปุ่น, ฟรังก์สวิส และ ยูโร ในความเป็นจริงแล้ว EUR/USD ควรที่จะมีการซื้อขายกันในระดับที่ต่ำกว่านี้มากหลังจากที่ผลสำรวจจากสถาบัน ZEW ของเยอรมนีประกาศออกมาไม่สู้ดีนัก ดัชนีชี้วัดทัศนคติผู้ลงทุน ปรับตัวลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา โดยมีองค์ประกอบที่คาดหวังในด้านต่างๆ ลดลงต่ำที่สุดในรอบตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา ตัวเลขจีดีพีประจำไตรมาส 2 ของยูโรโซนมีกำหนดที่จะประกาศออกมาในวันพุธนี้และมีการคาดการณ์ไว้ว่าตัวเลขการเจริญเติบโตจะชะลอตัวลงจากดัชนีชี้วัดทัศนคติและการใช้จ่ายที่ลดน้อยลง การปรับตัวสูงขึ้นของเงิน สเตอร์ลิง ในช่วงก่อนหน้านี้ก็คงอยู่ได้เพียงไม่นาน การเติบโตของค่าจ้าง ดีขึ้นกว่าที่คาดไว้แต่ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค ที่จะประกาศออกมาในวันพุธน่าจะต่ำกว่าที่คาด