นักลงทุนมีความมั่นใจในช่วงก่อนที่จะมี การประชุมด้านนโยบายการเงิน ในวันพรุ่งนี้มากเกินไปหรือเปล่าว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะมีการนำตัวกระตุ้นทางเศรษฐกิจมาใช้ตามที่คาดไว้จริง?
ธนาคารกลางยุโรปกำลังประสบภาวะที่กลื่นไม่เข้าคายไม่ออก เนื่องจากเศรษฐกิจของยูโรโซนเริ่มหดตัวลงในปีที่แล้ว จึงเป็นที่สงสัยกันว่าการนำมาตราผ่อนปรนทางนโยบายการเงินออกมาใช้นั้นจะสามารถช่วยได้มากเพียงใดหากสถานะทางการเงินไม่สู้ดีเช่นนี้ การใช้นโยบายผ่อนปรนที่มากขึ้นก็อาจทำให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ต้องอารมณ์เสียได้เนื่องจากเขาได้กล่าวโทษ ECB มาตลอดว่าพยายามที่จะลดค่าเงิน ยูโร เพื่อให้เกิดความได้เปรียบทางการค้ากับสหรัฐฯ
แม้กระนั้น นายมาริโอ ดรากี ผู้ซึ่งกำลังจะหมดวาระประธาน ECB เร็วๆ นี้เคยกล่าวไว้เมื่อเดือนมิถุนายนว่าหากสภาพเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้นก็อาจมีความจำเป็นต้องใช้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ ร่วมด้วย ตั้งแต่นั้นมาข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ปรากฏก็ไม่ได้ฟื้นตัวดีขึ้นเท่าใดนัก จนทำให้อดคิดไม่ได้ว่าไฟของธนาคารกลางยุโรปใกล้จะดับมอดลงแล้วหรือ แล้วนายดรากีจะยังมีเชื้อเพลิงตัวใหม่เข้ามาเติมอีกหรือไม่?
ผลสำรวจของตลาดเชื่อว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนกันยายน แต่สัญญาณใดๆ ที่ปรากฏออกมาจากการประชุมในวันพรุ่งนี้นั้นก็จะส่งผลต่อค่าเงินยูโรได้เช่นกัน แต่จะทำให้ตลาดหุ้นกระเตื้องขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก ECB เลือกเติมเชื้อเพลิงให้กับยุโรปด้วยการเข้าซื้อหุ้น เพราะได้ซื้อตราสารหนี้ไว้เต็มจำนวนที่จำกัดไว้แล้ว
เงินยูโรได้ทะลุกรอบแนวรับของรูปแบบ H&S แบบต่อเนื่องลงมาเรียบร้อยแล้ว และน่าจะเดินต่อไปตามแนวโน้มขาลงที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2018 เป็นต้นมา และปัจจุบันยูโรลงไปอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขาลงที่ลากมาตั้งแต่วันที่ 10 มกราคมซึ่งจะเห็นได้ชัดเมื่อสังเกตจากเส้น 200 DMA รูปแบบดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ราคาร่วงลงมาในวันที่ 1 กรกฎาคมจนทำมีส่วนหัวเกิดขึ้น ราคาปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 0.19% จากราคาต่ำสุดในวันที่ 29 พฤษภาคมซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบสองปีนับตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2017 เป็นต้นมา
เมื่อพิจารณาจาก MACD จะเห็นว่ายังคงเป็นสัญญาณขาลงเนื่องจากเส้น MA ระยะสั้นมีแนวต้านอยู่ต่ำกว่าเส้น MA ระยะยาวก่อนที่ยูโรจะทำรูปแบบต่อเนื่องได้สำเร็จด้วยซ้ำไป สัญญาณบอกเหตุล่วงหน้าอย่าง RSI ก็ได้แสดงให้เห็นก่อนหน้านี้แล้วด้วยเช่นกันในตอนที่มีการปรับตัวลงไปอยู่ต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขาขึ้นในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม การทิ้งตัวลงไปอยู่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดของเดือนพฤษภาคมหมายความว่าราคาอาจจะดิ่งลงไปได้อีกจนอาจทำสถิติต่ำสุดใหม่ในรอบหลายปีได้
เมื่อพิจารณากราฟรายสัปดาห์จะเห็นว่ามีรูปแบบที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยเกิดขึ้น เมื่อเส้น MA 200 สัปดาห์มีแนวต้านเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม การที่เส้น MA 200 สัปดาห์ทั้งในกราฟรายวันและรายสัปดาห์มีลักษณะที่สอดคล้องกันนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสังเกต เนื่องจากเป็นการชี้ว่าแนวโน้มระยะสั้นและระยะยาวจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันและถือว่าเป็นแนวต้านสำคัญทั้งคู่ นอกจากนี้เส้น MA 50 สัปดาห์ก็ได้หล่นไปอยู่ที่ระดับสูงสุดของเส้น MA 200 สัปดาห์ด้วย
การปรับตัวลดลงไปอยู่ต่ำกว่าแนวรับของเดือนพฤษภาคมอาจทำให้เส้น MA 50 ลงไปอยู่ต่ำกว่าเส้น MA 200 ได้ และจะทำให้เกิด Death Cross ในระยะยาวซึ่งจะเป็นสัญญาณสำคัญของการเกิดแนวโน้มขาลงระยะยาวได้ ครั้งสุดท้ายที่เส้นราคาเฉลี่ยรายสัปดาห์ทำให้เกิด death cross ได้คือเดือนธันวาคมปี 2014 ในช่วงนั้นยูโรดิ่งลงไป 16% ภายในเวลาสามเดือนในช่วงตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2014 จนถึง 9 มีนาคม 2015
กลยุทธ์การซื้อขาย
นักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยง ควรรอให้เกิดแนวโน้มขาลงต่อเนื่องก่อน โดยรอให้ราคาทะลุระดับ neckline ของ H&S 3% ไปยังระดับ 1.0860 เพื่อป้องกันสัญญาณหลอกขาลง
นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง ควรรอจนกว่าราคาจะลงไปทำจุดต่ำสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดของเดือนพฤษภาคม จากนั้นรอให้มีการกลับตัวที่อาจไปได้ถึงแนวต้าน แล้วจึงค่อยเสี่ยงเปิดสถานะ short
นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง อาจเปิดสถานะ short ได้ทันที
ตัวอย่างการซื้อขาย
-
ราคาเข้า: 1.1150
-
Stop-Loss: 1.1200
-
ความเสี่ยง: 50 pips
-
เป้าหมาย: 1.1000
-
ผลตอบแทน: 150 pips
-
อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3