โดย Purich Mahayosanan นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและภาพรวมตลาดสกุลเงินของ FBS ประจำประเทศไทย
ภาพรวมประจำวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2019
ภาพรวมสำหรับสามวันที่เหลือแนะนำว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากไม่ว่าจะเป็นปัจจัยที่ยังต้องติดตามสำหรับสกุลเงินปอนด์สเตอร์ริงที่ต้องติดตามกระบวนการ Brexit จากนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนใหม่ที่ได้รับเลือกคือ นายบอริส จอห์นสัน โดยตลาดยังให้น้ำหน้กไปยังการออกจากสหภาพยุโรปหรือ Brexit แบบ No Deal โดยในการแถลงครั้งแรกต่อหน้าสื่อมวลชนนายกฯ คนใหม่ของอังกฤษนั้นยังคงมีการเน้นย้ำว่าการออกจากสหภาพยุโรปจะต้องสิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคมนี้เท่านั้น แต่หลายสำนักยังคงให้น้ำหนักในความเสี่ยงที่จะออกจากสหภาพยุโรปแบบ No Deal อย่างมากไม่ว่าจะเป็นมูดดี้หรือว่าโกลแมนแซก โดยที่โกแมนแซกให้น้ำหนักในการออกจากสหภาพยุโรปแบบ No Deal จาก 15% เป็น 20% ในวันนี้ ซึ่งทำให้ตลาดยังมีความกังวลอย่างมากและอาจจะมีความเสี่ยงที่สกุลเงินปอนด์เตอริงมีการอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องโดยคงต้องติดตาม นโยบายของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอังกฤษอย่างใกล้ชิด
- ในมุมมองของสกุลเงินยูโรในสัปดาห์นี้ยังคงโดนกดดันมาจากสกุลเงินดอลล่าห์ทำให้สกุลเงินยูโรมีการอ่อน่ค่าลงต่อเนื่องโดยเฉพาะคู่สกุลเงิน EURUSD แต่ในวันพุธและพฤหัสบดีก็ยังมีการประกาศที่สำคัญอย่างมากของสหภาพยุโรปไม่ว่าจะเป็นการประกาศดัชนี PMI ภาคการผลิตของเยอรมันนีและยูโรโซนหรือแม้กระทั่งการประกาศดัชนีบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมันที่จะสร้างความผันผวนให้กับสกุลเงินยูโรไม่มากก็น้อย
- อีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างมากก็คือในส่วนของการประกาศดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรปหรือว่า ECB ซึ่งจะป็นการประกาศในวันพฤหัสบดีนี้โดยจะมีการประกาศนโบายทางการเงินเพิ่มเติมของธนาคารกลางยุโรปซึ่งนักวิเคราะห์ชั้นนำหลายสำนักยังคงมีความเห็นว่าธนาคารกลางยุโรปหรือว่า ECB อาจจะมีมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมหรือ QE ซึ่งอย่างน้อยก็อาจจะมีการเพิ่มเติมมากกว่าเดิม โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอาจจะยังคงมีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่เท่าเดิมคือ 0.00% ซึ่งอาจจะมีความผันผวนของทิศทางสกุลเงินยูโรอย่างมากในวันประกาศ
โดยปัจจัยสุดท้ายที่จะต้องคอยติดตามอย่างมากคือสกุลเงินดอลล่าห์ที่ในตอนนี้มีความผันผวนจากการที่ประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ได้มีการขยายเพดานหนี้เพิ่มมากขึ้นไปอีก 2 ปีจึงเป็นผลให้นักเก็งกำไรและนักลงทุนต่างเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับตลาดหุ้นมากขึ้นเนื่องจากเม็ดเงินจากการที่มีการขยายเพดานหนี้นั้นอาจจะส่งผลให้นักลงทุนต่างมีการกู้ยืมไปลงทุนขนาดใหญ่รวมทั้งการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงหรือแม้กระทั่งเข้ามาถือสกุลเงินดอลล่าห์เพื่อเตรียมที่จะลงทุนดังนั้นสกุลเงินดอลล่าห์หรือแม้กระทั่งพันธบัตรรัฐบาลก็อาจจะเป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนและนักเก็งกำไรเข้ามาถือเพื่อเก็งกำไรอย่างต่อเนื่องจึงสร้างความผันผวนให้กับทิศทางทองคำและสินทรัพย์เสี่ยงไม่น้อยเลยทีเดียว
- ดังนั้นทิศทางทองคำยังเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงอย่างมากในช่วงนี้ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนต่อตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับสงครามทางการค้าที่จะต้องติดตามถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณออกมาที่ดีสำหรับการเจรจาครั้งใหม่ในวันจันทร์นี้และในส่วนของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ยังคงมีความผันผวนอย่างต่อเนื่องทิศทางทองคำจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ยังมีความเสี่ยงในช่วงนี้ จึงควรติดตามอย่างใกล้ชิดใน วันนี้เป็นต้นไป
สามารถติดตามข่าวสารแบบรวดเร็วได้ตามทวิตเตอร์นี้ @kun_purich