โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 24 มิถุนายน 2019
แม้จะเริ่มสัปดาห์ใหม่แล้วแต่ผลพวงจากสัปดาห์ก่อนก็ยังตามมาจนถึงวันจันทร์เมื่อ ดอลลาร์สหรัฐ ยังคงปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ดอลลาร์ ออสเตรเลีย และดอลลาร์ นิวซีแลนด์ เป็นสองสกุลเงินที่ปรับตัวขึ้นได้มากที่สุดหลังจากที่ นายโลวี ประธานธนาคารกลางออสเตรเลียเปิดเผยว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกนั้นจะเป็นการดีหาก “ทุกคนผ่อนคลายตามไปด้วย” ซึ่งดูเป็นความเห็นที่ค่อนข้างจะแปลกอยู่สักหน่อย เพราะถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะช่วยควบคุมความอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งดอกเบี้ยสินเชื่อให้ต่ำลงและสามารถช่วยเหลือธุรกิจและผู้บริโภคภายในประเทศได้ก็จริง แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ราคาเสนอซื้อ AUD และ NZD ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นในตลาดนั้นเป็นการแสดงออกว่ามีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางน่าจะตัดสินใจไม่ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในสัปดาห์หน้า การประชุมของธนาคารกลางนิวซีแลนด์เมื่อวันพุธที่ผ่านมารวมทั้งในวันนี้นั้นทำให้ NZD/USD แข็งค่าขึ้นได้ติดต่อกันเป็นวันที่ห้า ซึ่งเป็นการชี้ว่านักลงทุนไม่ได้ต้องการให้มีการใช้นโยบายผ่อนปรนที่มากเกินไป
ในระหว่างที่ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในช่วงนี้ที่จะบ่งบอกถึงเหตุการณ์ในสัปดาห์หน้าได้ เรายังมี 5 สิ่งที่อยากให้จับตามอง
1. การประชุม G20 - การประชุม G20 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์นี้เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ต้องให้ความสนใจ เมื่อสังเกตจากการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดจะพบว่านักลงทุนต่างเฝ้ารอให้เกิดการเจรจาทางการค้าอีกครั้งหนึ่ง ท่าทีของประธานาธิบดีทรัมป์ในช่วงนี้เริ่มที่จะมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดี แต่ในฝั่งของจีนยังคงมีความคลุมเครืออยู่ ประธานาธิบดีทรัมป์และประธานาธิบดีสีตัดสินใจที่จะเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้อย่างแน่นอนหากไม่มีการยกเลิกการประชุมไปเสียก่อน เราคาดว่าสกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูงทั้งหลายจะยังคงราคาเสนอซื้อไว้เท่าเดิมเมื่อเทียบกับ ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยกเลิกการเข้าร่วมประชุม การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงก็จะเกิดขึ้นได้ทันทีซึ่งหมายถึงว่าเงินสกุลหลักต่างๆ จะปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วโดยวิ่งกลับไปหาเงิน USD ที่มีความปลอดภัยกว่าอีกครั้ง ส่วนการที่ทั้งสองประเทศจะหาข้อสรุปในข้อตกลงทางการค้าได้หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะส่งผลกระทบกับการซื้อขายในสัปดาห์หน้า ไม่ใช่สัปดาห์นี้
2. การแถลงการณ์ของเฟด - ธนาคารกลางสหรัฐฯ ไม่ได้อยู่ในช่วงเก็บตัวเงียบอีกต่อไป เนื่องจากในช่วงนี้เริ่มมีการวางกำหนดการแถลงข่าวของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลาง รวมทั้ง นายพาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางออกมาแล้วด้วยเช่นกัน แม้ว่าเราจะทราบถึงจุดยืนของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในตอนนี้แล้ว (ว่าจะมีการปรับลด อัตรา ดอกเบี้ยลงในปีนี้) แต่การออกมาย้ำเตือนการใช้นโยบายแบบผ่อนปรนของนายพาวเวลล์ย่อมจะส่งผลให้ USD/JPY ปรับตัวลดลงไปได้อีก โดยแนวรับต่อไปของสกุลเงินคู่นี้จะอยู่ที่ 106.50
3. การตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ – กำหนดการประชุมด้านนโยบายทางการเงินในสัปดาห์นี้มีเพียงแห่งเดียวคือที่ ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ จากการประชุมครั้งล่าสุดที่ผ่านมามีการตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ซึ่งมีการชี้แจงออกมาว่าจะเป็นการปรับลดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น นักลงทุนต่างเฝ้ารอดูสถานการณ์ต่อไปว่าธนาคารกลางนิวซีแลนด์จะรักษาคำพูดไว้ได้หรือไม่ หรือยังจำเป็นที่จะต้องมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีกเหมือนกับ ธนาคารกลางออสเตรเลีย
4. การแถลงการณ์ของธนาคารกลางอังกฤษ – การประชุมด้านนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางอังกฤษเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมายังไม่มีความคืบหน้ามากนัก เนื่องจากมีการตัดสินใจที่จะคง อัตราดอกเบี้ย ไว้เช่นเดิม โดยยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ แต่ก็ได้ออกมาชี้แจงว่าหากเศรษฐกิจเป็นไปตามตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ก็อาจจะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นได้เช่นกัน เมื่อวันพุธที่ผ่านมา นายคาร์นีย์ ประธานธนาคารกลางอังกฤษจะต้องขึ้นแถลงข้อมูลอัตราเงินเฟ้อประจำเดือนพฤษภาคมต่อรัฐสภา ดังนั้นจึงน่าจะเห็นความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายด้านการเงินที่จะนำมาใช้ได้มากขึ้น การแถลงในครั้งนี้ก็น่าจะส่งผลกับค่าเงิน สเตอร์ลิง ค่อนข้างมากด้วยเช่นกัน
5. การตอบโต้ของอิหร่าน? – สถานการณ์ความตึงเครียดที่ยังคงร้อนระอุเมื่อประธานาธิบดีทรัมป์ลงนามในการใช้มาตรการคว่ำบาตรขั้นเด็ดขาดที่จะ “มุ่งโจมตี” เศรษฐกิจของอิหร่านในวันนี้ โดยคาดหวังว่าการใช้มาตรการกดดันในครั้งนี้จะทำให้อิหร่านยอมกลับมาเจรจากันอีกครั้ง แต่หากว่าผลที่ตามมากลับกลายเป็นการยั่วยุในด้านอื่นที่ไม่ใช่การโจมตีทางสงคราม เราก็อาจจะได้เห็นความกังวลในตลาดเกิดขึ้นอีกครั้ง