Week Ahead: After New Highs, Stocks Could Be Pressed By U.S.-Iran Tensions |
-
-
ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่าน เป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้นที่พุ่งขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้
-
กลุ่มอุตสาหกรรมกว่าครึ่งของดัชนี S&P 500 ยังคงอ่อนแรง
-
ราคาน้ำมันอาจปรับตัวขึ้นได้ในระยะสั้น แต่ระยะยาวยังถือว่าเป็นขาลง
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงเนื่องจากเกิดความกังวลว่ากองทัพสหรัฐฯ ซึ่งบริหารโดยประธานาธิบดีทรัมป์จะเปิดฉากการตอบโต้กับอิหร่าน หลังจากที่เกิดเหตุการณ์ที่อิหร่านยิงขีปนาวุธโจมตีโดรนของสหรัฐฯ ตกเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นอกจากนี้ก็ยังได้รับแรงเสริมจากท่าทีของธนาคารกลางที่อาจจะนำนโยบายเชิงผ่อนปรนมาใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคืองในช่วงนี้อีกทางหนึ่งด้วย ดัชนี ปรับตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดระหว่างวันได้เป็นครั้งที่สองก่อนที่จะปรับตัวลงมาปิดต่ำกว่านั้นเล็กน้อยเมื่อวันศุกร์ ในทางกลับกัน ราคา ปรับตัวสูงขึ้นมากจากสถานการณ์ด้านปริมาณการผลิตที่ยังอาจเป็นปัญหา
แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะตลาดหุ้นที่ยังดูแข็งแกร่งเป็นหลักฐานที่ชี้ว่านักลงทุนยังมีความอดทนต่อสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นก็ยังบ่งบอกถึงความสำคัญของ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ อีกด้วย เพราะหากเฟดหมด (รวมทั้งประธานาธิบดีทรัมป์) ด้วยแล้ว สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดน่าจะดิ่งลงหนักกว่านี้ อีกปัจจัยหนึ่งที่ไม่ส่งผลกระทบกับตลาดในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือ ปัญหาข้อพิพาทด้านสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งถือเป็นข่าวใหญ่มาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2018
แต่กระนั้นก็ยัง มีรายงานออกมา เมื่อวานนี้ว่าประธานาธิบดีทรัมป์ได้ยกเลิกแผนการที่จะเข้าโจมตีอิหร่าน โดยจะมีการ "โจมตีแบบออนไลน์กับกลุ่มซึ่งเชื่อว่าเป็นหน่วยข่าวกรองที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีเรือบรรทุกน้ำมันเมือไม่กี่สัปดาห์ก่อน” การโจมตีทางระบบคอมพิวเตอร์นี้จะเป็นการตอบโต้ที่มีการยิงโดรนของสหรัฐฯ ตกด้วยเช่นกัน ซึ่งก็อาจก่อให้เกิดสงครามในตะวันออกลางอีกครั้งในช่วงสัปดาห์นี้
สัญญาณเตือนทางด้านเทคนิคสำหรับตลาดหุ้น
ท่ามกลางปัจจัยมากมายที่ยังไม่มีความแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายทางการเงิน ความขัดแย้งจากสงครามการค้า ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีเท่าที่ควร รวมทั้งการเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านในครั้งนี้ จากข้อมูลทางเทคนิคจะแสดงให้เห็นว่าเริ่มมีสัญญาณเตือนเกิดขึ้นแล้วหลายตัว
ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดโดยปรับตัวลดลง 0.13% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบสัปดาห์ สิ่งที่เป็นสัญญาณว่าตลาดจะกลับเป็นขาลงเกิดจากการที่ดัชนีปรับตัวลดลงหลังจากที่สามารถขึ้นทำสถิติสูงสุดระหว่างวันได้
ดัชนี ปรับตัวขึ้นไปสูงสุดเท่ากับวันที่ 3 ตุลาคมได้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเพียงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะกลับลงไปปิดตลาดในแดนลบ แต่ทั้งราคาปิดและราคาสูงสุดระหว่างวันก็ยังไม่สามารถทำลายสถิติเดิมได้ ดัชนีน่าจะยังคงมีความผันผวนต่อไปในช่วงสัปดาห์นี้ โดยมีปริมาณการลงทุนสูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 30 วัน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่จะมีการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าและออพชันที่ใกล้หมดอายุมากกว่าเดิมถึง 4 เท่า
ปัจจุบัน กลุ่มอุตสาหกรรม 6 กลุ่มจากทั้งหมด 11 กลุ่มของดัชนี S&P 500 กำลังเริ่มส่งสัญญาณเตือนว่าจะเกิดแนวโน้มขาลง โดยมีกลุ่ม เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ +0.76% แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่จะกล่าวต่อไปด้านล่างจะพบว่า ในระยะยาวก็จะมีสัญญาณของแนวโน้มขาลงด้วยเช่นกัน
กลุ่ม ยังทำผลงานได้แย่กว่าเดิม (-1.14%) แม้ว่าตัวเลขยอดขาย เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาจะดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยมีค่าสูงขึ้น 2.5% เมื่อเทียบกับ -0.4% ของเดือนก่อนหน้านั้น ซึ่งมีค่าสูงขึ้นกว่าที่คาดไว้ที่ 1.2% นอกจากนี้ ก่อนที่จะมีการประกาศข้อมูลนี้ออกมา นายเคเนธ ซีเนอร์ จากบริษัท KeyBank Capital Markets เปิดเผยกับรายการ “Closing Bell” ของสำนักข่าว CNBC ว่าหากอัตราดอกเบี้ยถูกลงก็น่าจะมีการทำกำไรจากผู้รับเหมาสร้างบ้านได้มากขึ้นด้วย และเชื่อว่าน่าจะเป็นไปตามตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ที่ 1.2%
เมื่อพิจารณาจากการวิเคราะห์ทางเทคนิคแบบตะวันตก หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ได้ทำรูปแบบ island reversal ไปแล้วซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมี gap ล้อมรอบราคาอยู่ ซึ่งเป็นการชี้ว่ามีกำลังการขายที่รอรองรับความต้องการซื้ออยู่มากพอ จากนั้นก็จะมีผู้ขายที่ยอมลดราคาเพื่อหาผู้ซื้อรายใหม่เกิดขึ้น หากดูกราฟแบบแท่งเทียนของญี่ปุ่นจะเห็นรูปแบบของ evening star ที่เป็นรูปแบบในช่วงเวลา 3 วันที่ชี้ว่ากำลังจะมีการกลับตัวเป็นขาลง
รูปแบบ evening star เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงตลาดขาลงได้เป็นอย่างดี แท่งเทียนของวันศุกร์ไม่เพียงแต่จะยาวกว่าแท่งแรกของวันพุธเท่านั้น แต่แสดงให้เห็นว่าการปรับลดในวันศุกร์ทำให้กำไรของทั้งสัปดาห์หายไปได้ทั้งหมดด้วย หากการปรับตัวลงในครั้งนี้เป็นเหมือนกับรูปแบบเดิมก่อนที่จะฟื้นตัวได้ก่อนหน้านี้ การปรับตัวลดลงหลังจากที่มีการปรับตัวสูงขึ้นทำลายสถิติได้ในครั้งนี้ก็ไม่น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีอย่างแน่นอน
หุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่หุ้นเพียงกลุ่มเดียวที่เริ่มส่งสัญญาณเตือน หุ้นกลุ่ม ก็ปรับลดลงเช่นกัน (-0.40%) และมีการทำรูปแบบ evening star (แต่ไม่ใช่แบบ island reversal ที่ต้องมี gap ล้อมรอบราคาของวันที่ราคาขึ้นและลง โดย evening star นั้นขอเพียงแค่ราคาในวันที่สองกระโดดห่างออกไปจนเกิด gap และราคาในวันที่สามปรับตัวลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของกำไรที่เกิดขึ้นในวันแรก)
หุ้นกลุ่ม (-0.52%) อาจกำลังทำรูปแบบ right shoulder ของ H&S top มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ส่วนกลุ่ม (-0.30%) กำลังสร้างรูปแบบแท่งเทียนประจำสัปดาห์เป็นคลื่นสูง ซึ่งชี้ว่ากำลังเกิดความกลัวและขาดทิศทางอยู่บนเส้นแนวโน้มขาลงนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2018 เป็นต้นมา
หุ้นในกลุ่ม (-0.45) ซึ่งเคยเป็นกลุ่มที่เคยเป็นผู้นำตลาดในอดีต เมื่อวันศุกร์ก็ยังคงยืนยันรูปแบบ dragonfly ขาลงของวันพฤหัสบดี โดยมีแนวต้านอยู่ที่ระดับสูงสุดของวันที่ 1 พฤษภาคม หุ้นกลุ่ม (+0.40%) ก็ยังยืนยันรูปแบบ hanging man ที่เกิดขึ้นในวันพฤหัสบดี ที่ปรับตัวขึ้นทำลายสถิติได้ โดยอ้างอิงจากปัจจัยทางด้านจิตวิทยาซึ่งคล้ายกับในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กล่าวคือ ยิ่งมีการฟื้นตัวก่อนหน้านี้ได้มากเท่าใด ก็ยิ่งอาจทำให้เกิดการกลับตัวเป็นขาลงได้มากเท่านั้น
หุ้นกลุ่มพลังงานยังคงทำผลงานได้ดีขึ้นในวันศุกร์ ซึ่งเป็นผลจากรายงานตัวเลขประจำสัปดาห์ที่ดีขึ้น (+4.18%) เมื่อพิจารณาจากข้อมูลทางเทคนิคแล้ว หุ้นกลุ่มนี้มีแนวต้านระยะสั้นอยู่ที่เส้น 50 DMA ตอนที่กลับตัวจากขาลงมาเป็นขาขึ้น อย่างไรก็ตามในระยะยาว หุ้นกลุ่มนี้ได้ปรับตัวลดลงหลุดจากเส้นแนวโน้มขาขึ้นที่มีมาตั้งแต่ปี 2002 เป็นรอบที่สามแล้วเมื่อนับตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา กราฟประจำสัปดาห์ทำรูปแบบ Death Cross เมื่อเส้น MA 50 สัปดาห์ปรับลงไปอยู่ต่ำกว่าเส้น 200 DMA เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา ก่อนที่จะปรับลดลงไป 33% ในเวลาไม่ถึง 5 เดือน ในอีกแง่หนึ่ง สถานการณ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านก็เป็นตัวผลักดันให้ราคาประจำเดือนขึ้นไปอยู่สูงกว่าเส้น MA 200 เดือน
ค่าเงินดอลลาร์และผลตอบแทนพันธบัตรยังคงลดลง ด้านทองคำยังทรงตัวเหนือ $1,400 ส่วน Bitcoin ยังมีมูลค่าเกิน $10,000
ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ผลตอบแทน ปรับลดลงเป็น 2.0% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2016 เป็นต้นมา ก่อนที่จะปรับขึ้นมาอยู่ที่ 2.06%
แต่อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐฯ ก็ยังสูงกว่าพันธบัตรของประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ ดังนั้นความต้องการซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ จากต่างประเทศก็น่าจะยังทำให้อัตราผลตอบแทนระยะยาวยังคงต่ำในขณะที่ช่วยหนุนค่าเงินดอลลาร์ให้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ตลาดยังคงเป็นขาขึ้นได้ต่อไปโดยการให้เครดิตที่ไม่แพงมากกับองค์กรธุรกิจและผู้บริโภค เมื่อพิจารณาข้อมูลทางเทคนิคแล้วจะพบว่าหากมีการทำรูปแบบธงขาขึ้นได้สมบูรณ์แล้วก็จะเกิดการกลับตัวและผลตอบแทนพันธบัตรจะกลับไปสู่แนวโน้มขาลงอีกครั้ง
เงิน ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่สาม หลังจากที่มีแถลงการณ์จากคณะกรรมการกำหนดนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ประกาศออกมาว่าอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคตอันใกล้ จึงทำให้ราคา ปรับตัวไปอยู่ในระดับ $1,400 ได้เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา
USD ปรับตัวลดลงไปทั้งสิ้น 1.45% หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เปิดโอกาสที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อล่าสุดก็ยังคงไม่ถึงเป้าหมายที่เฟดกำหนดไว้ที่ 2% ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องปรับอัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์จาก 1.8% ลงไปเป็น 1.5%
การที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อมีน้อยก็หมายถึงความต้องการซื้อสินค้าและบริการย่อมมีน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งก็จะส่งผลให้อัตราค่าจ้างไม่เติบโตเท่าที่ควร รวมทั้งมีการปล่อยสินเชื่อที่น้อยลงและทำให้เศรษฐกิจโดยรวมอ่อนตัวลงไปอีก เฟดกล่าวว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยและปรับให้ราคากลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ จากข้อมูลทางเทคนิค เงินดอลลาร์ปรับตัวลดลงต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขาขึ้นมาตั้งแต่เดือนมกราคม ราคาลงไปปิดต่ำกว่าเส้น 200 DMA เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมเป็นต้นมา ซึ่งถือเป็นครั้งที่สองหลังจากที่เคยเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2017
หลังจากที่เคยปรับตัวขึ้นไปแตะ $11,000 ได้เป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2018 ก็อ่อนแรงลงแต่ยังอยู่ในระดับเหนือกว่า $10,700 การปรับตัวของราคาที่สูงขึ้นอย่างมากของสกุลเงินคริปโตนี้เกิดขึ้นจากนักลงทุนชาวอินเดียในช่วงที่เกิดความแตกแยกของรัฐบาล นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของเงินดิจิทัล ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ Facebook (NASDAQ:) ได้ประกาศเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัล ของตนเองออกมาด้วยนั่นเอง
จากข้อมูลทางเทคนิค หลังจากที่ราคาพุ่งทะลุเส้นแนวโน้มขาขึ้นไปอย่างมาก รวมทั้งรูปแบบ shooting star และโมเมนตัมที่เริ่มอ่อนแรงในวันศุกร์ จึงควรรอให้มีการดึงกลับของราคามาอยู่ในระดับ $9,000 เป็นอย่างน้อยเพื่อให้เกิดความสบายใจเสียก่อน
ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นได้ 9.37% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสามารถปรับตัวขึ้นได้มากที่สุดในวันพฤหัสบดีถึง +5.38% ซึ่งเป็นผลจากการก่อวินาศกรรมของอิหร่าน ประกอบกับการคาดการณ์ที่ว่าโอเปคจะยังขยายระยะเวลาข้อตกลงในการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันต่อไปอีก เมื่อพิจารณาข้อมูลทางเทคนิคแล้วจะเห็นว่าในช่วงนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในน้ำมันอยู่ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันทำรูปแบบแท่งเทียนเป็นคลื่นสูงในช่วงที่ใกล้จะแตะเส้นแนวโน้มขาลงนับตั้งแต่วันที่ 23 เมษายนเป็นต้นมา ส่วนเส้น 100 DMA ก็ยังมีแนวต้านอยู่ที่เส้น 200 DMA