InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.02 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัว แข็งค่าจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 34.09 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 33.99 - 34.09 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาด พันธบัตร 5,000 ล้านบาท คืนนี้ จะมีการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งคาดว่าจะประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายอีก 0.25% เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ และกลับมากังวลเรื่องปัญหาวิกฤตธนาคาร และคืนวันศุกร์จะมีการประกาศตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร ของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 180,000 ตำแหน่ง "บาทปรับตัวแข็งค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า ระหว่างวันแกว่งตัวในกรอบแคบๆ และทรงตัวอยู่ที่ระดับ 34.00" นักบริหาร เงินกล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์หน้าไว้ที่ 33.85 - 34.10 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 135.62 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 136.49 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.1040 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.1012 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,533.30 จุด เพิ่มขึ้น 4.87 จุด, +0.32% มูลค่าการซื้อขาย 54,974.69 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,869.91 ลบ.(SET+MAI) - กระทรวงพาณิชย์ เผยเงินเฟ้อทั่วไปเดือน เม.ย.66 เพิ่มขึ้น 2.67% จากตลาดคาดที่ 2.7% โดยชะลอตัวต่อเนื่อง เป็นเดือน 4 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 16 เดือน เนื่องจากราคาน้ำมันลดลง และราคาสินค้าหมวดอาหารบางตัวชะลอลง รวม ทั้งฐานในเดือน เม.ย.65 อยู่ในระดับที่สูงแล้วจากช่วงก่อนหน้านั้น ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม. ค.-เม.ย.66) เพิ่มขึ้น 3.58% - แบงก์ชาติ เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนเม.ย.66 อยู่ที่ระดับ 50.1 ปรับลดลงจากระดับ 52.9 ในเดือนมี. ค.66 จากผลของความเชื่อมั่นด้านการผลิต ผลประกอบการ และคำสั่งซื้อที่ปรับลดลงเป็นสำคัญ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากวันทำการที่ น้อยกว่าเดือนก่อน - กกร.มั่นใจเศรษฐกิจไทยปี 66 ไม่สะดุด โดยรอบนี้ (พ.ค.66) ยังคงประมาณการไว้เท่ากับรอบก่อนในเดือนเม. ย.66 โดยคาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ปีนี้จะเติบโตได้ 3-3.5% ส่วนการส่งออก อยู่ที่ -1 ถึง 0% และเงินเฟ้อ 2.7-3.2% - นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำ คาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเป็นเวลานาน จะยิ่งทำให้ภาคการธนาคารอ่อนแอ ซึ่ง อาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถของธนาคารกลางในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ - สำนักงานสถิติยุโรป (Eurostat) เผยอัตราว่างงานของยูโรโซนปรับตัวลดลงแตะ 6.5% ในเดือน มี.ค.โดยการ ปรับตัวลดลงดังกล่าว บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานมีความตึงตัวมากขึ้น ซึ่งเพิ่มความยากลำบากให้กับธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในการ ต่อสู้กับเงินเฟ้อ - ธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 3% ซึ่งสวนทางกับการคาด การณ์ของนักวิเคราะห์ โดยให้เหตุผลว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปรับนโยบายการเงินให้กลับสู่ระดับปกติ เนื่องจากเศรษฐกิจมีความ ยืดหยุ่นและจำเป็นต้องฉุดเงินเฟ้อลง หลังเคลื่อนไหวที่ระดับสูงอย่างต่อเนื่อง