InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.55 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อน ค่าจากปิดตลาดสุดสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 35.50 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทเคลื่อนไหวตามทิศทางของค่าเงินหยวน ขณะที่สกุลเงินในตลาดโลกเคลื่อนไหวแบบผสมไปตามปัจจัย เฉพาะตัว โดยวันนี้ตลาดจะติดตามการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาล โดยเฉพาะในส่วนของนโยบายเศรษฐกิจ อย่างเรื่อง แหล่งเงิน 5.6 แสนล้านบาท ที่จะนำมาใช้ดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งมีผลต่อทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ โดยวันศุกร์ที่ ผ่านมา มีเงินทุนต่างประเทศไหลออกจากตลาดพันธบัตร และตลาดหุ้นราว 7 พันล้านบาท "ทิศทางบาทวันนี้ ต้องจับตาปัจจัยกดดันจากค่าเงินหยวน และการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาล" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.45 - 35.65 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 146.86 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 147.28 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0712 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0703 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.542 บาท/ ดอลลาร์ - นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง นำคณะรัฐมนตรี แถลงนโยบายของรัฐบาลต่อที่ประชุมรัฐสภาตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 162 เป็นวันแรก - ธนาคารกสิกรไทย (BK:KBANK) มองกรอบค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ไว้ที่ 35.20-35.80 บาท/ดอลลาร์ โดยมีปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ รายละเอียดของนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติและค่าเงินหยวน ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจ สหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นและตัว เลขคาดการณ์เงินเฟ้อจากมุมมองผู้บริโภคเดือนก.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ - China Foreign Exchange Trading System (CFETS) รายงานว่า อัตราค่ากลางสกุลเงินหยวนในวันนี้แข็ง ค่าขึ้น 0.0002 หยวน แตะระดับ 7.2148 หยวน/ดอลลาร์ - ตลาดการเงินกังวลภาวะเงินฝืดของจีน โดยล่าสุดดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค.ของจีนขยับขึ้นเพียง 0.1% ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค.ลดลง 3.0% โดยดัชนี CPI เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ส่วน ดัชนี PPI ซึ่งเป็นมาตรวัดต้นทุนสินค้าที่หน้าประตูโรงงาน - FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมรอบนี้ แต่เพิ่มน้ำหนักในการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.50-5.75% ในการประชุม เดือนพ.ย. หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีภาคบริการที่แข็งแกร่ง รวมทั้งตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานต่ำสุดในรอบ 7 เดือน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันศุกร์ (8 ก.ย.) และแตะระดับสูงสุดของปีนี้ โดยได้ แรงหนุนจากความวิตกเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันที่ตึงตัว ซึ่งได้ช่วยคลายความกังวลของตลาดเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกและอุปสงค์ที่ อ่อนแอของจีน - ตลาดรอดูผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีที่ 14 ก.ย.นี้ ขณะที่แบงก์ ออฟ อเมริกา โกลบอล รีเสิร์ช คาดการณ์ว่า ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งนี้ เนื่องจากเงินเฟ้อยังไม่มี แนวโน้มชะลอตัวลง - สหรัฐฯ จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคเดือนส. ค., ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนส.ค. และดัชนีราคาผู้ ผลิต (PPI) เดือนส.ค.