โดย Detchana.K
Investing.com - ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ Krungthai COMPASS เผยรายงานวิเคราะห์การท่องเที่ยวผ่าน High-Frequency Indicators ท่ามกลางการหดตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ในปีนี้ หลายฝ่ายต่างคาดกันว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติคงกลับมาเที่ยวไทยได้ยาก และแม้จะมีการเปิด Travel Bubble หรือการเปิดประเทศด้วยการท่องเที่ยวแบบจับคู่เดินทาง ก็คงนำนักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้ไม่มากเมื่อเทียบกับจำนวนที่หายไป ดังนั้น การ ท่องเที่ยวในประเทศในเวลานี้จึงเป็นความหวังหนึ่งในการช่วยพยุงให้เศรษฐกิจ ไทยและเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดต่างๆ ไม่ให้ทรุดหนักไปกว่านี้ คำถามที่น่าสนใจคือ แม้จะมีการคลาย Lockdown แล้ว การท่องเที่ยวใน ประเทศจะกลับมาได้หรือไม่? เราเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวบ้างรึยัง? แล้ว จังหวัดไหนที่การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจในพื้นที่จะฟื้นได้ก่อนจังหวัดอื่น?
เราเริ่มเห็นสัญญาณฟ้ืนตัวของการท่องเที่ยวในประเทศรึยัง?
โดยปกติ หากจะดูว่าภาพรวมการท่องเที่ยวเป็นอย่างไร อัตราการเข้าพัก หรือ OR (Occupancy Rate) ถือเป็นตัวชี้วัดที่ดีอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ดี ข้อมูล OR มักเผยแพร่ล่าช้า (lag) เกือบ 1 เดือน โดย ณ ต้นเดือนกรกฎาคม ข้อมูล OR ล่าสุดยังเป็นของเดือนพฤษภาคมเท่านั้น ทำให้แม้จะเริ่มเห็นว่าการยอด OR เพิ่มขึ้นบ้างในเดือนพฤษภาคม แต่เราไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่า การฟ้ืนตัวของ การท่องเที่ยวในเดือนมิถุนายนเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ดี เราสามารถหาดัชนีที่เผยแพร่อย่างรวดเร็ว ทันสถานการณ์และมี ความถี่มาก หรือ High-Frequency Indicators อื่นๆ มาเป็นตัวแทน (Proxy) ในการดูได้ว่าสถานการณ์ท่องเที่ยวล่าสุดได้ อย่างเช่น ข้อมูล ผู้โดยสารในประเทศจากกรมท่าอากาศยานที่เผยแพร่รายวัน หรือ Google (NASDAQ:GOOGL) Community Mobility Report ในหมวดสวนสาธารณะ ที่ดูว่าในช่วงเวลานี้มี การเดินทางไปไปอุทยาน ชายหาด และสวนสาธารณะกันมากเพียงใดแล้ว หรือ Mobility Trends Reports จาก Apple (NASDAQ:AAPL) ที่แสดงข้อมูลว่ามีการขอเส้นทาง ขับรถผ่าน Apple Map มากเพียงใด โดยทั้ง Google Mobility Report และ ตัวเลขผู้โดยสารเครื่องบินในประเทศล้วนแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง กับการท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในเดือนมิถุนายน
อย่างไรก็ดีแม้ว่าผู้คนจะเริ่มออกไปชายหาด และอุทยานต่างๆ มากขึ้น จนน้อยกว่าช่วงเดือนมกราคมเพียงประมาณ 20% แต่ถ้าดูตัวเลขผู้โดยสารเครื่องบิน ในประเทศจะพบว่าน้อยกว่าช่วงต้นปีถึง 75% ซึ่งหากเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันกับปีที่แล้ว ตัวเลขผู้โดยสารในประเทศปีนี้หดตัวถึง 73% YoY ดังนั้น เราอาจกล่าวได้ว่าผู้บริโภคส่วนหนึ่งอาจยังกังวลกับสถานการณ์การระบาด เลยเลือกที่จะท่องเที่ยวด้วยรถยนต์แทนที่จะเดินทางด้วยเครื่องบิน หรือคนไม่ต้องการใช้ เงินมากในช่วงที่เศรษฐกิจยังเปราะบางอยู่ก็เลยเลือกที่จะท่องเที่ยวในจังหวัด ใกล้ๆ ก็เป็นได้
การท่องเที่ยวจังหวัดไหนฟื้นตัวแล้ว จังหวัดไหนยังไม่ค่อยฟื้น?
เนื่องจากกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีประชากรจำนวนมาก และประชากรโดยเฉลี่ยมี กำลังซื้อสูงที่สุดในประเทศ การท่องเที่ยวของคนกรุงเทพฯ จึงนับว่ามี ความสำคัญต่อจังหวัดอื่นๆ ไม่น้อย ในช่วงที่คนยังไม่ค่อยกลับมาโดยสารด้วย เครื่องบิน จังหวัดที่คนกรุงเทพฯ สามารถขับรถไปท่องเที่ยวได้ง่ายน่าจะฟื้นตัว ได้เร็วกว่า ในขณะที่หากจังหวัดใดต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างมากใน ภาวะปกติ แม้คนในประเทศเดินทางกลับไปเที่ยว ก็ไม่สามารถชดเชยรายได้จาก ชาวต่างชาติที่หายไปได้
หากเราแบ่งจังหวัดท่องเที่ยวหลักตาม 1) สถานที่ตั้งว่าอยู่ใกล้หรือไกลกรุงเทพฯ และ 2) แหล่งรายได้ ว่ามาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเยอะหรือไม่ จะแบ่งกลุ่มได้ทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มใกล้กรุงเทพฯ และต่างชาติไม่เยอะมาก ซึ่งเราคาดว่าการท่องเที่ยวน่าจะฟื้นตัวได้เร็ว เช่น กาญจนบุรี นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
2. กลุ่มไกลกรุงเทพฯ และต่างชาติไม่เยอะมาก ซึ่งก็น่าจะฟื้นตัวได้เร็วเช่นกัน เพราะคนพื้นที่ไปเที่ยวได้ง่าย เช่น อุบลราชธานี ขอนแก่น อุดรธานี เป็นต้น
3. กลุ่มใกล้กรุงเทพฯ และต่างชาติเยอะ น่าจะฟื้นตัวได้ เพราะคนกรุงเทพฯ คงไปเที่ยวกันเยอะ แต่คงฟื้นไม่มากนัก เพราะปกติรายได้จำนวนมากมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก เช่น ชลบุรี
4. กลุ่มไกลกรุงเทพฯ และต่างชาติเยอะ เป็นกลุ่มที่มีโอกาสฟื้นตัวได้ช้าที่สุด เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต พังงา กระบี่ เป็นต้น
จากข้อสมมุติข้างต้น เราสามารถนำข้อมูลการขอรับเส้นทางจาก Apple Map เพื่อขับรถมาดูได้ว่า ในจังหวัดนั้นๆ คนใช้ Map กันมากแค่ไหนแล้ว เทียบกับ ช่วงต้นปี ซึ่งข้อมูลการเปิด Map พอจะฉายให้เห็นภาพได้ว่าคนเที่ยวกันมากขึ้นรึเปล่า เพราะนักท่องเที่ยวมักเป็นกลุ่มคนที่ต้องเปิด Map ขณะขับรถมากกว่า คนในพื้นที่ที่คุ้นเคยเส้นทางอยู่แล้ว
รายงานจาก Krungthai COMPASS