โดย Detchana.K
>IMF คาดเศรษฐกิจโลกปีนี้อาจหดตัวถึง 4.9% หลัง COVID-19 ได้สร้างความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าที่คาด ส่วนปี 2021 มองว่าจะขยายตัว 5.4% ทว่า ยังมีความเสี่ยงด้านต่า อีกมากจากความไม่แน่นอนสูงและระยะเวลาในการฟื้นตัวทาง เศรษฐกิจ ทั้งนี้ยังได้ปรับลดจีดีพีไทยปีนี้ว่าจะหดตัวมากถึง 7.7% ก่อนที่จะพลิกกลับมาขยายตัวที่ 5.0% ในปี 2021
>นอกจากนี้ IMF ประเมินว่า หนี้สาธารณะทั่วโลกอาจแตะระดับสูงสุดตลอดกาล ขณะที่การขาดดุลงบประมาณทั่วโลกคาดว่าจะอยู่ที่ 14% ต่อจีดีพี จากการจัดเก็บรายได้ภาคครัวเรือนและธุรกิจที่ลดลง รวมถึงการบริโภคที่ได้รับแรงปะทะจาก COVID-19
>Krungthai COMPASS คงประมาณการเดิมที่เศรษฐกิจไทยปีนี้ น่าจะหดตัวถึง 8.8% ขณะที่รูปแบบเศรษฐกิจและชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) หลังวิกฤต COVID-19 ทำให้ต้องพึ่งพา มาตรการทางการคลังอย่างเร่งด่วน ท่ามกลางหนี้สาธารณะที่จะกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่วนกลับไปซ้าเติมเศรษฐกิจในระยะยาว
Investing.com - ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ให้ข้อมูลว่า IMF ประเมิน The Great Lockdown ฉุดเศรษฐกิจโลกหดตัว 4.9% หลังพิษ COVID-19 รุนแรงและเลวร้ายกว่าที่คาด โดย IMF คาดเศรษฐกิจโลกปีนี้อาจหดตัวถึง 4.9% ตามรายงาน World Economic Outlook เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยปรับลดลงจากประมาณการเดิมในเดือน เม.ย. ที่ติดลบ 3.0% จากการแพร่ระบาดใหญ่ของ COVID-19 ที่ได้สร้างความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งแรกของปีมากกว่าที่คาด โดยเฉพาะผลกระทบที่รุนแรงต่อครัวเรือนที่มีรายได้ต่า ซึ่งคาดว่าจะทำให้โลกต้องเผชิญกับความยากจนที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1990 สำหรับปี 2021 ประเมินว่า เศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัว 5.4% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 5.8% ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ต่ากว่าก่อนเกิด COVID-19
ทั้งนี้ ความไมแ่น่นอนที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าระดับปกติค่อนข้างมาก และการฟื้นตัวที่คาดวา่จะช้ากว่าที่ประเมินไว้ยิ่งสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น โดยนับจากนี้ โลกต้องเผชิญกับ มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ต่อไป ซึ่งจะยิ่งกระทบต่อแนวโน้ม การผลิต (Supply potential) อย่างรุนแรง โดยการปรับลดประมาณการมีสาระสำคัญดังนี้
♦การแพร่ระบาดเลวร้ายลงในหลายประเทศ โดยจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องใช้มาตรการปิดเมืองอย่างเข้มงวด จนเกิด Disruption ต่อกิจกรรมทาง เศรษฐกิจครั้งใหญ่ ส่วนในประเทศอื่นๆ ที่ยอดติดเชื้อและเสียชีวิตยังไม่สูงมากนักเมื่อ เทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมด อาจยังมีข้อจำกัดเรื่องการตรวจสอบโรค ซึ่งก็หมาย รวมถึงความไม่แน่นอนในการประเมินระดับการแพร่ระบาด
♦ส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับเศรษฐกิจหดตัวอย่างรุนแรงในไตรมาส 2 ยกเว้นจีนที่เกือบ ทั้งหมดเริ่มเปิดทำการตามปกติแล้วในช่วงต้นเดือน เม.ย. ขณะที่ทั่วโลกยังต้องเผชิญ กับการบริโภคและบริการที่หดตัวอย่างรุนแรงจาก Social distancing และมาตรการ ปิดเมือง ส่งผลให้รายได้หดหาย ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอ่อนแอ ขณะที่ผู้ผลิต จำเป็นต้องหั่นเม็ดเงินสำหรับการลงทุนเพื่อใช้รับมือกับดีมานด์ที่ลดลง การแทรกแซง ด้านอุปทาน (Supply interruption) และความไม่แน่นอนในการประเมินรายได้ในอนาคต
♦อุปสงค์โดยรวมชะงักงันเป็นวงกว้าง และยังไม่เห็นการฟื้นตัวชัดเจน แม้หลายประเทศ จะค่อยๆ กลับมาเปิดเศรษฐกิจได้บางส่วนตั้งแต่เดือน พ.ค. แต่จากข้อมูล Mobility Trend กลับพบว่า กิจกรรมต่างๆ ทั้งการจับจ่ายใช้สอย สันทนาการ และการเดินทาง ไปทำงานยังอยู่ในระดับต่ากว่าเมื่อเทียบกับก่อนเกิดโรคระบาดจากผลของ Social distancing
คลิ้กที่นี่เพื่ออ่านรายงานฉบับเต็มจาก Krungthai COMPASS
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เฟดประกาศให้ธนาคารหยุดซื้อหุ้นและจำกัดการจ่ายเงินปันผลหลังทดสอบภาวะวิกฤต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันในสหรัฐสูงเป็นประวัติการณ์ เท็กซัสสั่งชะลอเปิดรัฐ