InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 34.56 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียง ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.58 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทปิดวันนี้อ่อนค่าเกือบที่สุดภูมิภาค เป็นรองแค่รูเปียะห์ อินโดนีเซีย ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.51- 34.68 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งการอ่อนค่าดังกล่าว เป็นผลหลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณชะลอการปรับลดดอกเบี้ยลงในปีหน้า ส่วนคืนนี้ ต้องรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ซึ่งตลาดคาดว่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ใน ระดับเดิม และรอการส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยในระยะถัดไป รวมทั้งรอติดตามการรายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ของสหรัฐ "วันนี้ปิดตลาด เงินบาทอ่อนค่าอ่อนค่าเกือบที่สุดในภูมิภาค เป็นรองแค่รูเปียะห์ อินโดฯ...แนวโน้มช่วงนี้ ยังมีโอกาสอ่อนค่า ต่อได้อีก" นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.45 - 34.75 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 156.94 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 154.78 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0416 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0378 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,377.53 จุด ลดลง 21.42 จุด (-1.53%) มูลค่าการซื้อขายราว 49,320.16 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 104.58 ล้านบาท - รมว.คลัง เตรียมเสนอมาตรการของขวัญปีใหม่ 2568 ให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาในสัปดาห์หน้า เพื่อช่วยกระตุ้นกำลังซื้อ ของประชาชน คือ โครงการ Easy E-receipt ซึ่งเงื่อนไขรายละเอียดจะใกล้เคียงกับของเดิม ที่สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวน ที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บ. คาดเริ่มใช้ภายใน ม.ค.68 - กระทรวงคลัง เตรียมเสนอที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า พิจารณากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน (กรอบเงินเฟ้อ) สำหรับ ปี 2568 ต่อที่ประชุม ครม.ด้วย โดยยังคงกรอบเงินเฟ้อทั่วไปที่ 1-3% เช่นเดียวกับปีนี้ - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ผันผวนว่า เป็นผลจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก โดยส่วน หนึ่งเป็นผลจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยตลาดคาดว่าปี 68 เฟดจะลดดอกเบี้ยลงอีกเพียง 2 ครั้ง จากเดิมคาด 4 ครั้ง ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่า ทั้งนี้ ธปท. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยจะดูแลให้สอดคล้องกับพื้น ฐานเศรษฐกิจ และไม่ให้กระทบกับภาคธุรกิจ - ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เฟดมีแนวโน้มปรับลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง ตาม Dot Plot ล่าสุด แต่ยังมีความเสี่ยงจากนโยบาย ของสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดีทรัมป์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมาตรการปรับขึ้นภาษีนำเข้า มาตรการกีดกันแรงงาน อพยพ และมาตรการลดภาษีเงินได้ ที่อาจเพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อสหรัฐฯ ให้สูงขึ้น - สื่อต่างประเทศรายงานว่า สกุลเงินบาทของไทย สกุลเงินวอนของเกาหลีใต้ และสกุลเงินริงกิตของมาเลเซีย ต่างก็อ่อน ค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยเงินวอนดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลก ขณะที่ค่าเงินริงกิตร่วงลงแตะระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เดือนส.ค. - "โดนัลด์ ทรัมป์" ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ออกมาคัดค้านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราว ที่นำเสนอโดยพรรครีพับลิ กัน และเดโมแครต ซึ่งความเคลื่อนไหวของทรัมป์ อาจส่งผลกระทบต่อการผลักดันร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราว ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงาน ของรัฐบาลสหรัฐฯ สามารถหลีกเลี่ยงการปิดดำเนินการ (ชัตดาวน์) - ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้ (19 ธ.ค.) ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของ ตลาด อย่างไรก็ตาม BOJ มีมติที่ไม่เป็นเอกฉันท์เนื่องจากกรรมการรายหนึ่งของ BOJ เสนอให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า BOJ ยังคงมีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายคุมเข้มด้านการเงินในช่วงต้นปีหน้า - หน่วยงานกำกับดูแลด้านหลักทรัพย์ของฮ่องกง ได้ออกใบอนุญาตให้แก่แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี 4 แห่ง ซึ่งถือ เป็นความพยายามครั้งล่าสุดของฮ่องกง ในการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเป็นศูนย์กลางการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลระดับโลก - คืนนี้ สหรัฐฯ จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2567, ยอดขายบ้านมือสองเดือน พ.ย. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือน พ.ย.