Investing.com - ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐขยับขึ้นเล็กน้อยในตลาดยุโรปวันนี้ แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ขาดทุนอย่างหนักก่อนปิดสัปดาห์ หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อที่เย็นลงและดัชนียอดค้าปลีกที่อ่อนแอทำให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ กลับมามีบทบาทอีกครั้ง
เมื่อเวลา 04:10 ET (08:10 GMT) ดัชนีดอลลาร์ ที่ใช้ติดตามค่าเงินดอลลาร์สหรัฐต่อกลุ่มสกุลเงินหลัก 6 สกุล ขยับขึ้น 0.2% เป็น 104.580 สูงกว่าระดับ 104 ของเมื่อต้นสัปดาห์นี้เล็กน้อย
ดอลลาร์ทรงตัวจากความเห็นเชิง hawkish ของเฟด
เงินดอลลาร์ฟื้นตัวเล็กน้อยเนื่องจากเจ้าหน้าที่เฟดหลายคน โดยเฉพาะสมาชิกของคณะกรรมการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง กล่าวว่าพวกเขาต้องการความมั่นใจมากกว่าแค่การลดลงของเงินเฟ้อในเดือนเมษายนว่าเงินเฟ้อกำลังลดลงแล้ว
"ตอนนี้ฉันเชื่อว่ามันจะใช้เวลานานกว่าที่คิดไว้ในการบรรลุเป้าหมาย 2% ของเรา" Loretta Mester ประธานธนาคารกลางสหรัฐแห่งเมืองเซนต์หลุยส์กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี และยังเสริมด้วยว่าจำเป็นต้องมีการติดตามข้อมูลต่อ ๆ ไปที่กำลังจะมาถึงเพิ่มเติม ซึ่ง John Williams ประธานธนาคารกลางสหรัฐแห่งนิวยอร์กก็เห็นด้วยกับมุมมองดังกล่าว
"ตอนนี้ผมมองไม่เห็นตัวชี้วัดใด ๆ ที่บอกได้ว่า...มันมีเหตุผลมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในตอนนี้ และผมไม่ได้คาดหวังความมั่นใจที่มากนักหากเราต้องการเห็นความคืบหน้าเงินเฟ้อไปสู่เป้าหมาย 2% ในระยะเวลาอันใกล้" Williams กล่าว
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์ยังคงอยู่ในระดับที่ขาดทุนรายสัปดาห์ประมาณ 0.7% หลังจากข้อมูลเงินเฟ้อ CPI ที่ลดลงทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ จะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยถึงสองครั้งในปีนี้ โดยเริ่มต้นในเดือนกันยายน
ดัชนี {ecl-256||ยอดค้าปลีก}} ของสหรัฐฯ ก็ทรงตัวในเดือนเมษายนและไม่สูงเท่าที่คาดไว้ ด้านการผลิตในภาคอุตสาหกรรมก็แสดงถึงการลดลงอย่างไม่คาดคิด
“มุมมองของเราในระยะสั้นนั้นยังคงเห็นว่าเงินดอลลาร์สหรัฐอาจมีการแข็งขึ้นต่อไปในขณะที่ตลาดกำลังรอข้อมูลสำคัญครั้งต่อไป ซึ่งคือข้อมูล Core PCE ประจำเดือนเมษายนในวันที่ 31 พฤษภาคม” นักวิเคราะห์จาก ING กล่าวในบันทึก
ยูโรอ่อนค่าก่อนรายงาน CPI
ในยุโรป คู่เงิน EUR/USD ขยับลง 0.1% เป็น 1.0860 หลังจากที่เคยขึ้นไปสูงถึง 1.0895 จากการประกาศเงินเฟ้อของสหรัฐฯ แต่สกุลเงินยูโรก็ยังทำกำไรประมาณ 0.9% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในสัปดาห์นี้
กำหนดการณ์การประกาศรายงานข้อมูล CPI ครั้งสุดท้ายของยูโรโซนนั้นคือเย็นวันนี้ และเงินเฟ้อคาดว่าเพิ่มขึ้นถึง 2.4% เมื่อเทียบแบบรายปีในเดือนเมษายน
ธนาคารกลางยุโรป คาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน แต่เทรดเดอร์ยังคงไม่แน่ใจว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มอีกกี่ครั้งในปีนี้
เทรดเดอร์คาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ 70 จุดโดย ECB ในปีนี้ ซึ่งมากกว่าตัวเลข 50 จุดของเฟดเล็กน้อย
GBP/USD ขยับลง 0.1% เป็น 1.2658 แต่ยังคงอยู่ในระดับที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1% ในสัปดาห์นี้
ธนาคารกลางอังกฤษก็คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากระดับสูงสุดในรอบ 16 ปีในฤดูร้อนนี้ แต่อาจถูกจำกัดด้วยความผันผวน ก่อนการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรในสัปดาห์หน้า
เยนอ่อนค่าหลังข้อมูล GDP อ่อนแอ
ในเอเชีย USD/JPY เพิ่มขึ้น 0.3% เป็น 155.87 ใกล้จะแตะระดับ 156 หลังจากข้อมูล GDP ของญี่ปุ่นในไตรมาสแรกอ่อนแอกว่าที่คาดไว้
USD/CNY ขยับขึ้น 0.1% มาเป็น 7.2209 กลับสู่ระดับสูงสุดในรอบหกเดือนเหนือ 7.22 หลังจากข้อมูลในวันนี้แสดงให้เห็นว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรม เติบโตมากกว่าที่คาดไว้ในเดือนเมษายน แต่การเติบโตของ ดัชนียอดค้าปลีก กลับชะลอตัวลงอย่างมาก ขณะที่การลดลงอย่างรวดเร็วของราคาบ้านในจีนเมื่อเดือนที่แล้วก็สร้างแรงกดดันเช่นกัน