InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 36.73 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.51/56 บาท/ดอลลาร์ "เงินบาทเช้านี้ 36.73 บาท/ดอลลาร์ ถือเป็นระดับอ่อนค่าสุดตั้งแต่ในรอบ 10 เดือนครึ่ง" นักบริหารเงิน ระบุ เงินบาทอ่อนค่าตามสกุลเงินในภูมิภาค เมื่อคืนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ขึ้นต่อเนื่อง จากปัจจัยที่ตลาดกังวล Government Shutdown สหรัฐฯ และยังกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะคงดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลานาน ประกอบกับราคา น้ำมันพุ่งสูงขึ้น ตลาดจึงกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ซึ่งอาจทำให้เฟดต้องคงดอกเบี้ยสูงเป็นเวลานานต่อ ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าเทียบทุกสกุลเงิน สำหรับปัจจัยระหว่างวัน ให้ระวัง Flow ทองคำ ซึ่งเมื่อคืนนี้ทองหลุด 1,900 ดอลลาร์ จึงอาจมี Flow นำเข้าทองคำ หรือ ซื้อดอลลาร์ขายบาทได้ นอกจากนี้ ให้ติดตาม Fund flow ต่างชาติด้วย นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.50 - 36.85 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.78750 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 149.47 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 148.98/149.40 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0510 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0527/0591 เยน/ดอลลาร์ - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 36.509 บาท/ดอลลาร์ - ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจและธุรกิจของเอสเอ็มอี เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เทียบกับไตรมาสก่อนจาก 65.90 มาอยู่ที่ 66.40 เนื่องจากผู้ประกอบการมีการปรับตัวทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น รวมถึงมีความคาดหวังต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลหลังเลือกตั้ง - "พาณิชย์" ถกภาคเอกชน หาแนวทางเพิ่มตลาดส่งออก เร่งเจรจาเอฟทีเอ ส.อ.ท.หวังเพิ่มแต้มต่อให้ผู้ส่งออก "หอการ ค้า" แนะเร่งเจรจา รอช่วงเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว "ภูมิธรรม" เร่งลดค่าครองชีพ เปิดรายชื่อสินค้าลดราคา 2 ต.ค.นี้ ครอบคลุมสินค้า อุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า และการซื้อขายผ่านค้าออนไลน์ - นักเศรษฐศาสตร์ กังวลดอกเบี้ยที่ขึ้นต่อเนื่องซ้ำเติมภาคครัวเรือนและเอสเอ็มอี แนะไม่ควรเหยียบเบรกแรงเกินไป - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (27 ก.ย.) หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 15 ปี นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังได้แรงหนุนจากแนวโน้มที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานเพื่อสกัดเงินเฟ้อ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 6 เดือนในวันพุธ (27 ก.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของ ดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดันตลาด นอกจากนี้ การที่สัญญาทองคำดิ่งหลุดจากแนวรับที่ระดับ 1,900 ดอลลาร์ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแรงขาย ทางเทคนิค - ตลาดการเงินเกาะติดการแสดงความเห็นของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมทาวน์ฮอลล์ ซึ่งจะจัดขึ้น ในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐวันนี้ ได้แก่ ตัวเลขผลิตภัณฑ์ มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 2/2566 - นักลงทุนจับตาสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์ นี้ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบ คลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) - ตลาดการเงินยังคงติดตามความคืบหน้าของสภาคองเกรสในการผ่านร่างงบประมาณชั่วคราว ซึ่งหากไม่สามารถบรรลุข้อ ตกลงภายในวันที่ 30 ก.ย. ก็จะทำให้มีการปิดหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ หรือชัตดาวน์ในวันที่ 1 ต.ค.