🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.59 แนวโน้มผันผวน คาดกรอบ 35.50-35.70 ตลาดจับตาเงินเฟ้อสรัฐ

เผยแพร่ 13/09/2566 16:31
© Reuters ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.59 แนวโน้มผันผวน คาดกรอบ 35.50-35.70 ตลาดจับตาเงินเฟ้อสรัฐ
USD/THB
-

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.59 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากปิดตลาดวานนี้ที่ระดับ 35.65 บาท/ดอลลาร์ สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาทวันนี้ มองว่าเงินบาทมีโอกาสผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้างช่วงระหว่างวัน หากนักลงทุนต่างชาติยัง คงเดินหน้าขายสินทรัพย์ไทย แต่ทั้งนี้ เงินบาทอาจไม่ได้อ่อนค่าไปมาก เนื่องจากแรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติที่เริ่มชะลอลง ซึ่งเป็นไปได้ว่านักลงทุนต่างชาติต่างรอลุ้นการรายงานอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของ สหรัฐฯ ในคืนนี้เช่นกัน "วันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ โดยบรรดานักวิเคราะห์มองว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) อาจเร่งขึ้น +3.6% (y/y) ตามการปรับขึ้นของราคาพลังงานเป็นสำคัญ" นายพูน ระบุ ส่วนในฝั่งไทย ประเมินว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) เดือนสิงหาคม อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หลังการจัดตั้งรัฐบาลผสมได้เสร็จสิ้นลง ช่วยลดความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศและสร้าง ความหวังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ อย่างไรก็ดี ปัจจัยกดดันยังคงเป็นเรื่องอัตราดอกเบี้ย และค่า ครองชีพที่อยู่ในระดับสูง นายพูน ประเมินกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 35.50-35.70 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.67250 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.33/35 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 146.79/82 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0753/0757 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0723/0727 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.571 บาท/ดอลลาร์ - รัฐบาล "เศรษฐา" เครื่องร้อนประชุม ครม.นัดแรก เตรียมทุบกระปุกแบงก์ออมสินมาแจกเงินดิจิทัล วอลเล็ต พักหนี้เงิน ต้นและดอกเบี้ยให้เกษตรกร ลดค่าไฟฟ้า ลดราคาน้ำมัน และยกเว้นวีซ่านักท่องเที่ยวจีน รวมทั้งสำนักงบประมาณจะชง ครม.นัดแรกเห็น ชอบปฏิทินจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2567 ด้วยเช่นกัน - ส.อ.ท. เตรียมจัดทำข้อเสนอเพื่อยื่นให้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ถึงแนวทางและการปฏิบัติการ แก้ไขเศรษฐกิจ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยลงลึกรายละเอียด แต่ละด้าน, การดูแล 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของ ส.อ.ท. รวมทั้งด้านราคาพลังงาน คาดว่า จะจัดทำเสร็จในปลายเดือน ก.ย. หรือต้นเดือนต.ค.นี้ - "ต่างชาติ" ทิ้งบอนด์ไทยระยะสั้น 1.16 แสนล้าน เหลือยอดคงค้างเพียง 6.4 หมื่นล้าน จากปีก่อนที่ 1.8 แสน ล้าน "ไทยบีเอ็มเอ" คาดแนวโน้มไหลออก เหตุดอกเบี้ย สหรัฐสูงกว่าไทยถึง 3% ส่งผลปล่อยครบกำหนด แล้วดึงเงินกลับ ส่วนเม็ดเงินลง ทุนใหม่ชะลอ ดูนโยบายรัฐบาลใหม่มีแผนการออกบอนด์บลจ.เอ็กซ์สปริงแนะลงทุนบอนด์ต่างประเทศจากยีลด์เด่น - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (12 ก. ย.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันอังคาร (12 ก.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ ซึ่งจะลดความ น่าดึงดูดของทองคำ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐในวันนี้ (13 ก.ย.) และดัชนีราคาผู้ ผลิต (PPI) เดือนส.ค.ในวันพรุ่งนี้ (14 ก.ย.) โดยการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อดังกล่าวมีขึ้นก่อนที่เฟดจะประชุมนโยบายการเงินในวัน ที่ 19-20 ก.ย. - นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในเดือนส.ค.ของสหรัฐ จะเพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบราย ปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.2% ในเดือนก.ค. และคาดว่าดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 4.3% ใน เดือนส.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 4.7% ในเดือนก.ค. - ข้อมูลล่าสุดจาก FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 93% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 19-20 ก.ย. แต่ให้น้ำหนักเพียง 56% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพ.ย.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย