💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.46 ปัจจัยต่างประเทศกดดันบาทอ่อนค่า

เผยแพร่ 06/09/2566 00:33
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.46 ปัจจัยต่างประเทศกดดันบาทอ่อนค่า
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.46 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.36 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.26-35.47 บาท/ดอลลาร์ โดยเป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่า สอดคล้อง กับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค เนื่องจากวันนี้ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือนส.ค. ของทั้งฝั่งจีนและยุโรปออกมาไม่ดี จึงทำให้ดอลลาร์ สหรัฐปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร และเงินหยวน ส่วนการรายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนส.ค.ของไทย ที่แม้จะออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ แต่ก็ยังมีผลจำกัดต่อค่าเงินบาท "วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวตามทิศทางภูมิภาคที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ แม้เงินเฟ้อของไทย จะออกมาสูงกว่าที่ตลาด คาด แต่ก็มีผลจำกัดกับค่าเงินบาท การเคลื่อนไหวของเงินบาทเป็นไปตามปัจจัยจากภายนอกเป็นหลักมากกว่า" นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.25 - 35.50 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยนอยู่ที่ระดับ 147.17 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 146.57 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0748 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0790 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,547.86 จุด ลดลง 0.82 จุด, -0.05% - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,462.93 ลบ.(SET+MAI) - สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในเดือน ส. ค.66 อยู่ที่ 108.41 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เพิ่มขึ้น 0.88% ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานในตลาดโลก ที่ส่งผลให้ ราคาน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และก๊าซหุงต้มในประเทศปรับตัวสูงขึ้น - นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลจะแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันที่ 11 ก.ย.นี้ โดยยืนยันว่า รัฐบาลชุดนี้เป็นของประชาชน และจะสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระ ประมุข ด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ภายใต้หลักการการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยจะสร้างโอกาสความ เท่าเทียมให้กับประชาชน เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน - ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ในเดือนส.ค.66 ทรงตัวที่ 36.2 จากเดือนก.ค.66 หลัง ปรับขึ้นเล็กน้อยที่ 36.0 ขณะที่ดัชนีฯ 3 เดือนข้างหน้ายังคงทรงตัวเป็นเดือนที่ 4 ต่อเนื่องที่ 38.9 จาก 38.8 ในเดือนก.ค.66 ท่าม กลางความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจไทยยังคงมีอยู่ - โกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า ขณะนี้มีโอกาสเพียง 15% ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย ซึ่งลดลงจากโอกาส 20% ที่มีการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ เนื่องจากเงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลง และตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งบ่งชี้ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนส.ค.ของอังกฤษ ลดลงสู่ระดับ 49.5 จากระดับ 51.5 ใน เดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมทางธุรกิจในภาคบริการของอังกฤษลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ เดือนม.ค.ในเดือนส.ค. หลังอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นลดอุปสงค์ผู้บริโภคและผู้ประกอบการ แม้จะลดลงน้อยกว่าตัวเลขขั้นต้นก็ตาม - นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งปัจจุบันใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกนั้น จะลดลงสู่ระดับ 3.5% ในปี 2573 และคาดว่าลดลงใกล้แตะระดับ 1% ในปี 2593 และเห็นว่าจีนอาจไม่สามารถแซงหน้าสหรัฐขึ้นเป็นประเทศที่มีระบบ เศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 1 ของโลกได้ เนื่องจากวิกฤตการณ์ในภาคอสังหาริมทรัพย์ และความเชื่อมั่นที่ถดถอยยังคงส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจ - ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 4.10% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งเป็นการคงอัตรา ดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งสุดท้าย ภายใต้การนำของนายฟิลิป โลว์ ผู้ว่าการ RBA ขณะที่คณะ กรรมการ RBA ย้ำว่าการเดินหน้าคุมเข้มนโยบายการเงินยังคงเป็นแนวทางที่จำเป็นในการควบคุมเงินเฟ้อ

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย