InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า เงินบาท เช้านี้ เปิดตลาดที่ระดับ 35.03 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปิดตลาดวันก่อนที่ระดับ 35.00 บาท/ดอลลาร์ โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่าลงเล็กน้อย ในลักษณะ sideway up กดดันโดย flow ธุรกรรมซื้อ ทองคำในจังหวะย่อตัว รวมถึงการปรับตัวแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ ที่ได้แรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงตลาดปิดรับ ความเสี่ยง (Risk-Off) ในระยะสั้น เงินบาทอาจยังคงเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าอยู่ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดเผชิญทั้งภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาด การเงินโดยรวม ที่หนุนให้เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้น รวมถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองไทย ที่ยังคงกดดันให้นักลงทุนต่าง ชาติทยอยขายสินทรัพย์ไทย นอกจากนี้ การย่อตัวลงของราคาทองคำก็ยังเป็นปัจจัยที่กดดันเงินบาทได้เช่นกัน "ยังต้องจับตาสถานการณ์การเมืองต่อ เพื่อประเมินแนวโน้มการจัดตั้งรัฐบาลผสมว่าจะมีทิศทางเป็นอย่างไร โดยตลาดการ เงินไทยอาจกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นได้ หากการจัดตั้งรัฐบาลผสมมีความชัดเจนมากขึ้น" นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.95-35.20 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.94500 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 143.28 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 143.09/12 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0970 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0968/0970 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.954 บาท/ดอลลาร์ - จับตาการแถลงข่าวจัดตั้งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยเพิ่มเติม ร่วมกับอีก 5 พรรค ประกอบด้วย พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทย พรรคเพื่อไทรวมพลัง พรรคพลังสังคมใหม่ และพรรคท้องที่ไทย หลังจากประกาศจับมือกับพรรคภูมิใจไทย ไปแล้ว เมื่อต้นสัปดาห์ - นายกสมาคมค้าทองคำ ชี้กำลังซื้อเงียบ เจอ 2 ปัจจัยหนักอก กดดันการทำธุรกิจ 'ตั้งรัฐบาลล่าช้า-ปล่อยเงินบาทอ่อน ค่า' ห่วงลากยาวกระทบรายได้ ช่างทองทักษะสูงเริ่มไม่มีงานทำ กำลังซื้อฝืด กดราคาทองแผ่วหลุด 3 หมื่นบาท - สศช.เร่งดันงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 3.4 แสนล้าน ลงระบบเศรษฐกิจไตรมาส 4 เตรียมชงบอร์ดอนุมัติเพื่อดันการลงทุน หวัง พยุงเศรษฐกิจช่วงสุญญากาศการเมือง ครม.ปลดล็อกทางตันตั้งปลัด 2 กระทรวง "คลัง-พลังงาน" ให้ รมว.เสนอตั้งได้ แล้วให้ปลัดใหม่ ตั้งอธิบดีได้ในกรณียังไม่ได้รัฐบาลใหม่ถึง ต.ค. - สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ บริโภค ปรับตัวลง 0.3% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.พ.64 และเป็นการส่งสัญญาณ ว่าจีนมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะเงินฝืด และมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าภาคสินค้าและบริการของสหรัฐลดลง 4.1% สู่ระดับ 6.55 หมื่น ล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. แต่สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.50 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังขาดดุลการค้า 6.83 หมื่นล้านดอลลาร์ ในเดือนพ.ค. - มูดี้ส์ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็กของสหรัฐจำนวน 10 แห่ง ขณะที่พิจารณา ทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารขนาดใหญ่ โดยจำนวน 6 แห่งมีแนวโน้มถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ - กรรมการผู้จัดการฝ่ายสถาบันการเงินของมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส กล่าวว่า ภาคธนาคารสหรัฐยังคงมีความแข็ง แกร่ง แม้มูดี้ส์ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารสหรัฐเมื่อวานนี้ - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (8 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัย หลังจากมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของ ธนาคารหลายแห่งในสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในวันพฤหัสบดีนี้ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันอังคาร (8 ส.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์ยังคงเป็น ปัจจัยกดดันตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในวันพฤหัสบดีนี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด) - ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 4.1% ในไตรมาส 3/2566 หลังจากมีการขยายตัว 2.0% และ 2.4% ในไตรมาส 1 และ 2 ตามลำดับ - ประธานเฟด สาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวว่า เฟดอาจอยู่ในจุดที่สามารถยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวัฏจักรปัจจุบันแล้ว หลังมีความคืบหน้าในการต่อสู้กับเงินเฟ้อ และมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ - นักลงทุนจับตาสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในวันพรุ่งนี้ (10 ส.ค.) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะปรับตัวขึ้น 3.3% ในเดือนก.ค. เมื่อ เทียบรายปี หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 3.0% ในเดือนมิ.ย. และคาดว่าดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 4.7% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 4.8% ในเดือนมิ.ย. - ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนส.ค.