3 เรื่องที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้ ( 1 ก.ย.)

เผยแพร่ 01/09/2563 15:41
อัพเดท 01/09/2563 15:58
© Reuters.
SETI
-
MAJOR
-
DOHOME
-

โดย Detchana.K

Investing.com - ภาพรวมการลงทุนตลาดหุ้นไทยในเดือนกันยายนนี้ นักวิเคราะห์เห็นโอกาสฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง เห็นได้จากการบริโภคภาคเอกชน ที่ติดลบเพียง -0.1% ดีขึ้นจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตามยังต้องฝากความหวังไว้ที่การทดลองวัคซีนต้านโควิด-19 ซึ่งประเทศใหญ่ๆเริ่มทำการทดลองแล้ว หากผลออกมาเป็นบวกจะส่งผลเชิงบวกต่อตลาดหุ้นอย่างมาก ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนควรรู้สำหรับวันนี้

1.กันยายน เดือนแห่งความคาดหวังจากผลการทดลองการวัคซีนโควิด -19

บล. AsiaSecurities เผยถึงกลยุทธ์การลงทุนประจำเดือน กันยายนว่าเป็นเดือนแห่งความคาดหวังเนื่องจากรอผลการทดลองการใช้วัคซีนโควิด -19 ในประเทศใหญ่ ทั้งสหรัฐ รัสเซีย และจีน ซึ่งคาดหวังว่าจะออกมาในทางที่เป็นบวกต่อการลงทุนรวมถึงปัจจุบัน อัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่ก็เริ่มลดลง

ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีที่มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ และภาคส่งออกที่ได้รับแรงกดดัน จากค่าเงินบาทที่แข็งค่านอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่จะสร้างความผันผวนในตลาดเป็นระลอกๆ อย่างปัจจัยทางการเมือง และสงครามการค้าสหรัฐกับจีน เน้น Selective Buy เป็นรายหลักทรัพย์ไป โดยเฉพาะหุ้น Growth Stock ขนาดกลาง-เล็ก ที่มี momentum ของ earning ที่ดีใน 2H63 โดย Top pick ของเราในเดือน ก.ย. 63 ประกอบไปด้วย JMT TFG Dohome PCL (BK:DOHOME)  (BK:MAJOR) และ NER

ภาพรวมการลงทุนในเดือนกันยายน 2563 มองว่ามีโอกาสฟื้นตัวหลังมีปัจจัยกดดันในเรื่องของผลประกอบการที่ทำให้ตลาดมีการปรับ EPS ลงกัน โดยภาพรวมผลประกอบการ 2Q63 มี EPS ของ SET เท่ากับ 51.61 บาท เทียบกับ 1Q63 ที่เท่ากับ 119.7 และเทียบกับ 2Q62 ที่ระดับ 98.82 บาท สะท้อนให้เห็นผลกระทบของการแพรร่ะบาดไวรัสโควิด-19 อย่างชัดเจน นำโดยกลุ่มธนาคารและค้าปลีก ที่หดตัวลงหนัก แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มอสังหาฯและอาหารยังมีผลประกอบการที่แข็งแกร่งอยู่  ด้านความคืบหน้าของการคิดวัคซีนป้องกันและรักษาโควิด-19 ที่ถือว่าเป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญต่อบรรยากาศการลงทุนในขณะนี้

เดือนนี้ต้องให้ความหวังไว้ที่การพัฒนาวัคซีนโควิด โดยมีหลายบริษัทที่กำลังคืบหน้า เริ่มจากรัสเซียที่เตรียมทดลองวัคซีนในเฟส 3 แล้ว ด้านสหรัฐก็ใช้ Convalescent Plasma ที่เป็นโปรตีนภูมิคุ้มกันรักษาผู้ติดเชื้อส่วนในจีนได้ใช้วัคซีนโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงทดลองเฟสที่ 3 ซึ่งทางฝ่ายวิเคราะห์คาดผลทดลองจะถูกเผยแพร่เดือนนี้ หากผลออกมาเป็นไปในทางบวกจะทำให้เกิด Sentiment เชิงบวกต่อการลงทุน

2. เศรษฐกิจไทยเดือน ก.ค. ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจประจำเดือน ก.ค.2563 ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยกิจกรรมต่างๆมีทิศทางฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ ทั้ง การบริโภคภาคเอกชน การส่งออก และการลงทุนภาครัฐ แต่การลงทุนภาคเอกชนยังคงเปราะบางรวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่ยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากรายได้ต่างชาติที่หายไป ถึงแม้จะมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากภาครัฐ และการคลาย Lockdown ส่งผลให้การท่องเที่ยวในประเทศที่เริ่มกลับมาคึกคัก แต่ยังไม่สามารถชดเชยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงไป เรามองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยใน 3Q63 มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากปัจจัยหนุนด้วย 1) ผ่อนคลายการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. 2) การเบิกจ่ายงบประมาณและมาตรการต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของภาครัฐ 3) เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง บนสมมติฐานสำคัญ คือ

1) การบริโภคภาคเอกชน -0.1% YoY ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าสอดคล้องกับ การจ้างงาน รายได้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ประชาชนออกมาเดินทางท่องเที่ยวและใช้จ่ายมากขึ้น หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวจากภาครัฐ สะท้อนจากการใช้จ่ายทุกหมวดที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้ง 1) สินค้าคงทน ติดลบ 15.7% YoY ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อหน้นา ตามยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์เชิงพาณิชย์ และยอดจดทะเบียนรถยนต์ปรับตัวดีขึ้น 2) สินค้ากึ่งคงทน -5.7% YoY จากยอดขายปลีกสินค้ากึ่งคงทน และ การนำเข้าเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มส่วนหนึ่งมากจากฐานที่สูงในปีก่อนหน้า 3) สินค้าไม่คงทนปรับตัวลง 1.3 % YoY ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่กลับมาขยายตัวเป็นสำคัญ เนื่องจากประชาชนมีการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น

2) มูลค่าการส่งออก ติดลบ 11.9% YoY และหากหักการส่งออกทองคำ -14.3 % YoY ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยเป็นการปรับดีขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้า สอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้นตามการทยอยเปิดเมืองของประเทศคู่ค้าจาก 1) หมวดยานยนต์และชิ้นส่วน-26.3% YoY ติดลบน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ 2) เครื่องจักรและอุปกรณ์ -15.10 % YoY จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 3) สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ -2.5% YoY จากการขยายตัวของการส่งออกโทรศัพท์ไปยังสหรัฐฯ 3) เครื่องใช้ไฟฟ้าพลักกลับมาขยายตัว 2.2 % YoY ครั้งแรกในรอบ 3 เดือน เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายมีการขยายกำลังการผลิต

3) การใช้จ่ายภาครัฐยังคงโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 จากรายจ่ายลงทุนที่ขยายตัวตามการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2563 สำหรับรัฐบาลกลางหน่วยงานที่เร่งเบิกจ่าย คือ หน่วยงานด้านคมนาคม ส่วนรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานที่เร่งเบิกจ่ายคือ ด้านพลังงานและคมนาคม อย่างไรก็ดีรายจ่ายประจำหดตัวเล็กน้อยตามการเบิกจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่งเบิกจ่ายไปแล้วในช่วงก่อนหน้า

3.MAJOR CINEPLEX เริ่มฟื้น...ปี 64 กลับมาเฉิดฉาย

บล.หยวนต้าคาด 2H63 เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์  (BK:MAJOR) เริ่มฟื้นตัวจากภาพยนต์ฟอรม์ใหญ่ที่เข้าฉายมากขึ้น ใน 2H63 คาดว่าผลประกอบการจะเริ่มพลิกฟื้น หลังจากรัฐบาลคลาย lockdown ทำให้คนเริ่มกลับมาดู ภาพยนตร์อีกครั้ง กอปรกับภาพยนต์เริ่มเข้าฉายมากขึ้น ทั้งภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ อาทิ Tenet ที่เข้าฉายวันที่27 ส.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งทำรายได้ 4วันแรก 18 ล้านบาท คาดการรายได้จะอยู่ที่ราว 50-60 ล้านบาท , Mulan จะเข้าฉายวันที่ 4 ก.ย. และที่รอเข้าฉายหลายเรื่อง ได้แก่ The King's Man, Wonder Woman 1984 , Black window ภาพยนตร์ไทย ได้แก่ อีเรียมซิ่ง , My Rhythm และภาพยนตร์ของ GDH เป็นต้น

อย่างไรก็ตามด้วยมาตรการเว้นระยะห่าง 2 ที่นั่ง เว้น 1 ที่นั่ง ทำให้คาดรายได้จะอยู่ที่ราว 60-70% ของที่ควรจะเป็น ขณะที่รายได้โฆษณาผ่านโรงภาพยนต์จากการสอบถามไปยังบริษัท พบว่ายัง ไม่กลับมาเต็มที่ เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้ผู้ประกอบการจัดสรรงบน้อยลงจากเดิม อย่างไรก็ตาม ด้านประสิทธิภาพในการทำกำไรดีขึ้น QoQ จากรายได้ภาพยนต์ที่ฟื้นตัว และบริษัทมีการควบคุมต้นทุนที่ เข้มงวดในไตรมาสก่อน ซึ่งจะส่งผลดีต่อในไตรมาสนี้ โดยคาดว่า 3Q63 บริษัทจะขาดทุนลดลงจากไตรมาสก่อน และจะเริ่มกลับมามีกำไรอีกครั้งใน 4Q63 ภาพรวมปี 2563 เราคาดว่าบริษัทมีรายได้ลดลง 68%YoY เหลือ 3,376 ล้านบาท และมีผลขาดทุน 678 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นปีที่แย่สุดในการดำเนินธุรกิจ

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย