โดย Gina Lee
Investing.com – ราคาโรงงานและผู้บริโภคของจีนเพิ่มขึ้นสูงเร็วกว่าที่คาดในเดือนเมษายน ผลจากการล็อกดาวน์ทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก
ข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อต้นวันแสดงให้เห็นว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนเมษายน 2022 เพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และ 2.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี เทียบกับ 0.6% และ 1.6% ที่บันทึกไว้ในเดือนมีนาคม การคาดการณ์ที่จัดทำโดย Investing.com คาดว่าจะเติบโต 0.2% ต่อเดือน และเติบโต 1.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี
ดัชนีราคาผู้ผลิต ก็เพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่ Investing.com คาดว่าจะเติบโต 7.7% และเติบโต 8.3% ในเดือนมีนาคม
ตง ลี่จวน นักสถิติอาวุโสของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุในถ้อยแถลงที่มาพร้อมกับข้อมูลว่า การระบาดของโควิด19 และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกที่สูงขึ้นส่งผลให้เงินเฟ้อของผู้บริโภคพุ่งสูงขึ้น
“การซื้อและกักตุนสินค้าอย่างตื่นตระหนกในหมู่ผู้บริโภคอาจส่งผลต่อความต้องการเช่นกัน” จาง จือเว่ย ผู้บริหารสินทรัพย์ระบุและหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์กล่าวกับบลูมเบิร์ก
“เมื่อปัญหาห่วงโซ่อุปทานค่อย ๆ ได้รับการแก้ไข แรงกดดันด้านเงินเฟ้ออาจหายไป” จางกล่าวเสริม
กลยุทธ์ปลอดโควิดในจีนทำให้หลายเมืองต้องถูกล็อกดาวน์ ซึ่งรวมถึงเซี่ยงไฮ้ ศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในจีน เมืองหลวงปักกิ่งและศูนย์กลางอีคอมเมิร์ซหางโจวยังได้ออกข้อจำกัดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส
การล็อกดาวน์เมืองเซี่ยงไฮ้ได้เพิ่มแรงกดดันต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกและความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ เนื่องจากปริมาณการขนส่งสินค้าในเซี่ยงไฮ้ที่ลดลงในเดือนเมษายนและต้นเดือนพฤษภาคมส่งผลให้เกิดงานที่ค้างอยู่ท่าเรือ นักวิเคราะห์จาก Fitch Ratings เขียนไว้ในหมายเหตุ
“เพราะเซี่ยงไฮ้มีปริมาณท่าเรือราวหนึ่งในห้าของจีน และจีนคิดเป็น 15% ของการส่งออกสินค้าทั่วโลก การขาดแคลนสินค้าที่ผลิตได้อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น บวกกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่มีอยู่ทั่วโลก” บันทึกย่อกล่าวเสริม
“มีแนวโน้มที่การเติบโตของจีนที่ชะลอตัวลงจะเป็นเรื่องที่คานนน้ำหนักต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่ ณ ตอนนี้ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์นั้นอ่อนตัวลงเช่นกัน”
Bruce Pang หัวหน้าฝ่ายวิจัยด้านมาโครและกลยุทธ์ของ China Renaissance Securities Hong Kong Ltd. บอกกับบลูมเบิร์กว่า ตราบใดที่รัฐบาลสามารถควบคุมไวรัสและบรรเทาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานได้ ราคาผู้บริโภคที่สูงขึ้นก็จะ “ไม่เป็นพิษเป็นภัย” สำหรับปีนี้
ช่องว่างสำหรับการดำเนินการตามนโยบายของธนาคารกลางจีน “ถูกจำกัดมากขึ้นจากการกระชับนโยบายของเศรษฐกิจหลักในต่างประเทศและความจำเป็นในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนหยวนให้คงที่” Pang กล่าวเสริม