โดย Barani Krishnan
Investing.com – ราคาน้ำมันดิบร่วงลง 5% ในวันจันทร์เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์แตะระดับสูงสุดในรอบ 20 ปีจากความกลัวว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะส่งผลกระทบต่อมูลค่าที่ไม่ใช่แค่สินค้าโภคภัณฑ์ที่มีราคาเป็นสกุลเงิน แต่ยังรวมถึงสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ เช่นหุ้นและสกุลเงินดิจิตอล
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับน้ำมันทั่วโลกที่ซื้อขายในลอนดอน ลดลง 6.10 ดอลลาร์หรือ 5.4% เป็น 106.29 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเวลา 13:08 น. ET (17:08 GMT)
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบWTI ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลง 6.30 ดอลลาร์หรือ 5.7% เป็น 103.47 ดอลลาร์
โดยร่วงลงหลังจากที่เพิ่มขึ้นเกือบ 6% ของสัปดาห์ที่แล้วทั้งน้ำมันดิบเบรนท์และ WTI หลังจากที่พันธมิตรผู้ส่งออกน้ำมันของ OPEC+ ตกลงกันในการประชุมรายเดือนเพื่อปรับขึ้นการผลิตที่ 432,000 บาร์เรลต่อวันซึ่งต่ำกว่าความต้องการน้ำมันในช่วงฤดูร้อนที่คาดการณ์ไว้
ราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำเกิดขึ้นในขณะที่เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางของเฟดขึ้นอภิปรายว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐครั้งต่อไปควรอยู่ที่ 75 จุดพื้นฐานหรือไม่ โดยบางคนกล่าวว่ามันอาจจะมากเกินไปในขณะที่บางคนแย้งว่าอาจจำเป็นเพราะต้องหยุดเงินเฟ้อที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ครั้งสุดท้ายที่เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 จุดพื้นฐานคือในปี 1994
เทรดเดอร์ในตลาดเงินได้กำหนดราคาไว้แล้วในความน่าจะเป็น 79% ของการปรับขึ้น 75 จุดพื้นฐานในการประชุมเฟดในวันที่ 14-15 มิถุนายนที่จะถึงนี้ หลังจากการปรับขึ้น 50 จุดพื้นฐานในสัปดาห์ที่แล้วของการประชุมเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปี
เฟดยืนยันว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกจะไม่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่ตลาดยังคงเคลือบแคลงในคำกล่าวนี้
“เฟดดูมีความขัดแย้งมากขึ้นเมื่อมีความกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ย และสิ่งนี้อาจสร้างความรู้สึกไม่สบายใจ เริ่มจากหุ้นไปจนถึงน้ำมัน” จอห์น คิลดัฟฟ์ หุ้นส่วนผู้ก่อตั้งกองทุนป้องกันความเสี่ยงด้านพลังงานของนิวยอร์ก Again Capital กล่าว
เอ็ด โมย่า นักวิเคราะห์จากแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ OANDA เห็นด้วยกับมุมมองดังกล่าว
“วอลล์สตรีทยังคงไม่ได้รับแรงบันดาลใจที่จะ 'ซื้อราคาย่อ' เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อดูเหมือนจะอยู่ในระดับสูงอย่างดื้อรั้น ซึ่งจะบังคับให้เฟดจำใจใช้นโยบายที่เข้มงวดจนถึงระดับที่จะเป็นอันตรายต่อการลงจอดอย่างนุ่มนวลที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่คาดหวังไว้” โมย่ากล่าว “ราคาน้ำมันดิ่งลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความกลัวการทำลายอุปสงค์น้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์โควิดของจีนและเหตุการณ์ลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับหุ้นสหรัฐฯ”
นอกจากสินค้าโภคภัณฑ์แล้ว หุ้นในวอลล์สตรีทก็ร่วงลงจากความกลัวต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ดัชนี Nasdaq โคมโพสิต ซึ่งเป็นกลุ่มของเทคโนโลยีชั้นนำ เช่น Facebook (NASDAQ:FB), Amazon ( NASDAQ:AMZN), Apple (NASDAQ:AAPL), Netflix (NASDAQ:NFLX) และ Google (NASDAQ:GOOGL) แตะระดับต่ำสุดของเซสชั่นที่ 11,714 ในวันจันทร์ซึ่งตรงกับจุดต่ำสุดสองปีครึ่ง Nasdaq ลดลงแล้ว 5% ในเดือนพฤษภาคม เพิ่มพื้นที่การร่วงลงในกราฟ 13% ในเดือนเมษายน จนถึงปัจจุบัน บารอมิเตอร์เทคโนโลยีสูญเสียไป 25%
ราคา บิทคอยน์ ดิ่งลงเกือบ 50% จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยอยู่ที่ 32,360 ดอลลาร์ในการซื้อขายช่วงกลางวันของนิวยอร์ก เทียบกับระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนพฤศจิกายนที่ 68,991 ดอลลาร์
ดอลลาร์ซึ่งเป็นผู้รับผลประโยชน์หลักในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 20 ปี โดยที่ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเทียบดอลลาร์กับสกุลเงินหลักอื่น ๆ อีก 6 สกุล ซึ่งอยู่ที่ 104.12 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2002
หลังจากหดตัว 3.5% ในปี 2020 จากการหยุดชะงักของการระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัส เศรษฐกิจสหรัฐฯขยายตัว 5.7% ในปี 2021 ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982
แต่อัตราเงินเฟ้อกลับขยายตัวเร็วขึ้น ดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5.8% ในเดือนธ.ค. และ 6.6% ในช่วง 12 เดือนถึงมีนาคม ค่าที่อ่านได้ทั้งสองบ่งชี้การเติบโตที่รวดเร็วที่สุด นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา
ดัชนีราคาผู้บริโภค สหรัฐอเมริกา หรือ CPI อีกหนึ่งมาตรการสำคัญสำหรับเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น 8.5% ในปีถึงมีนาคม การอ่านค่า CPI ในเดือนเมษายนจะมีขึ้นในวันพุธ โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการเติบโต 8.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี แม้ว่าตัวเลขจริงอาจทำให้ประหลาดใจ
โดยเพดานของเฟดสำหรับอัตราเงินเฟ้อนั้นอยู่ที่เพียง 2% ต่อปี