โดย Barani Krishnan
Investing.com - ทองคำที่เคยยืนอยู่เหนือราคา $1,800 ยังไม่มั่นคงเท่าไหร่นัก
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ทองคำปิดที่ 1,800 ดอลลาร์ในวันพุธซึ่งแทบจะไม่ถึง 24 ชั่วโมงหลังจากนั้นก็ไม่สามารถยืนระยะได้
เอ็ดเวิร์ด โมย่า หัวหน้าฝ่ายวิจัยประจำทวีปอเมริกาของ OANDA กล่าวว่า "เพื่อหลีกเลี่ยงการเทขายทองคำ ราคาทองคำนั้นจำเป็นต้องยืนเหนือระดับ 1,800 ดอลลาร์ให้ได้ ก่อนอื่นทองคำจะต้องเห็นตัวเลขพันธบัตรรัฐบาลที่ออกมาต่ำลงอย่างชัดเจนก่อน นักลงทุนถึงจะกลับมาวางใจ”
ทองคำเคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำสำหรับนักลงทุนทั่วโลก แต่ในอีกสองสามไตรมาสข้างหน้า ทองคำอาจกลายสภาพเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นได้ค่อนข้างยุ่งยาก”ราคาทองคำ ในตลาด Comex ของนิวยอร์กปิดตัวลง $12.30 หรือ 0.7% ที่ $1,794.80 หลังจากขยับระหว่าง $1,808.45 ถึง $1,792.35
แรงกดดันที่เกิดขึ้นใหม่เกิดขึ้นกับทองคำหลังจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในสี่เซสชั่นติด โดยเพิ่มขึ้น 2.1% เป็น 1.33
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรพุ่งสูงขึ้นหลังจากการสำรวจของ Empire State ออกมาแข็งแกร่งโดยเผยว่าการเติบโตของการผลิตอาจไม่อ่อนแออย่างที่คาดการณ์ไว้ในตอนแรก แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะรายงานเมื่อวันพุธว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ขยายตัวช้าลง 0.4% ในเดือนสิงหาคม หลังจากที่ขยายตัว 0.8% ในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากการหยุดทำงานของโรงงานจากพายุเฮอริเคนไอดากดดันผลผลิตไว้
ทองคำอยู่ในจุดเปลี่ยนโดยธนาคารกลางเข้าสู่ช่วงจำศีลก่อนการประชุมนโยบายที่จะมีขึ้นในวันที่ 21-22 ก.ย.
คำถามว่าเมื่อใดที่ธนาคารกลางควรจะลดมาตรการกระตุ้นและเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ได้มีการถกเถียงกันอย่างถึงพริกถึงขิงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจขัดแย้งกับการฟื้นตัวของโควิด-19 สายพันธุ์เดลลต้า ประธานธนาคารกลาง เจอโรม พาวเวลล์ จะจัดแถลงข่าวในสัปดาห์หน้าหลังจากการประชุมนโยบายสองวันของเฟด
โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟดและโครงการเกี่ยวกับการเงินอื่น ๆ กลายเป็นแพะรับบาปสำหรับแรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มขึ้นรุนแรงในสหรัฐอเมริกา ธนาคารกลางได้ซื้อพันธบัตรและสินทรัพย์อื่น ๆ มูลค่า 120,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 ในเดือนมีนาคม 2020 เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับแทบเป็นศูนย์ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา
หลังจากที่ตลาดปรับตัวลง 3.5% ในปี 2020 จากการปิดตัวของธุรกิจอันเนื่องมาจากโควิด-19 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ โดยขยายตัว 6.5% ในไตรมาสที่สอง ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของธนาคารกลาง
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของธนาคารกลางคือเงินเฟ้อ ซึ่งแซงหน้าการเติบโตทางเศรษฐกิจ ข้อมูล ดัชนีราคาผู้บริโภค ขยายตัว 5.3% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนสิงหาคม
มาตรวัดที่ต้องการของเฟดสำหรับอัตราเงินเฟ้อ ยังจับตาที่ดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและภาคพลังงานที่ผันผวน โดยเพิ่มขึ้น 3.6% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนกรกฎาคม สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2534 ดัชนี PCE รวมถึงพลังงานและอาหารเพิ่มขึ้น 4.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี
เป้าหมายเงินเฟ้อของเฟดคือ 2% ต่อปี