YLG ชี้ทองคำผันผวนระยะสั้นหลังราคาดิ่งหนัก แต่ระยะยาวยังไปต่อ ให้เป้า 2,500 เหรียญ

เผยแพร่ 07/08/2567 17:13
YLG ชี้ทองคำผันผวนระยะสั้นหลังราคาดิ่งหนัก แต่ระยะยาวยังไปต่อ ให้เป้า 2,500 เหรียญ
GC
-

InfoQuest - นางสาวฐิภา นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG) ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดล่วงหน้า (ฟิวเจอร์ส) เปิดเผยว่า ราคาทองคำที่ปรับลดลงมา จนล่าสุดแกว่งตัวอยู่ที่โซน 2,400 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ นั้นเป็นไปตามภาพรวมทั่วโลกที่นักลงทุนกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐที่อาจเกิดขึ้น จากความกังวลต่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่แม้ว่าส่งสัญญาณการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแต่อาจจะลดดอกเบี้ยช้าเกินไปจนกระทบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะล่าสุดตัวเลขอัตราการว่างงานที่ดีดขึ้นสู่ระดับ 4.3% เป็นตัวกระตุ้นคาดการณ์การเกิด Recession ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสัญญาณอันตราย ดังนั้นนักลงทุนจึงปิดความเสี่ยงด้วยการเทขายสินทรัพย์ทุกประเภทออกมาเพื่อถือครองเงินสด

อย่างไรก็ดีในส่วนของตลาดทองคำนั้น ด้วยภาพดังกล่าว ในช่วงที่เกิดการ Panic ราคาทองคำก็มีการแกว่งตัวสร้างฐานในระยะสั้นเช่นกัน โดยนักลงทุนสามารถใช้จังหวะนี้หาโอกาสทำกำไรได้จากการลงทุนผ่านตลาดฟิวเจอร์ส ที่สามารถสร้างกำไรได้ทั้งภาวะตลาดขาขึ้นและขาลง

สำหรับในระยะสั้นวายแอลจีแนะนำเปิดสถานะขายเก็งกำไร หากไม่ผ่านแนวต้าน 2,432-2,450 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ และทยอยปิดทำกำไร หากราคาปรับตัวลงทดสอบแนวรับ 2,372-2,353 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์

ส่วนระยะยาวนั้น เมื่อตลาดหาย Panic นักลงทุนจะเริ่มกลับเข้าสู่การลงทุน เช่นเดียวกับช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่ในช่วงแรกทองคำถูกขายลงมา ก่อนจะพุ่งขึ้นต่อเนื่องในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ดังนั้นในระยะถัดไปนักลงทุนจึงมีโอกาสกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยก่อนเป็นอันดับแรก เช่น ทองคำ พันธบัตรรัฐบาล จึงมองว่าแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาทองคำระยะยาวจะยังเติบโตได้ต่อ

นอกจากนี้ ในอดีตเกือบทุกครั้งที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจราคาทองคำจะปรับตัวขึ้น และภายหลังผ่านพ้นวิกฤต ทองคำก็ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้ต่อ เช่น ในช่วงปี 2543 วิกฤต "Dot-Com" ตลาดหุ้น NASDAQ ปรับตัวลดลงอย่างมาก แต่ตลาดทองคำกลับเติบโตอย่างร้อนแรง โดยช่วงปี 2544 - 2549 ทองทำราคาเพิ่มขึ้น 6,000 - 7,000 บาทต่อบาททองคำ ไปแตะที่ระดับ 12,000 บาทต่อบาททองคำ และในช่วงปี 2551 ที่เกิดวิกฤตซับไพร์ม ทำให้ราคาทองคำเคลื่อนไหวจาก 15,000 บาทต่อบาททองคำ ไปที่ 27,000 บาท ในปี 2554 ขณะที่วิกฤตโควิด-19 ก็ได้เห็นราคาทองคำพุ่งไปแตะระดับ 32,000 บาทต่อบาททองคำ

อย่างไรก็ตามในปีนี้วายแอลจียังคงเป้าหมายราคาทองคำไว้ที่ 2,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ ส่วนทองคำทอง 96.5% ในประเทศ มองสามารถขึ้นทดสอบระดับ 42,150 บาทต่อบาททองคำได้อีกครั้ง หากค่าเงินบาทอ่อนค่าอยู่ในกรอบ 35.65-36.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย