Investing.com - ราคาน้ำมันปรับตัวลงเล็กน้อยในตลาดเอเชียวันนี้ หลังจากดีดตัวขึ้นอย่างมากในช่วงสามเซสชั่นที่ผ่านมา เนื่องจากการคาดการณ์ของธนาคารกลางสหรัฐฯ และการเก็งกำไรต่อการลดกำลังการผลิตโดยซัพพลายเออร์รายใหญ่เขย่าความเชื่อมั่น
ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นรวมกันถึง 5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในช่วง 3 เซสชั่นที่ผ่านมา หลังจากร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนในสัปดาห์ก่อน แรงกดดันด้านราคาส่วนใหญ่มาจากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอจากทั่วโลก ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความต้องการที่ชะลอตัว
แต่การลดลงของราคาน้ำมันทำให้เกิดการคาดการว่าองค์กรประเทศผู้ส่งออกน้ำมันจะลดการผลิตลงอีกในการประชุม OPEC ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน จากรายงานของสื่อยังชี้ให้เห็นว่าสมาชิกบางรายของกลุ่มผู้ผลิต โดยเฉพาะรัสเซียและซาอุดิอาระเบีย กำลังพิจารณาที่จะขยายการควบคุมปริมาณน้ำมันและการผลิตในปัจจุบันไปจนถึงปี 2024
นักวิเคราะห์กล่าวว่าการลดการผลิตจากทั้งสองประเทศมีแนวโน้มที่จะทำให้ปริมาณน้ำมันลดลงและช่วยให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นในปี 2024 การลดการผลิตของซาอุดีอาระเบียและรัสเซียเมื่อต้นปีนี้ถือเป็นปัจจัยหนุนสำคัญในการสนับสนุนราคาน้ำมัน ช่วยให้พวกเขาฝ่าฟันอุปสรรคจากสัญญาณเศรษฐกิจที่อ่อนแอ
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ฟิวเจอร์ส ปรับลง 0.2% เป็น 82.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบ WTI ฟิวเจอร์ส ปรับลง 0.1% เป็น 77.77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเวลา 20:48 น. ET (01:48 GMT) ทั้งสองดัชนีมีการขายทำกำไรบางส่วนหลังจากเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งสามวันติดต่อกัน
ขณะนี้ตลาดกำลังรอสัญญาณที่เป็นรูปธรรมว่า OPEC ตั้งใจที่จะลดปริมาณน้ำมัน แต่ก่อนหน้านั้นยังมีสัญญาณเศรษฐกิจที่สำคัญโดยเฉพาะจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ต้องจับตามอง
ตลาดรอรายงานการประชุมของเฟด เงินดอลลาร์อ่อนลงจากเดิมพันการหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ย
การอ่อนค่าของสกุลเงิน ดอลลาร์ ซึ่งปรับลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองเดือนครึ่ง ยังเป็นแรงหนุนสำคัญสำหรับน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐ
ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลงเกิดขึ้นหลังเทรดเดอร์เพิ่มเดิมพันว่าเฟดได้หยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว และอาจเริ่มต้นการ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ภายในเดือนมีนาคม 2024
จาก รายงาน ของการประชุมเฟดเมื่อปลายเดือนตุลาคม ซึ่งจะเปิดเผยในวันนี้ คาดว่าจะให้ข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับแนวคิดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเฟดมีการแสดงท่าทีเชิง dovish ในช่วงของการประชุม
ในขณะที่เฟดมีท่าทีเชิง hawkish น้อยลงซึ่งคาดว่าจะเอื้อต่อความต้องการน้ำมัน แต่สัญญาณของเศรษฐกิจที่เย็นลงอย่างรวดเร็วทำให้นักลงทุนยังไม่มั่นใจเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปีหน้า ซึ่งอาจทำให้ความต้องการน้ำมันลดลงอย่างรุนแรง
ความกังวลเกี่ยวกับจีนซึ่งกำลังต่อสู้กับปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซา ก็ส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำมันเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวเพียงเล็กน้อยตลอดเดือนตุลาคม
จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ที่สูงเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับการผลิตที่เพิ่มขึ้นโดยสมาชิก OPEC อื่น ๆ ยังแสดงให้เห็นว่าตลาดน้ำมันดิบไม่ได้ขลาดแคลนเท่าที่คาดไว้ในตอนแรก