โดย Ambar Warrick
Investing.com -- ราคาน้ำมันเคลื่อนไหวในกรอบเล็ก ๆ วันนี้ เนื่องจากเทรดเดอร์รอสัญญาณเพิ่มเติมจากการอ่านค่ากิจกรรมทางธุรกิจของจีนและสหรัฐฯ ซึ่งจะครบกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ และความกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้ตลาดสินทรัพย์ต่าง ๆ ทยอยปรับตัวลดลงอย่างมาก
ตลาดน้ำมันดิบย่อตัวลงหลังจากที่ทำขาขึ้นสามวันนับตั้งแต่วันจันทร์ เนื่องจากตลาดประเมินแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้อีกครั้ง หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งและสัญญาณ hawkish ของธนาคารกลางตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว
น้ำมันดิบเบรนท์ฟิวเจอร์ส เพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 82.12 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่ น้ำมันดิบ WTI ฟิวเจอร์ส เพิ่มขึ้น 0.2% เป็น 75.83 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อเวลา 22:09 น. ET (03:09 GMT) โดยสัญญาทั้งสองร่วงลงประมาณ 1% ในวันจันทร์
สัปดาห์นี้ตลาดเน้นไปที่การอ่านค่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) จาก จีน และ สหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์
กิจกรรมทางธุรกิจของผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกคาดว่าจะดีขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม หลังจากที่ได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิดส่วนใหญ่เมื่อต้นปีนี้ แต่คาดว่า ภาคการผลิต ของประเทศจะยังอยู่ใกล้กับพื้นที่หดตัว ซึ่งบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนั้นยังห่างไกล
แม้ว่าการฟื้นตัวในจีนคาดว่าจะผลักดันอุปสงค์น้ำมันให้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้ แต่ตลาดยังคงไม่มีความแน่นอนในช่วงเวลาของการฟื้นตัวดังกล่าว เนื่องจากตัวชี้วัดล่าสุดได้ให้ภาพรวมของเศรษฐกิจที่ผสมผสาน
ตัวชี้วัด PMI จากสหรัฐฯ มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้เช่นกัน และตลาดคาดการณ์ว่ารายงานจะแสดงให้เห็นถึง กิจกรรมการผลิต ยังคงหดตัวจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งชดเชยความแข็งแกร่งจาก ภาคบริการ ความกลัวต่อการชะลอตัวของผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกได้ส่งผลลบราคาน้ำมันในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตัวชี้วัดอื่น ๆ ยังแสดงให้เห็นถึงอุปทานที่มีอย่างล้นเหลือในประเทศ
แหล่งที่มาของความวิตกกังวลที่ใหญ่ที่สุดของตลาดน้ำมันคือการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ร้อนแรงเกินคาดในประเทศทำให้เฟดมีแรงผลักดันมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อไป
ตลาดคาดว่าสภาวะการเงินที่ตึงตัวขึ้นจะส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งอาจทำให้อุปสงค์น้ำมันดิบทั่วโลกลดลงและชดเชยการฟื้นตัวของจีน
ความกลัวการดำเนินการนโญบายการเงินที่เข้มงวดของเฟดยังทำให้ตลาดส่วนใหญ่มองข้ามอุปทานทั่วโลกที่ตึงตัว เนื่องจากรัสเซียลดการผลิตหลังจากที่โดนประเทศตะวันตกจำกัดราคาส่งออกสูงสุด