สำหรับบทความแรกของการรีวิวหุ้นเวียดนาม
ไปเจอหุ้นนี้มาเพราะค่อนข้างจะมีความเป็น monopoly + เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น มากกว่า market cap ซะอีก
เอาล่ะมาเริ่มกันเลยดีกว่า!
บริษัทที่จะมารีวิววันนี้คือ PetroVietnam Transportation Corporation ทำธุรกิจขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเรือ ก่อตั้งเมื่อปี 2002 โดยรัฐบาล และเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นเวียดนาม (HOSE:PVT) ในปี 2007
(HM:PVT)เป็นบริษัทลูกของ PVN (PetroVietnam) หรือ VIETNAM OIL AND GAS GROUP ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ100% โดย PVN เป็นบริษัทที่ใหญ่สุดในอุตสาหกรรม Oil & gas ของเวียดนามโดยครอบคลุมตั้งแต่ การขุดเจาะ เสาะหา ผลิต เก็บ ขนส่ง จัดจำหน่าย ครบวงจรเลย (เป็น back up ใหญ่ที่ทำให้ PVT แข็งแกร่งพอสมควร)
PVT มีบริษัทในเครือ 11 บริษัททำธุรกิจขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมครอบคลุมจากเหนือยันใต้ของเวียดนามเลย มีพนักงานประมาณ 1900 คน มีเรือ 28 ลำ โดยมี Capacity ขนส่ง crude oil หรือน้ำมันดิบ 418,106 ตัน, Petroleum/Chemicals 190,421 ตัน, LPG 47274 ตัน
PVT เป็นผู้นำตลาดในการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของตลาดภายในประเทศ โดยครอง market share ขนส่ง crude oil 100%, LPG 90%, Petroleum//chemical 30% และถ่านหิน 10%
ผลกระทบจากโควิด
ช่วงเกิดโควิดมีผลกระทบต่อบริษัทอยู่พอสมควร โดยลุกค้าที่ซื้อ Petroleum/Chemical จากโรงกลั่นสองแห่งในประเทศยกเลิกคำสั่งซื้อ นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องราคาน้ำมันที่ตกลงทำให้เกิดการนำเข้าน้ำมันมากขึ้นอีกทั้งๆที่ demand หด ทำให้โรงกลั่นสองโรงในเวียดนามแย่ไปเลยตอนนี้ ซึ่งจะกระทบต่อ PVT เนื่องจากบริษัทมีรายได้ส่วนหนึ่งจากการรับ Petroleum/Chemical จากโรงกลั่นส่งไปยัง Retailers/wholesalers ด้วย
นอกจากนั้นมีการช่วยลด freight rate ให้กับโรงกลั่นหนึ่งทำให้รายได้ลดลง
operating cost ก็ยังสูงขึ้นในช่วงโควิดเรื่องจากต้องใช้เวลาดำเนินเรื่องมากในการเอาของขึ้นจากท่าเรือ
กลับมาที่ธุรกิจหลักของ PVT (ต่อจากนี้ขออนุญาติใช้เป็นสกุลเงิน Vietnamese Dong โดย 1 Dong = 0.0013 บาทโดยประมาณ))
รายได้และกำไรย้อนหลัง
ปี 2019 – 7,758,000 ล้าน กำไร 689,610 ล้าน
ปี 2018 – 7,523,000 ล้าน กำไร 652,093 ล้าน
ปี 2017 – 6,148,000 ล้าน กำไร 450,111 ล้าน
สามารถแบ่งรายได้เป็นสามส่วน (ยาวหน่อยนะเพราะจะเล่าถึงอุตสาหกรรม oil & gas ของเวียดนามรวมไปด้วยเลยคร่าวๆ
1. รายได้จากการขนส่ง – คิดเป็น 57% ของรายได้รวม โดยแบ่งย่อยได้อีกเป็น
1.1. รายได้จากการขนส่ง Crude oil - คิดเป็น 24% ของรายได้รวม
รายได้ของ PVT ส่วนนี้มาจากการขนส่งน้ำมันไปที่โรงกลั่น Dung Quat และนำเข้าจาก Kuwait ส่งไปยังโรงกลั่น Nghi Son
ต้องขอเล่าก่อนว่า Upstream (Exploration and production) ของอุตสาหกรรม oil & gas ในเวียดนามมีประมาณ 30 เจ้าเช่น Petronas แล Exxonmobil โดยส่วน exploration นั้นบริษัทต่างชาติสามารถขุดเจาะน้ำมันเองได้ แต่ในส่วนของ production ทุกเจ้าต้องเป็น partner กับ PVN และบริษัทลูกของเค้า (PetroVietnam exploration and production) ไม่ว่าจะทาง Joint ventures, joint operating หรืออื่นๆ ทางใดทางหนึ่ง
ในเวียดนามมีโรงกลั่นสองแห่งคือ
1. Dung Quat Refinery ซึ่ง PVN เป็นเจ้าของ 100% โดยถือหุ้นผ่านบริษัทลูก Binh Son Refining and Petrochemical Joint Stock Company (BSR) มี maximum capacity 145,000 barrels ต่อวัน
อันนี้เป็นโรงกลั่นแรกเลยตั้งมานานแล้ว
2. โรงกลั่นล่าสุดมีมาตั้งแต่ 2018 คือ Nghi Son Refinery ซึ่งโรงนี้ PVN ถือหุ้น 25.1%, Idemitsu Kosan 35.1%, Kuwait Petroleum International 35.1% และ Mitsui Chemicals 4.7%
มี maximum capacity 200,000 barrels ต่อวัน
โดยสองโรงกลั่นใหม่นี้น่าจะรองรับความต้องการในประเทศได้ประมาณ 70-80% ส่วนที่เหลือนำเข้าเอา
จะสังเกตได้ว่าสองโรงกลั่นนี้ PVN ถือหุ้นสัดส่วนเยอะพอสมควร เลยไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไม PVT ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ PVN จะครองส่วนแบ่งตลาดการขนส่งน้ำมันดิบได้ 100%!
1.2. รายได้จากการขนส่ง Petroleum/Chemical - คิดเป็น 12% ของรายได้รวม
ทาง PVT จะให้บริการรับผลิตภัณฑ์ petroleum/chemical จากโรงกลั่นสองโรงข้างต้นแล้วส่งไปยัง PV Oil อีกหนึ่งบริษัทลูกของ PVN ซึ่งทำปั๊มแก๊ส โดย PV Oil ปัจจุบันครองส่วนแบ่งตลาดอันดับสองในเวียดนาม ประมาณ 22% (อันดับหนึ่งตกเป็นของปั๊ม Petrolimex ครองส่วนแบ่งตลาด 50% โดย Petrolimex เป็นผู้นำเข้าน้ำมันรถยนต์รายใหญ่สุดในประเทศด้วย ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ Ministry of industry and trade)
ข้อสังเกตคือเวียดนามนำเข้าน้ำมันรถยนต์ประมาณ 35% เลยนะ
นอกจากส่งไปยัง PV Oil แล้ว PVT ยังส่งไปยังปั๊มเจ้าอื่นๆด้วย
1.3. รายได้จากการขนส่ง LPG – คิดเป็น 16% ของรายได้รวม
ทาง PVT จะให้บริการขนส่ง LPG จากโรงผลิตก๊าซของ PVGAS (PetroVietNam Gas Joint Stock- Corporation) ไปยัง wholesalers/retailers โดย PVGAS (อีกหนึ่งบริษัทลูกของยักษ์ใหญ่ PVN) เป็นบริษัทผลิตก๊าซที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม และ โดยครองส่วนแบ่งตลาดการขายแก๊ส 70% ในเวียดนาม
เนื่องจากความต้องการ LPG ในประเทศเยอะเกินจึงต้องนำเข้า 50% ของความต้องการทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้ PVT ก็รับการว่าจ้างจาก PVGAS ในการนำเข้า LPG ด้วย
โดยถ้าพูดถึงความแข็งแกร่งของ PVGAS น่าจะเป็นบริษัทไม่กี่แห่งที่มี infrastructure รองรับ สามารถนำเข้า LPG เข้ามาที่เวียดนามได้
1.4 รายได้จากการขนส่งถ่านหิน – คิดเป็น 5% ของรายได้รวม
รายได้ส่วนนี้ให้บริการขนส่งถ่านหิน ไปยัง โรงไฟฟ้าต่างๆของบริษัท EVN (Vietnam Electricity) ซึ่งเป็นบริษัทโรงไฟฟ้าที่ใหญ่สุดในเวียดนาม
2. รายได้จากOilfield service – คิดเป็น 13% ของรายได้รวม
รายได้ส่วนนี้ก็จะเป็นการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักต่างๆ เช่น FPSO/FSO (การนำปิโตรเลียมขึ้นมาจากทะเลลึก), สำรวจ, ซ่อมบำรุงต่างๆ
โดยทาง PVN บริษัทแม่มีหุ้นส่วนใน oilfield ต่างๆที่ให้บริการต่างกันไปเช่น Dai Hung oilfield (100%),Chim Sao (15%), Song Doc (40%)
3. รายได้อื่นๆ - คิดเป็น 30% ของรายได้รวม
รายได้ส่วนนี้คือ กำไรแทบไม่มีจึงขอไม่พูดถึงละเอียด แต่บริการหลักๆเช่น บริหารท่าเรือ ให้เช่าโกดัง คือเป็นบริการที่เสริมธุรกิจหลักนั่นเอง งบรวมจึงเรียกได้ว่าแทบไม่มีกำไรในส่วนนี้
***ข้อสังเกตใหญ่ๆคือ ถ้าคิดแบ่งตามสัดส่วนกำไรรวม กำไรจากการขนส่ง LPG จะปาไปแล้ว 53% และ Oilfield service 30%***
ในส่วนของการเติบโตนั้น รายได้รวมมีการเติบโตย้อนหลังประมาณ 8% ต่อปีโดยโตเกือบทุกปีมาเป็น 10 ปีแล้ว
PVT มีแผนจะซื้อเรือใหม่เช่น VLCC, Suezmax เพื่อจะรองรับความต้องการน้ำมันที่กำลังโตในเวียดนาม และรองรับแผนขยายธุรกิจไปต่างประเทศให้มากขึ้นด้วย
โดยจะเน้นขยายธุรกิจขนส่งผลิตภัณฑ์ LPG, น้ำมันดิบ และ petroleum/chemical เป็นหลักไปยังประเทศใกล้เคียง
ด้วยความเป็นประเทศกำลังโต (GDP น่าจะโตได้สัก 6% ต่อปี) ความต้องการของพวกน้ำมัน, ก๊าซ น่าจะโตตามไปด้วย
โดยขณะนี้ Vietnam นำเข้าน้ำมันดิบสุทธิเนื่องจากมีความต้องการใช้น้ำมันสูงและแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เวียดนามมีความต้องการน้ำมัน ประมาณ 400,000 barrels ต่อวัน โดยโรงกลั่น Dung Quat ที่ PVN ถือหุ้นอยู่ 100% ผลิตได้ 150,000 barrels ต่อวัน และมีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้ถึง 190,000 ในปี 2021
รัฐบาลปกติจะมีงบให้สำหรับอุตสาหกรรม Oil & gas ประมาน 25-30% ต่อปี
ถัดมาเรื่องความเสี่ยงของ PVT
ความเสี่ยงเรื่องยังไม่ได้เซ็นต์สัญญาระยะยาวในการให้บริการขนส่งน้ำมันดิบจากคูเวตไปที่โรงกลั่น Nghi Son Refinery
การขนส่งถ่านหินไปที่โรงไฟฟ้าของ EVN ก็ยังไม่ได้เซ็นต์สัญญาระยะยาว
ความเสี่ยงเรื่องความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ ถ้าต่ำกว่า 60 USD/barrel จะกระทบกับธุรกิจขนส่ง PVT
อีกเรื่องคือเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุน Capex สูง ตอนนี้เรือขนส่งบางลำก็ค่อนข้างเก่าอยู่ด้วยกินน้ำมันเยอะ (ตอนนี้มีซื้อเรือใหม่ๆเข้ามาบ้างแล้วสำหรับการขนส่งน้ำมันดิบ)
PE ของหุ้น PVT อยู่ประมาณ 5 เท่าได้ แต่เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นมากกว่า market cap
จบแล้วครับสำหรับหุ้น PVT (หาข้อมูลยากจัง ใครมีแหล่งข้อมูลภาษาอังกฤษ/ไทย ขอบ้างครับ)
จะรีวิวหุ้นต่างประเทศเรื่อยๆให้ต่อไป
เพจ “หุ้นต้าแมน” เพื่อเปิดโลกการลงทุนทั่วโลกกก
#หุ้นต้ารีวิวให้ #หุ้นเวียดนาม #PVT
บทความนี้มาจาก เพจ “หุ้นตาแมน” เพื่อเปิดโลกการลงทุนทั่วโลกกก