โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2019
การประกาศนโยบายทางการเงิน ของธนาคารกลางยุโรปในวันพฤหัสบดียังเป็นปัจจัยที่น่าจะส่งผลกระทบหนักที่สุด EUR/USD ยังคงฟื้นตัวได้ต่อเนื่องตลอด 4 วันที่ผ่านมาในสัปดาห์นี้ แต่ก็เริ่มมีการเทขายกลับเข้ามาในช่วงก่อนที่จะมีการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ย
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากการประชุมของธนาคารกลางยุโรป
- รายละเอียดในการดำเนินนโยบายรีไฟแนนซ์ระยะยาวตามเป้าหมายใหม่
-
การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจ
- แนวทางการดำเนินงานในอนาคต
เมื่อย้อนกลับไปในเดือนมีนาคม ธนาคารกลางยุโรปได้มีการประกาศปล่อยเงินกู้จำนวนหนึ่งที่จะใช้สำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจของยูโรโซน โดยแจ้งว่าจะมีรายละเอียดของโปรแกรมนี้ที่เรียกว่า TLTRO-III ประกาศออกมาให้ทราบอีกครั้งในเดือนมิถุนายน เมื่อเวลานั้นมาถึง นักลงทุนใน EUR/USD ต่างพากันเฝ้ารอดูรายละเอียดของโปรแกรมนี้ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ปรับใหม่ว่าจะแย่ลง เป็นศูนย์ หรือเข้าใกล้ศูนย์ นอกจากนี้ยังจะมีการประกาศอัตราเงินเฟ้อและการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจออกมาด้วยเช่นกัน นายดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรปจะแถลงข่าวเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการดำเนินงานอื่นๆ เพิ่มเติม หากอัตราการเจริญเติบโตและเงินเฟ้อยังคงอ่อนค่าลง
สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันของยูโรโซนยังคงชะลอตัวแม้ว่าจะมีการพัฒนาขึ้นบ้างก็ตาม แต่ปัจจัยสำคัญทางด้านนโยบายการเงินอย่างเช่น การใช้จ่ายของผู้บริโภค {{ecl-928||อัตราเงินเฟ้อ}} อุตสาหกรรมการผลิต และ ยอดขายปลีก กลับมีค่าลดลง ยอดขายปลีกของเยอรมันลดลง -2% ในเดือนเมษายนซึ่งนับว่าแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้มาก จำนวนผู้ว่างงาน ของเยอรมันก็เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 4 ปี แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเกิดจากการโยกย้ายงาน กระทรวงแรงงานได้ออกมาเตือนว่านี่เป็นสัญญาณแรกของสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังจะชะลอตัว แม้ว่าในขณะนี้อียูจะผ่านพ้นปัญหาด้านภาษียานยนต์ไปได้ชั่วคราว แต่สภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวของสหรัฐฯ และจีนในปัจจุบันน่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยูโรโซนได้อย่างรุนแรงเช่นกัน หากธนาคารกลางยุโรปรู้สึกว่าจะมีปัจจัยกระตุ้นที่มากเกินไปก่อนที่สหรัฐฯ จะเริ่มนำมาตรการทางภาษีมาใช้กับจีนอีกรอบหนึ่ง ก็จะต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น
EUR/USD ดิ่งลงไปอย่างหนักเมื่อมีการประกาศ TLTRO-III ออกมา และอาจยังคงมีการเทขายต่อไปหากธนาคารกลางปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์ลงไปอีก และเนื่องจากมีการเทขาย EUR/USD ออกไปอย่างหนัก นักลงทุนน่าจะเริ่มไม่เชื่อมั่นว่าธนาคารกลางยุโรปจะยังคงใช้มาตรการแบบประนีประนอมต่อไปได้ แต่น่าจะเชื่อว่าสภาพเศรษฐกิจน่าจะตกต่ำลงไปยิ่งกว่าเดิม ดังนั้นสถานการณ์ของเงินยูโรจึงขึ้นอยู่กับแนวทางการดำเนินงานในอนาคตและโปรแกรมการปล่อยสินเชื่อที่มากไปกว่า TLTRO