💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

การพัฒนาเศรษฐกิจ (2)

เผยแพร่ 05/06/2562 15:09
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ครั้งที่แล้วผมสรุปว่า การพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวนั้นไม่ได้มี 4 เครื่องยนต์ดังที่มักจะพูดกันเวลาต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวลงในระยะสั้น กล่าวคือในระยะยาวนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนนั้นจะต้องอาศัยการลงทุนเป็นหลักเพียงปัจจัยเดียว เพราะการลงทุนคือ

1. การยอมเสียสละไม่บริโภคในวันนี้เพื่อนำเอาทรัพยากรไปเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อจะได้มีปริมาณสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้นในภายภาคหน้า

2. การลงทุนนั้นอาจเป็นการลงทุนเพื่อนำเอาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ก็ได้ ทรัพยากรธรรมชาตินั้นหากปล่อยเอาไว้เฉยๆ ก็จะไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด (แต่การมุ่งใช้ทรัพยากรมากเกินจนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกทำให้โลกร้อน ก็เป็นผลเสียทางเศรษฐกิจเช่นกัน)

3. แต่ส่วนของการลงทุนที่สำคัญที่สุดมักจะเป็นการลงทุนที่เกิดขึ้นจากวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ทำให้อุปกรณ์ เครื่องจักรหรือโรงงานรุ่นใหม่ที่ทันสมัยผลิตสินค้าได้ดีกว่าและมากกว่าของที่มีอยู่เดิม กล่าวคือเทคโนโลยีใหม่แทรกตัวอยู่ในการลงทุนใหม่ ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในอดีต 300-400 ปีผ่านมาที่ทำให้เศรษฐกิจโลกเจริญเติบโตได้อย่างมากและประชากรโลกอยู่ดีกินดีเพิ่มขึ้นหลายสิบเท่าตัว ก็เพราะการพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ผสมผสานไปกับระบบทุนนิยมที่นำเอาวิวัฒนาการใหม่ๆ มาผลิตเป็นสินค้าและบริการใหม่ๆ เช่น โทรทัศน์ iphone airbnb และ uber เป็นต้น

4. การลงทุนนั้นมีความเสี่ยงสูง จึงต้องอาศัยความกล้าเสี่ยงของนักลงทุนที่คาดหวังจะได้กำไร ดังนั้นระบบคุ้มครองทรัพย์สิน (รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญา) ระบบการเงินและระบบตลาดทุนที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนระบบตลาดเสรีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจ การ “หวังดี” ให้รัฐเข้ามาควบคุมระบบทุนนิยมให้มี “ความเป็นธรรม” มากจนเกินไป เช่นแนวคิดของระบบสังคมนิยมนั้น จะทำให้การลงทุนชะงักงันเพราะได้ไม่คุ้มเสี่ยงและรัฐบาลซึ่งหวังดี ก็จะเพิ่มบทบาทเข้ามาลงทุนและดำเนินกิจการเสียเอง โดยใช้ระบบราชการที่เชื่องช้าและไม่กล้าเสี่ยง ซึ่งเห็นมาแล้วจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตว่าระบบเศรษฐกิจที่ควบคุมโดยรัฐบาลพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมสู้ระบบทุนนิยมไม่ได้

ในประเทศไทยนั้นการลงทุน (Gross capital formation) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจาก 3.265 ล้านล้านบาทในปี 2014 มาเป็น 3.727 ล้านล้านบาทในปี 2018 (ตัวเลขจากไอเอมเอฟ) แต่คิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีที่ไม่ได้เพิ่มมากนัก กล่าวคือจาก 24.68% ของจีดีพีในปี 2014 มาเป็น 25.40% ของจีดีพีในปี 2018 ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่สูงมากนัก เพราะจะมีส่วนใหญ่ของ25% ดังกล่าวที่จะต้องลงทุนเพื่อแทนที่เครื่องจักรและโรงงานที่ชำรุดหรือล้าสมัย ในเชิงเปรียบเทียบนั้นการลงทุนของจีนน่าจะเกือบ 50% ของจีดีพี แต่ก็ต้องย้ำว่าการลงทุนนั้นจะต้องเป็นการลงทุนที่เป็นประโยชน์ คือให้ผลตอบแทนสูงคุ้มค่า มิฉะนั้นแล้วก็จะเป็นภาระทางเศรษฐกิจในอนาคต เพราะอาจจะผลิตสินค้าที่ไม่มีใครต้องการ เป็นต้น

สาขาเศรษฐกิจสุดท้ายคือภาครัฐที่มีสัดส่วนประมาณ 20% ของจีดีพี ซึ่งมีอำนาจพิเศษคือการเก็บภาษี (ซึ่งเป็นการยึดทรัพย์ส่วนหนึ่งของประชาชน) มาใช้จ่ายและลงทุน รัฐบาลจะขาดทุนงบประมาณเกือบตลอดเวลา กล่าวคือจะใช้จ่ายเกินตัวและคาดหวังว่าจะสามารถเก็บภาษีมากขึ้นจากประชาชนได้ในอนาคต ดังนั้นการลงทุนของภาครัฐประมาณ 300,000-400,000 ล้านบาทต่อปี (เมื่อเทียบกับรายจ่ายทั้งหมดประมาณ 3 ล้านล้านบาทต่อปี) จะต้องให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่คุ้มค่า มิฉะนั้นก็จะยิ่งเป็นการสร้างหนี้และภาระทางเศรษฐกิจให้ประชาชนเพิ่มขึ้นอีก

นอกจากนั้นการออกมาตรการเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเพิ่มการใช้จ่ายในปัจจุบัน โดยการสร้างหนี้สินเพิ่มขึ้นนั้นก็จะยิ่งลดทอนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคตที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างรวดเร็ว ประมาณการคือปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ที่อยู่ในวัยแรงงาน (อายุ 20-60 ปี) ประมาณ 40.5 ล้านคนและมีคนสูงอายุ (อายุ 60 ปีและมากกว่า) 12 ล้านคน แต่ในปี 2040 จะมีผู้ที่อยู่ในวัยทำงานเหลือเพียง 32.5 ล้านคน แต่ในปี 2040 จะมีผู้ที่อยู่ในวัยทำงานเหลือเพียง 32.5 ล้านคน แต่ผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 21 ล้านคน ดังนั้นรัฐบาลจึงน่าจะมีภาระเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต

ประเด็นสุดท้ายคือรัฐบาลไทยมีอำนาจอย่างมากในอีกด้านหนึ่ง คือการควบคุมรัฐวิสาหกิจซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ตัวอย่างเช่น รัฐวิสาหกิจนั้นในปี 2004 มีมูลค่าสินทรัพย์เท่ากับ 4.3 ล้านล้านบาท แต่ในปี 2016 เพิ่มขึ้นเป็น 14.9 ล้านล้านบาท ดังนั้นการควบคุมการใช้สินทรัพย์ดังกล่าวให้คุ้มค่าในการสร้างรายได้และการสร้างความเจริญให้กับเศรษฐกิจ จึงน่าจะมีส่วนสำคัญยิ่งในการกำหนดว่าจีดีพีของไทยจะขยายตัวช้าหรือเร็วในปัจจุบันและในอนาคตครับ

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ของสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ThaiVI.org

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย