โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2019
การเทขายปริมาณมากในตลาดหุ้นสหรัฐฯ วันนี้ทำให้ดัชนีดิ่งลงไปทะลุกรอบแนวรับสำคัญๆ หลายตัว รวมทั้งยังฉุดให้สกุลเงินหลักปรับลดลงตามไปด้วย ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ทะลุเส้น SMA 100 วัน และ 200 วันลงไปแตะจุดต่ำสุดในรอบ 3 เดือนอีกครั้ง ส่วนดัชนี S&P 500 ก็ตกลงไปอยู่ต่ำกว่าระดับ 2800 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ค่อนข้างอ่อนไหวอย่างรวดเร็วสกุลหนึ่งก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน แม้ว่า ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ และดัชนีของ ANZ จะมีค่าดีขึ้นก็ตาม ท่ามกลางสถานการณ์สงครามทางการค้าระหว่างสองประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจที่กำลังตึงเครียดอยู่ในขณะนี้ นักลงทุนต่างกังวลว่าเศรษฐกิจที่ซบเซาลงของสหรัฐฯ และจีนจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจในระดับโลกไปด้วย นอกเหนือจากปัญหาสงครามทางการค้าแล้ว หนังสือพิมพ์รายใหญ่ของจีนฉบับหนึ่งได้ออกคำเตือนไปยังสหรัฐฯ ว่า "เราขอแนะนำทางสหรัฐฯ ว่าอย่าได้ดูถูกความสามารถในด้านการปกป้องสิทธิ์และความต้องการของจีน และอย่าหาว่าเราไม่เตือน” นักลงทุนเริ่มกังวลว่าจีนอาจจะจำกัดหรือยกเลิกการส่งออกกลุ่มธาตุโลหะหายากไปยังสหรัฐฯ ซึ่งธาตุดังกล่าวเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเกือบทุกชนิด หากจีนเล่นไม้นี้จริง ตลาดหุ้นน่าจะปรับตัวลดลงได้อีก 2-3% ซึ่งก็หมายถึงความเสียหายที่จะเกิดกับสกุลเงินต่างๆ อีกมาก AUD และ NZD จะแข็งค่าขึ้นมากที่สุด แต่ USD/JPY อาจดิ่งลงไปอยู่ที่ 1.08 และ EUR/USD ก็อาจลดลงไปที่ 1.10
ขณะนี้หลายประเทศเริ่มรับรู้ได้ถึงผลกระทบที่ได้รับจากสงครามการค้าในครั้งนี้แล้ว เช้าวันนี้มีรายงาน จำนวนผู้ว่างงาน รายเดือนเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 10 ปี โดย 75% ของจำนวนที่เพิ่มขึ้นนั้นเกิดจากการย้ายหรือปรับตำแหน่งงานซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 2 ปี อัตราการว่างงาน เพิ่มจาก 4.9% ไปเป็น 5% ตัวเลขนี้สอดคล้องกับอัตราการจ้างงานที่ชะลอตัวลงตามตัวเลขในรายงานดัชนีภาคอุตสาหกรรรมการผลิตและภาคบริการ สำนักงานแรงงานของรัฐแจ้งว่า “เราจะสังเกตเห็นสัญญาณของสภาพเศรษฐกิจที่กำลังจะชะลอตัวได้จากอัตราการว่างงานเป็นอย่างแรก” และสิ่งที่จะทำให้เกิดความกังวลมากขึ้นก็คือเมื่อมีการประชุมธนาคารกลางยุโรปอีกครั้งใน เดือนหน้า ซึ่งอาจทำให้ EUR/USD ปรับตัวไปอยู่ที่ 1.10
USD/CAD ยังคงซื้อขายกันอยู่เหนือ 1.35 ก่อนที่จะมี ประกาศนโยบายด้านการเงิน ออกมาซึ่งก็เป็นไปตามคาดว่าธนาคารกลางแคนาดายังคงอัตราดอกเบี้ยเดิมเอาไว้ต่อไป และแม้จะมีข่าวดีว่าเศรษฐกิจแคนาดาจะค่อยๆ ดีขึ้น ก็ไม่ทำให้นักลงทุนปักใจเชื่อเท่าใดนัก จากข้อมูลที่ธนาคารกลางแคนาดารายงาน ตัวเลขที่ออกมาก็สนับสนุนว่าการชะลอตัวในไตรมาสที่ 4 และไตรมาสที่ 1 จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และจะดีขึ้นในไตรมาสที่ 2 โดยเชื่อมั่นว่าการลงทุนในภาคธุรกิจจะแข็งแกร่งและมั่นคงขึ้น เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่สหรัฐฯ เม็กซิโก และแคนาดาจะบรรลุข้อตกลงเรื่องการยกเลิกภาษี ส่วนในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันก็เริ่มฟื้นตัวได้โดยสังเกตได้จากปริมาณการผลิตและ ราคา ที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่บ้าง ธนาคารกลางแคนาดามองว่าสงครามทางการค้าที่ยังทวีความรุนแรงมากขึ้นนั้นอาจส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับโลกได้ และเตือนว่าข้อจำกัดที่จีนกำหนดจะมีผลกระทบโดยตรงกับ การส่งออก ของแคนาดา USD/CAD จะเป็นไปตาม ดุลบัญชีเดินสะพัด ที่จะประกาศออกมาในวันพรุ่งนี้ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะอ่อนค่าลงไปอีกเนื่องจากสถานการณ์ทางการค้าในไตรมาสแรกที่ไม่ค่อยสู้ดีนัก
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด GBP/USD ก็ปรับตัวไปอยู่ที่จุดต่ำสุดในรอบ 4 เดือนและมีหลายคนสงสัยว่าใกล้ถึงจุด bottom แล้วหรือยัง เนื่องจากในสัปดาห์นี้ยังไม่มีกำหนดที่จะประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจใดๆ ออกมาจากสหราชอาณาจักร ดังนั้นจึงขอให้พิจารณาไปตามกระแส จากความวุ่นวายทางการเมืองของสหราชอาณาจักรในช่วงเวลานี้ ทำให้สภาวะเศรษฐกิจยังคงมีความเสี่ยงเช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ประกอบกับเงินสเตอร์ลิงก็เป็นสกุลที่ค่อนข้างอ่อนไหวได้ง่ายมาก ในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง นักลงทุนจะพยายามหลีกเลี่ยงการถือสถานะที่มีความเสี่ยงสูง ยิ่งทำให้สกุลเงินค่าๆ ปรับตัวลดลงมากกว่าที่คาดได้ แนวรับสำคัญของ GBP/USD อยู่ที่ประมาณ 1.25 โดยอาจมีการเคลื่อนตัวไปทดสอบจุดต่ำสุดของเดือนมกราคมที่ 1.2442 ได้เช่นกัน