ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 29 เมษายน 2019โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่คึกคักสำหรับสกุลเงินทั้งหลายอย่างแน่นอน ด้วยการประกาศนโยบายทางการเงินถึง 2 แห่ง, รายงานจากตลาดแรงงานอีก 3 แห่ง รวมถึงการประกาศตัวเลข GDP ยูโรโซนและดัชนี PMI จากทั่วโลกอีกด้วย ความผันผวน ได้หวนกลับคืนมาอีกครั้งเมื่อ ค่าเงินยูโร ดิ่งลงไปสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองปี และบรรดาสกุลเงินเพื่อซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ต่างก็พากันดิ่งลงสู่ระดับที่ต่ำสุดในปีนี้อีกด้วย ฉะนั้นในสัปดาห์นี้อาจเกิดการทะลุแนวรับหรือแนวต้าน หากการประกาศข้อมูลหรือการให้คำกล่าวจากธนาคารกลางแสดงสัญญาณในแง่ดีด้านเศรษฐกิจและมีการเปลี่ยนแปลงมุมมองนโยบายทางการเงิน ยิ่งไปกว่านั้นช่วงวันหยุดยาวในญี่ปุ่นและจีนก็รังแต่จะส่งผลให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น เนื่องจากสภาพคล่องทางการเงินที่ลดลงจะยิ่งทวีความรุนแรงในปฏิกิริยาของตลาดให้มากขึ้น
เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลักเมื่อวันจันทร์ แม้ว่าข้อมูล รายจ่ายผู้บริโภค จะออกมาแข็งแกร่งก็ตาม ตลาดแรงงานที่พลิกฟื้นขึ้นได้ส่งผลให้อุปสงค์ผู้บริโภคในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้น ทว่าผู้ลงทุนยังคงกังวลต่อการชะลอตัวของราคาผู้บริโภค เห็นได้จากดัชนีราคาผู้บริโภคและรายได้ในเดือนที่แล้วที่เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ต่างจากที่คาดการณ์ไว้ว่า 0.4% แสดงว่าในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าอุปสงค์น่าจะเริ่มลดลง แต่ก็อาจไม่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะยังคงจับจ่ายเช่นเดิม จากตลาดแรงงานที่ตึงตัวและตลาดหุ้นที่ทำอันดับสูงสุดได้ครั้งใหม่ ฉะนั้นถึงแม้ว่า USD/JPY จะปรับลงเมื่อวันจันทร์เนื่องด้วยการขายที่จุดทำกำไร แต่เราเชื่อว่า การแถลงนโยบายทางการเงิน ของเฟดในสัปดาห์นี้จะช่วยหนุน ค่าเงินดอลลาร์ อย่างแน่นอน
โดยรวมแล้ว เงินยูโร ได้รับแรงขับเคลื่อนจากแรงกระตุ้นของตลาดต่อ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ในวันอังคารนี้อาจเป็นข้อยกเว้นเนื่องจากจะมีการประกาศ ตัวเลข GDP ประจำไตรมาสแรก ของยูโรโซน พร้อมกับข้อมูล ตลาดแรงงาน และ อัตราเงินเฟ้อ ของเยอรมนี เราคาดว่าตลาดแรงงานและตัวเลข GDP ต่างก็จะออกมาแข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพราะเมื่อพิจารณาจากดัชนี PMI แล้ว เห็นได้ว่าตลาดแรงงานในเดือนเมษายนมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้อุปสงค์ที่มั่นคงและตัวเลขทางการค้าที่ดีขึ้นก็น่าจะหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากดัชนีราคาผู้ผลิตออกมาลดลง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว EUR/USD เคลื่อนไหวอยู่ในแดนลบ ฉะนั้นตัวแปรสำคัญอยู่ที่ว่าธนาคารกลางยุโรปจะถูกโน้มน้าวด้วยตัวเลขที่ออกมาดีเหล่านี้หรือไม่ ช่วงต้นเดือนนี้ที่ประธานธนาคาร Bundesbank นายเจนส์ ไวด์มันน์ ได้เผยว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2019 อาจชะลอตัวลงระดับหนึ่ง ซึ่งดูเหมือนว่าประธานธนาคารกลางยุโรป นายดรากี ก็น่าจะมีมุมมองที่คล้าย ๆ กัน ทั้งนี้ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นที่ออกมาเมื่อเช้าวันจันทร์นั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ เพราะฉะนั้นถ้าข้อมูลทางเศรษฐกิจฝั่งยูโรโซนออกมาดีและหนุนทำให้เกิดแรงซื้อ แรงซื้อดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น โดยเฉพาะถ้าข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ออกมาดี หรือถ้าเฟดมีมุมมองในแง่บวกมากขึ้น
มีการประกาศดัชนี PMI ของจีนในช่วงเย็นวันจันทร์ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้เราได้เห็นสัญญาณเสถียรภาพเบื้องต้นของเศรษฐกิจจีนแล้ว และถ้ารายงานออกมาเป็นไปตามนั้น อาจทำให้ดอลลาร์ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ พลิกฟื้นขึ้นมากกว่านี้ แน่นอนว่ายังไม่อาจฟันธงได้ถ้าหากข้อมูลทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ออกมาในแง่ลบ และโชคร้ายที่ดัชนี PMI ของออสเตรเลียและรายงาน ตลาดแรงงาน ของนิวซีแลนด์ที่จะประกาศออกมาในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มที่จะออกมาต่ำกว่าคาด ฉะนั้นในช่วงนี้สกุลเงินทั้งสองจึงยังคงอยู่ในช่วงแนวโน้มขาลง ทางด้านคู่ USD/CAD ก็ส่งสัญญาณการปรับฐานจากการทำระดับสูงสุดที่ต่ำลง และระดับต่ำที่ต่ำลง แม้ว่าจะมีกำหนดการประกาศ GDP ของแคนาดาในวันอังคารนี้ แต่ CAD ก็คงไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าไรนัก อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจแคนาดาอาจขยายตัวขึ้นเนื่องจากตัวเลข ด้านการค้า และ ยอดค้าปลีก ที่ออกมาดีขึ้น