หลังจากที่อิหร่านยิงขีปนาวุธเข้าโจมตีอิสราเอล เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง ก็กลายเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจ และ สามารถสร้างแรงกดดันให้กับตลาดหุ้นได้ตลอดเวลา โดยในกรณีเลวร้าย เกิดภาวะสงครามที่รุนแรงและขยายวง ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อราคา น้ำมัน รวมถึงเศรษฐกิจโลก เชื่อการขายของนักลงทุนต่างชาติในช่วง 2 วันทำการที่ผ่านมารวมกว่า 7 พันล้านบาท ก็น่าจะมีเหตุปัจจัยส่วนหนึ่ง จากสถานการณ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้น ไทยถือว่าอยู่ในระดับที่จำกัด ทั้งนี้เป็นผลมาจากแรงซื้อของสถาบันใน ประเทศ ที่ซื้อสุทธิในช่วงเวลาเดียวกัน 8.1 พันล้านบาท ซึ่งน่าจะเป็นการ ทำหน้าที่ของกองทุนวายุภักษ์ และน่าจะเห็นเม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดหุ้น ต่อเนื่อง ช่วยจำกัด DOWNSIDE ให้กับตลาดหุ้นไทย สถานการณ์ในตะวันออกกลางถือเป็นตัวแปรสำคัญที่กำหนดทิศทางของ SET INDEX ในช่วงนี้ โดยวันนี้คาดอยู่ในกรอบ 1445 – 1460 จุด หุ้น TOP PICK วันนี้เลือก CK, MTC และ SCGD
ความกังวลสงครามกลับมา หนุนราคาน้ำมันดีดตัว ปัจจัยเสี่ยงจากความไม่สงบในตละวันออกกลาง หลังอิหร่านได้ยิงขีปนาวุธโจมตีกลับ อิสราเอลเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 67 กดดันตลาดหุ้นผันผวนในช่วงที่ผ่านมา โดยประเด็น ความตึงเครียดตะวันออกกลางนี้ เคยส่งผลให้ดัชนีSET ร่วงลงไปมากสุดถึง80 จุด
ในมุมมองราคาน้ำมันยังคงผันผันต่อเนื่อง โดยวานนี้ราคาน้ำมันดิบ WTI ดีดตัวขึ้น อีก 1.2% ใกล้แตะระดับ 71 เหรียญฯ/บาร์เรล ขณะที่ระยะถัดไปราคาน้ำมันดิบโลกมี แนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ 2 ส่วนหลักๆ คือ
1. คาดหวัง DEMAND เพิ่มขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน หลังรัฐบาล ออกมารการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบผ่านนโยบาย การคลัง และใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ ธ.พ. และเร่งแก้ปัญหาภาคอสังหาฯ ซบเซา SENTIMENT บวกต่อหุ้น SCC, SCGP, PTTGC, IVL, AOT (BK:AOT), CENTEL, STA, STGT, ICHI, TKN
2. ความเสี่ยง SUPPLY ลดลง หากสงครามตะวันออกกลางลุกลามบาน ปลาย ขณะที่สถานการณ์ล่าสุดกลุ่มติดอาวุธอิรักได้ส่งโดรนโจมตีอิสราเอล ส่วนด้านอิสราเอลอาจตอบโต้กลับอิหร่าน โดยจะมุ่งเป้าโจมตีไปที่ “คลังเก็บ น้ำมัน” และปิดช่องแคบฮอร์มุซ SENTIMENT บวกต่อ กลุ่มผู้ประกอบการ ผลิตและสำรวจน้ำมันที่มีรายได้อิงกับราคาขายน้ำมัน คือ PTTEP, BCP ส่วนของธุรกิจโรงกลั่น คือTOP, PTTGC, IRPC, BCP, BSRC, SPRC
สรุป หากสงครามมีความยืดเยื้อรุนแรงมากขึ้น บวกกับเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว อาจเป็น ปัจจัยหนุนให้ราคาน้ำมันดิบทยอยปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ และทำให้อัตราเงินเฟ้อของหลาย ประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะตามมาด้วยการใช้นโยบายทางการเงินเชิงรุกที่ มากขึ้นของ FED ECB BOE มีโอกาสส่งผลให้ DOLLAR INDEX แข็งค่าขึ้น และกดดัน ค่าเงินบาทให้อ่อนค่าตามกลไก
วงจรดอกเบี้ยขาลงไทยใกล้เข้ามา ใครได้เปรียบ ตามที่กระทรวงการคลัง รวมถึง กกร. เตรียมหารือกับ ธปท. เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย นโยบายและอัตราแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะความต้องการของ กกร. ที่มีสมาคมธนาคาร ไทยร่วมด้วย อาจสะท้อนถึงความต้องการให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย หลังช่วงที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าไว จนอาจส่งผลกับธุรกิจในภาคส่งออก โดยฝ่ายวิจัยคงมุมมอง อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยลง 1 ครั้ง 0.25% จากปัจจุบันที่ 2.5% ในงวด 4Q67 (การ ประชุม กนง. 2 ครั้งที่เหลือ วันที่ 16 ต.ค. 67 หรือ 18 ธ.ค. 67) ซึ่งปัจจัยข้างต้นได้ถูก รวมในประมาณการกำไรกลุ่มธนาคาร (8 ธนาคาร) ปี 2567 –68 ที่ประมาณ 2.3 แสน บาทแล้ว ทั้งนี้ ภายใต้แนวโน้มวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง ย่อมส่งผลต่อรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII : สัดส่วน 76% ของรายได้รวม) / LOAN SPREAD ของ ธ.พ. ใหญ่ ระหว่างรอการปรับ สมดุลระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ส่วน ธ.พ. อย่าง KKP, TISCO รวมถึงกลุ่ม NON – BANK (อาทิ AEONTS, KTC, MTC, SAWAD และ TIDLOR) ที่โครงสร้าง สินเชื่อส่วนใหญ่รับอัตราดอกเบี้ยคงที่ สวนทางต้นทุนทางการเงินขยับลงตามวงจร ดอกเบี้ย ทิศทาง NII จะดีขึ้น ขณะที่ฝั่งรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (NON – NII : สัดส่วน 24% ของรายได้รวม) ของกลุ่มธนาคาร มีโอกาสฟื้นตัวขึ้น จากกลุ่ม CAPITAL MARKET อันเป็นผลจากภาวะตลาดทุนที่เชื่อกันว่ามีความสัมพันธ์ทางตรงข้ามกับ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย หนุนต่อกลุ่มธุรกิจ บล. และ บลจ.
สำหรับการลงทุนหุ้นที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ผ่านมา FUND FLOW ต่างชาติ เริ่มจางหาย แต่ได้แรงหนุนจากกลุ่มนักลงทุนสถาบันเข้าซื้อ (วายุภักษ์ + กองทุน TESG) จึงมองว่า กลุ่มที่มี SET ESG RATINGS ระดับ AAA และให้ DIV YIELD ระดับ 4% ขึ้นไป อาทิ KTB (OUTPERFORM : FV@B21.8), KBANK (BK:KBANK) (OUTPERFORM : FV@B160), TISCO (NEUTRAL : FV@B102) ราคาหุ้นมีโอกาสเคลื่อนไหวดีกว่ากลุ่มฯ ขณะที่ มองภาพยาว 1 ปี บนวงจรดอกเบี้ยขาลง มองว่ากลุ่ม NON – BANK น่าสนใจกว่า ซึ่ง ในกลุ่ม NON – BANK เลือก MTC(OUTPERFORM : FV@B59) เป็นหุ้นเด่นของ กลุ่ม
กองทุนวายุภักษ์ มาได้ถูกเวลา และเริ่มพยุงหุ้นได้ดี เปิดไตรมาส 4 มาได้ 2 วันทำการ ต่างชาติขายหุ้นไทยหนัก -7.0 พันล้านบาท (MTD) โดยมีแรงกดดันหลักๆ 2 ส่วน คือ
1. ประเด็นสงครามตะวันออกกลางกลับมาปะทุอีกครั้ง ซึ่งปกติเม็ดเงินจะไหลเข้า สู่สินทรัพย์ปลอดภัยชั่วคราว และกดดันตลาดหุ้นโลกปรับฐาน ส่วน SET INDEX มีโอกาสย่อตัวแรงสุด 60 – 80 จุด ช่วงสั้นๆ ก่อนที่ฟื้นกลับขึ้นมาใน ระยะถัดไป
2. FUND FLOW บางส่วนเคลื่อนย้าย หรือรอสะสมตลาดหุ้นจีนเพิ่ม สะท้อนได้ จากมูลค่าซื้อขายหุ้นจีนก่อนหยุดยาวสูงถึง 12 ล้านล้านบาทในวันเดียว หนุนหุ้นจีนก่อนวันหยุดยาว +8% และ 1 สัปดาห์ +25% ขณะที่ตลาดหุ้น ฮ่องกงกลับมาเปิดทำการวานนี้ +6%
แม้ FUND FLOW ต่างชาติจะไหลออกจากหุ้นไทยเยอะในช่วง 2 วันที่ผ่านมา ปกติเม็ด เงินระดับนี้มีโอกาสกดดันให้ SET INDEX -2% ถึง -3% ได
แต่ตลาดหุ้นไทยกลับ +0.2%MTD ถือว่า OUTPERFORM กว่าตลาดหุ้นโลกปรับ ฐานลงมา -0.7%MTD, NASDAQ -1.5%MTD, เกาหลีใต้ -1.2%MTD เป็นต้น
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ เม็ดเงินกองทุนวายุภักษ์ มาได้ถูกเวลาและเริ่มพยุงหุ้นได้ดี โดย 2 วันแรกของ 4Q67 ซื้อสุทธิหุ้นไทยไป 8.1 พันล้านบาท และเชื่อว่าน่าจะช่วงพยุงดัชนีให้ ผันผวนน้อยลงจากผลกระทบต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในช่วงที่เหลือของปีได้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities