ข่าวสารทองคำประจำวัน
ทองคำโลกปิดลบต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ปิดที่ $2,634 หลังราคาทองคำทำ All Time High ที่ระดับ $2,685 โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ จากการที่เจอโรม พาวเวล ส่งสัญญาณว่า เฟดไม่รีบร้อนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% จำนวน 2 ครั้ง รวมเป็น 0.50% ภายในสิ้นปีนี้ หากเศรษฐกิจมีพัฒนาการที่เป็นไปตามคาด ขณะที่ปัจจัยที่จะต้องจับตาในสัปดาห์นี้ นักลงทุนจะให้ความสำคัญกับรายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ได้แก่ รายงานยอดตำแหน่งงานเปิดรับใหม่,ยอดการจ้างงานภาคเอกชน โดย ADP,ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม และรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการเดือนกันยายน พร้อมกับรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟด หากข้อมูลตลาดแรงงานแข็งแกร่ง อาจทำให้นักลงทุนทยอยปรับลดความคาดหวังการเร่งลดดอกเบี้ยของเฟดบ้างซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่อทอง แต่หากข้อมูลออกมาแย่จะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้เฟดลดดอกเบี้ยตามตลาดคาดหวังซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาทอง MyGOLD Plus Investment research Dept. คาดการณ์ว่าระยะยาวราคาทองคำจะยังคงทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2568 จากการที่กระแสเงินทุนจำนวนมากที่ไหลเข้าสู่กองทุน ETF ทองคำ รวมทั้งแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางทั่วโลกจะเดินหน้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก
การลดดอกเบี้ยโดยเฟดมักส่งผลบวกต่อราคาทองคำ โดยมีเหตุผลหลักๆ ดังนี้:
ต้นทุนค่าเสียโอกาสที่ลดลง: เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ผลตอบแทนจากการถือครองสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดดอกเบี้ย เช่น เงินฝากหรือพันธบัตร จะลดลง ทำให้ทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากขึ้นสำหรับนักลงทุน
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง: การลดดอกเบี้ยโดยเฟดมักทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง เนื่องจากนักลงทุนจะแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าในสกุลเงินอื่น ทองคำซึ่งซื้อขายเป็นดอลลาร์สหรัฐ จะมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ส่งผลให้ความต้องการทองคำเพิ่มขึ้นและราคาทองคำสูงขึ้น
ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ: การลดดอกเบี้ยโดยเฟดมักเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะถดถอย ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน นักลงทุนมักจะหันไปลงทุนในทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย เพื่อป้องกันความเสี่ยงและรักษามูลค่าของเงินลงทุน ตัวอย่างจากอดีต: ช่วงปี 1995 - 1999, 2001 - 2004, และ 2007 - 2015: ในช่วงเวลาเหล่านี้ เฟดได้ลดอัตราดอกเบี้ย และราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในระยะกลางถึงระยะยาวหลังจากการลดดอกเบี้ย
อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างการลดดอกเบี้ยของเฟดและราคาทองคำ ไม่ใช่กฎตายตัว และอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อราคาทองคำด้วย เช่น อัตราเงินเฟ้อ สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ และความเชื่อมั่นของนักลงทุน ดังนั้น การตัดสินใจลงทุนในทองคำควรพิจารณาจากปัจจัยหลายๆ ด้าน ไม่ใช่เพียงแค่การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของเฟดเพียงอย่างเดียว
ข้อมูลทางเทคนิคแนวโน้มราคาทองคำ
สำหรับวันนี้ราคาทองโลกเปิดตลาดที่ระดับ 2,633 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับราคาทองคำแท่ง 96.5% ในประเทศคาดการณ์ตอนเปิดตลาดขายออกบาทละ 40,500บาท สำหรับมุมมองทางเทคนิคราคาทองคำโลกภาพรวมใหญ่ยังอยู่ในเทรนด์ขาขึ้น การย่อซื้อยังได้เปรียบตลาดโดยยังคงเคลื่อนไหวเหนือเส้นค่าเฉลี่ยทั้งหลาย โดยเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น-กลาง-ยาว ยังคงทำ slope (ความชัน) เป็นบวกและเรียงตัวในทิศขึ้น แนวโน้ม Sideway Up แต่เนื่องด้วย RSI อินดิเคเตอร์สะท้อนภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) ในกราฟราย 1 วัน เลยส่งผลให้เกิดแรงเทขายรุนแรงตามมา โดยทำให้ราคาทองมีแนวโน้มกลับไปทดสอบแนวรับแถว 2,635-2,625 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับทองในประเทศจะยังคงได้รับอิทธิจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ราคาทองช่วงราคาโลกปรับตัวลงทำให้ราคาทองในประเทศลงแรง
ราคาสูงสุดต่ำสุดของราคาทองโลกเมื่อวานนี้
สูงสุด 2,666 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่ำสุด 2,624 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธการลงทุนทองคำ (Buy)
ราคาทองโลก (Gold Spot):
แนวรับ 2,635/2,625 ดอลลาร์ต่อออนซ์
แนวต้าน 2,650/2,665 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ทองคำทองคำแท่งน้ำหนัก 1 บาท 96.5%:
แนวรับ 40,450/40,350บาท
แนวต้าน 40,500/40,650บาท
หมายเหตุ ราคาทองไทยเป็นราคาโดยประมาณซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามทิศทางค่าเงิน
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญวันนี้
ยอดตำแหน่งงานเปิดรับ และดัชนี ISM PMI ภาคการผลิต โดยเฉพาะ รายงานยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (Job Openings) สหรัฐ
กองทุน SPDR (กองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
ถือครอง 871.94ตัน(คงที่)
อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯล่าสุด
ดอกเบี้ยสหรัฐล่าสุดอยู่ที่ระดับ 4.75-5.00%
บทวิเคราะห์ข้างต้นจัดทำขึ้นสำหรับกลุ่มลูกค้าของบริษัทฯเท่านั้น บริษัทฯไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ต่อการวิเคราะห์ข้างต้น การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณในการลงทุนด้วยตัวของท่านเอง บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นโดย MyGOLD Plus Investment research Dept.