Recession fear is brewing
World: ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงแรงนําโดยดัชนีหุ้นสหรัฐฯ ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกพุ่งสูงขึ้นเกินคาดและท่า จุดสูงสุดในรอบ 1 ปี นอกจากนั้น รายงานติวเล็บ ISM ภาคการผลิต ประจําเดือนกรกฎาคมยังออกมาน่าผิดหวัง โดยอยู่ที่ระดับ 46.8 ต่ากว่าที ตลาดคาดการณ์อย่างมีนัยสําคัญ และถือเป็นระดับต่าสุดในรอบ 8 เดือน ท่าให้ดัชนี Global PMI ภาคการผลิตในเดือนเดียวกันหลุดระดับ 50.0 ลง มาอีกครั้ง (รูปที่ 1) ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มเป็นกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯและ เศรษฐกิจโลกกําาลังเข้าสู่ภาวะหดตัวมากขึ้น สะท้อนผ่าน Bond yield สหรัฐฯ 10 ปีที่ล่าสุดหลุดระดับ 4% ลงมาแล้ว และเมื่อคืนนี้ Fed Funds futures บ่งชี้โอกาส 100% ในการลดอกเบี้ย Fed ทั้งหมด 3 ครั้งในปีนี้ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกของรอบนี้
สินค้าโภคภัณฑ์เองก็ตาม ขณะเดียวกันตลาดหุ้นยุโรปก็ปรับตัวลดลงน่าโดยกลุ่มสถาบันการเงิน ภายหลังจากเมื่อวาน ธนาคารกลางอังกฤษหรือ (BoE) ปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกของ Cycle มาอยู่ที่ระดับ 5.0% ซึ่งถือเป็น เหตุการณ์ที่เรา าเดือนมาก่อนหน้านี้ว่า ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาหน้าไหน จะทําให้เกิด Surprise ขึ้นในตลาดได้ ซึ่ง Reaction สําคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ วานนี้ ก็คือการปรับตัวอ่อนค่าของสกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง (GBP) อย่าง ชัดเจน ส่งผลให้ในทางอ้อมค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) จึงมีการปรับด้ว แข็งค่าขึ้น เป็นปัจจัยลบต่อสินทรัพย์เสียงในภาพรวมไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือ
Beneficiaries: ประเมินสถานการณ์แบบนี้ส่งผลบวกอย่างมากต่อกลุ่ม Defensive ที่มีคุณลักษณะคล้ายบอนด์ เช่น Global Infra / Global REIT / Utilities ส่วนอีกหนึ่งสินทรัพย์ที่เรามองบวกได้แก่ทองคํา ซึ่งก่อนหน้านี้ ราคาปรับตัวสูงขึ้นมาเพียงเพราะการ Price in ปัจจัยความเป็นไปได้ในการ ลดดอกเบี้ยและความเสี่ยง Geopolitical risk เท่านั้น แต่ยังไม่ได้สะท้อน ปัจจัยความเสี่ยงเศรษฐกิจหดตัวหรือถดถอยแม้แต่น้อย เราแนะน่านัก ลงทุนถือครองทองค่าต่อไปจนกว่าราคาจะขึ้นไปแตะบริเวณ 2,621 เหรียญ ฯ/ออนซ์ ซึ่งจะเป็นระดับที่ตึงตัวในมิติของราคาแท้จริง (Real gold price) ตามโมเดลของเรา SET: มองกลับมาที่เศรษฐกิจไทย เรายังไม่เห็นความเสี่ยงทางด้านภาค การผลิตมากนัก มิหนําซ่า เมื่อวานนี้ดัชนี PMI ของไทยที่จัดทําโดย S&P Global ยังปรับตัวสูงขึ้นท่าจุดสูงสุดใหม่นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีก่อน (รูปที่ 2) รวมไปถึงดัชนียอดคําสั่งซื้อใหม่ด้วยเช่นกัน ประเมินว่ากลุ่มผู้ผลิต ที่เน้นการส่งออกประเภทอาหาร-เกษตร จะเป็นกลุ่มที่สามารถปรับด้ว แข็งแกร่งกว่าตลาดได้ในวันนี้ แม้ว่าดัชนี
SET มีโอกาสที่จะเปิดตลาดใน แดนลบสูง จากการปรับตัวลงของกลุ่ม Oil & Gas และ Electronics ทั้งนี้ Top pick ของเราในกลุ่มส่งออกประจําเดือนสิงหาคมยังคงได้แก่ STA, NER, TEGH, COCOCO, AAI, ITC, TU, GFPT, CPF ส่วนกลุ่มอื่นที คาดว่าจะเป็นหลุมหลบภัยของนักลงทุนในระยะสั้นได้แก่กลุ่ม Utilities และโรงพยาบาล ซึ่งเป็น 2 กลุ่มที่เราเลือกไว้เป็น Top pick ประจําการ ลงทุนในเดือนสิงหาคมด้วยเช่นกัน ได้แก่ GULF, GPSC, BGRIM. BH, BDMS, BCH, CHG ในเชิงกลยุทธ์ คงกรอบแนวรับของ SET เดือนนี้ ที่ระดับ 1300 และ 1270 จุด
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities