รับข้อมูลพรีเมียมสำหรับมหกรรมลดราคา Cyber Monday: ลดสูงสุด 55% InvestingProรับส่วนลด

เศรษฐกิจไตรมาสแรก ขยายตัว +1.5%y/y ดีกว่าที่ตลาดคาด หนุนโดยการขยายตัวต่อเนื่องของก

เผยแพร่ 20/05/2567 10:56

เศรษฐกิจไตรมาสแรก ขยายตัว +1.5%y/y ดีกว่าที่ตลาดคาด หนุนโดยการขยายตัวต่อเนื่องของการบริโภค การลงทุนภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว

  • GDP Q1 2024

    Actual: +1.5%y/y Previous: +1.7%y/y 

    Consensus: +0.8%y/y

  • เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2024 ขยายตัว +1.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่โตราว +1.7% โดยมีปัจจัยหนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกภาคการบริการ (การท่องเที่ยวจากต่างชาติ) การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในระดับสูง ขณะที่ปัจจัยกดดันมาจากการหดตัวลงต่อเนื่องของการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ ส่วนการส่งออกสินค้าก็พลิกกลับมาหดตัว
  • สศช. ประเมินอัตราการเติบโตเศรษฐกิจปี 2024 อาจโตราว +2.0% ถึง +3.0% ลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อน (+2.2% ถึง +3.2%) หนุนโดยการขยายตัวต่อเนื่องของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ส่วนการส่งออกก็จะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น ขณะที่ปัจจัยเสี่ยง คือ ปัญหาหนี้ครัวเรือนและเอกชนที่อยู่ในระดับสูง ผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกรวมถึงตลาดการเงินโลก
  • รายงาน GDP ล่าสุดที่ออกมาดีกว่าคาด ทำให้เราคงมุมมองเดิมว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ในปีนี้ ทว่าโอกาสที่ ธปท. จะตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงก็ยังมีอยู่บ้าง หากแนวโน้มเศรษฐกิจไทย “แย่กว่า” ที่ ธปท. ประเมินไว้ โดยเฉพาะในส่วนของการใช้จ่ายของภาครัฐ ที่ ธปท. ได้คาดหวังว่าจะมีการเร่งเบิกจ่ายตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีนี้

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Real GDP) ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2024 ขยายตัว +1.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดีกว่าที่ตลาดคาดที่ +0.8%

  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2024 ขยายตัว +1.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยยังมีปัจจัยหนุนจากการบริโภคภาคเอกชน +6.9% การส่งออกบริการซึ่งส่วนใหญ่คือ การท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง +24.8% ทว่า แม้การลงทุนภาคเอกชนจะยังโต +4.6% ทว่าการลงทุนของภาครัฐยังคงหดตัวลงต่อเนื่องถึง -27.7% นอกจากนี้ การส่งออกสินค้าก็พลิกกลับมาหดตัวราว -2.0% กดดันการเติบโตของเศรษฐกิจ
  • สศช. “ปรับลดคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2024 เป็นขยายตัว 2.0%-3.0% (เดิม 2.2%-3.2%) โดยในปีหน้าเศรษฐกิจไทยยังคงได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวต่อเนื่องของการลงทุนโดยรวม การฟื้นตัวดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยว รวมถึงแนวโน้มการบริโภคภาคเอกชนที่จะขยายตัวราว +4.5% ส่วนการส่งออกก็จะพลิกกลับมาขยายตัวได้ราว +2.0%
  • นอกจากนี้ ในการปรับประมาณการเศรษฐกิจใหม่ สศช. ได้ประเมินอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2024 ในกรอบ 0.1%-1.1% (เดิม 0.9%-1.9%) เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับลดคาดการณ์อัตราการเติบโตเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน สศช. ได้ประเมิน ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2024 อาจเกินดุลราว 1.2% ของ GDP ใกล้เคียงกับการเกินดุลในปี 2023 (ลดลงจากคาดการณ์ก่อนหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับลดคาดการณ์มูลค่าการส่งออก และการปรับเพิ่มคาดการณ์มูลค่าการนำเข้า)

เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีกว่าคาดทำให้เราคงมองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยคงดอกเบี้ยที่ 2.50% ในปีนี้ แต่ต้องจับตาความเสี่ยงจากการเบิกจ่ายของภาครัฐ และแนวโน้มดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางหลัก

  • รายงาน GDP ไตรมาสแรกของปีนี้ ทำให้ เราคงมุมมองเดิมว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2024 มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีขึ้น และอาจสอดคล้องกับคาดการณ์ของทาง ธปท. โดยทาง ธปท. ได้ประเมินโมเมนตัมเศรษฐกิจ %q/q อาจสูงกว่า +1%q/q จนถึงช่วงไตรมาสที่ 3 ก่อนจะชะลอลงบ้างในช่วงปลายปี (บนสมมติฐานที่ไม่รวมผลของมาตรการ Digital Wallet ที่อาจเกิดขึ้น) ทำให้ ธปท. อาจยังไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง หากพัฒนาการของเศรษฐกิจไทยก็เป็นไปตามที่ ธปท. ประเมินไว้ ทำให้เราคงมุมมองเดิมว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% ในปีนี้
  • จากงานสัมนา Monetary Policy Forum เดือนเมษายน เรามองว่า การเบิกจ่ายของภาครัฐ และการส่งออกสินค้าที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างและการแข่งขันที่รุนแรงจากสินค้าจีน จะเป็นหนึ่งในตัวแปรที่อาจส่งผลให้ ธปท. เริ่มส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นได้ โดยหาก การเบิกจ่ายของภาครัฐและการส่งออกสินค้า แย่กว่าที่ทาง ธปท. ประเมินไว้ชัดเจน จนทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนไปจากคาดการณ์ของ ธปท. ก็อาจทำให้ ธปท. มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงได้บ้าง ซึ่งการลดดอกเบี้ยอย่างเร็วสุด (ถ้ามี) ก็อาจเกิดขึ้นในการประชุมเดือนสิงหาคม หลัง ธปท. รับรู้ข้อมูลการเบิกจ่ายของภาครัฐและเห็นแนวโน้มการส่งออกสินค้ามากขึ้น นอกจากนี้ หากบรรดาธนาคารกลางหลัก โดยเฉพาะ เฟดสามารถทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ ตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 3 ก็อาจเพิ่มโอกาสที่บรรดาธนาคารกลางในฝั่งเอเชีย รวมถึง ธปท. จะสามารถทยอยใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายได้ หลังแรงกดดันต่อค่าเงินเริ่มลดลงไปมาก เมื่อเฟดเริ่มลดดอกเบี้ยได้จริง

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย