Trade recap / FOMC preview
• SET: คาด SET Index ปรับทรงตัวต่อไป เนื่องจากยังไม่เห็นปัจจัยกระตุ้น ใหม่ แถมราคาน้ามันดิบย่อตัวลงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ นอกจากนั้น ยังคงพบ เห็นการอ่อนค่าของเงินบาทที่มากกว่าภูมิภาค ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากตัวเลข ดุลการค้าที่ออกมา Surprise ในทางลบเมื่อวานนี้ ท่าให้ต้องติดตามต่อมา ยังตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดที่จะออกมาในวันนี้เช่นกัน หากออกมาตากว่า ที่ตลาดคาดว่าจะเกินดุล 1.9 พันล้านเหรียญฯ มีโอกาสที่เงินบาทจะถูก กดดันต่อไปได้ ซึ่งก็จะทําให้ Fund flow ยังไม่สามารถเข้ามาได้อย่าง ยั่งยืนแต่อย่างใด สาหรับด้วเลขเศรษฐกิจเช้านี้ จีนรายงาน PMI ภาคการ ผลิตเดือนเมษายนที่ระดับ 50.4 ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ มองไม่ น่ามีผลกระทบอย่างสําคัญ
• Trade data: ไฮไลท์จากตัวเลขส่งออก-น่าเข้าของไทยเดือนมีนาคมที่ ออกมาเมื่อวานนี้ มีดังนี้
1) การส่งออกหดตัว 10.9% แย่กว่าที่ตลาดคาดว่าจะหดตัว 4.0% และ ยังถือเป็นการหดตัวมากสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2022 ส่งผลให้ ดุลการค้าเดือนมี.ค.ขาดดุลสูงถึง 1.2 พันล้านเหรียญฯ สวนทางกับที ตลาดคาดว่าจะเกินดุล 1 พันล้านเหรียญฯ
2) การส่งออกที่ย่าแย่ในเดือนมี.ค.เกิดจากกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเป็น หลัก (-12%) อาทิ รถยนต์และสปก. (-12%), คอมพิวเตอร์และสปก. (-12%), เครื่องปรับอากาศและสปก. (-13%) นอกจากนั้นทองคํายัง เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสําคัญ (-75%) ซึ่งหากตัดออกไป การส่งออกที่ เหลือจะหดตัวเพียง 7%
3) สินค้าส่งออกที่ดีมาก ได้แก่ น้ําผลไม้ (โดยเฉพาะน้ํามะพร้าว), ผลไม้ กระป๋อง, อาหารสัตว์เลี้ยง, ถุงมือยาง ดังนั้น เราจึงแนะน่า Overweight หุ้นกลุ่มส่งออกต่อไป โดยมี Top picks ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าดังกล่าว เช่น COCOCO, PLUS, MALEE, AAI, ITC, STGT เราแนะน่า อ ครองหุ้นกลุ่มนี้ต่อไป ซึ่งจะเป็นกลุ่ม Top pick ของเราต่อเนื่อง ในเดือนพ.ค.ด้วยเช่นกัน
4) การส่งออกไปจีนกลับมาหดตัวในระดับสูงอีกครั้งที่ 10% ในขณะที่การ ส่งออกไปญี่ปุ่น เริ่มเห็นผลกระทบจากค่าเงินเยนอ่อนค่า หดตัวไปถึง 19% ด้วยกัน ทั้งนี้ เราแนะนําาให้ใช้ความระมัดระวังต่อกลุ่มสินค้าที่มี สัดส่วนการส่งออกไปที่ญี่ปุ่นในระดับสูงอย่าง รถยนต์ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบ, ไก่แปรรูป, และแผงวงจรไฟฟ้า โดยมีหุ้นที่ขึ้นมาแรง แล้วมองว่าน่า Lock profit สําหรับผู้ที่มีกําไร อาทิเช่น GFPT
5) เริ่มเห็นต้นทุนการนําเข้าที่สูงขึ้นในฝั่งของสินค้าเชื้อเพลิง ตามราคา น้ามันดิบที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับฐานปีก่อน คาดปัจจัยดังกล่าวจะมี อิทธิพลไปตลอดไตรมาสที่ 2 นี้ จากฐานราคาน้ํามันที่อยู่ต่ําาเมื่อเทียบ กับระดับปัจจุบัน ซึ่งจะนําไปสู่แรงกดดันต่อดุลการค้าและเงินบาท ตลอดทั้งไตรมาส 2 ไม่นับรวมกับ Headline CPI ของไทยที่เรา ประเมินว่าจะเริ่มกลับมาขยายตัวเป็นบวกด้วยเช่นกัน
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities