รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ปัจจัยแวดล้อมดูดีกว่า 2 เดือนที่แล้วมาก 

เผยแพร่ 09/11/2566 11:10
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ในเดือน ก.ย. - ต.ค. SET INDEX ปรับตัวลงมาเกือบ -13% ภายใต้แรงกดดัน จาก BOND YIELD 10 ปีสหรัฐที่ขึ้นแรงกว่า 82 BPS. มาอยู่ที่ 4.92%, เกิด สงครามระหว่างอิสราเอลกับฮามาส, เกิดเหตุกราดยิงกลางเมือง, กังวลเรื่องการ ชะลอของเศรษฐกิจไทยและกำไรบริษัทจดทะเบียน ส่งผลให้มูลค่าซื้อขายของนัก ลงทุนรายย่อยซบเซา ตามดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุนของ FETCO แต่ฝ่ายวิจัยฯ เชื่อว่า ในเดือน พ.ย. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนน่าจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ด้วยปัจจัยต่างๆ ดังนี้ 1. BOND YIELD 10 ปีสหรัฐลงมาเร็วกว่า -42 BPS. ล่าสุดอยู่ที่ 4.50%, 2. วัฏ จักรดอกเบี้ยขาขึ้นทั้งไทยและต่างประเทศใกล้จบลง 3. คาดกำไร 3Q66 มีโอกาส เติบโตทั้ง QOQ และ YOY 4. ทิศทางกำไรงวด 3Q66 ที่รายงานออกมาแล้ว 110 บริษัท ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดถึง 14% ผิดกับรอบก่อนๆ ที่ออกมาต่ำกว่าคาด ทุกรอบในปีนี้

ทุกปัจจัยล้วนลดแรงกดดัน และหนุนให้ SET INDEX น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ส่วน ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดหุ้นวันนี้ คือ เงินเฟ้อจีนเดือน ต.ค. ออกมา -0.2%YOY ตรงตามที่ตลาดคาด และคืนนี้นักลงทุนรอฟังถ้อยแถลงทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ จากประธาน FED เวลา 02.00 น. โดยวันนี้ประเมิน SET INDEX ขยับตัวในกรอบ 1403–1418จุด หุ้น TOP PICK เลือก TU, GULFและ CPN

เศรษฐกิจภาพใหญ่ยังต้อง MONITOR

ภาพรวมตลาดหุ้นวานนี้ยังดูทรงๆ โดยในฝั่งสหรัฐปิดตัวราว -1.1% ถึง +0.1% ขณะที่ฝั่งยุโรปปิดตัวราว -0.1% ถึง +0.7% ขณะที่ BOND YIELD 10 ปีสหรัฐฯ ร่วง ลงหลุด 4.5% แล้ว หลังประธาน FED ไม่ได้กล่าวถึงนโยบายการเงิน รวมถึงแนวโน้ม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในการประชุมวาระครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งแผนกสถิติและ วิจัยของFED เมื่อคืนนี้

ส่วนราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลงสู่ 75.6 ดอลลาร์ /บาเรล ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. จนเข้าโซน OVERSOLD ท่ากลาง ความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว หลัง API เผยสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐพุ่งเกือบ 12 ล้าน บาร์เรล อีกทั้ง EIA ได้ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ WTI ในปี 2567 สู่ระดับ 89.24 ดอลลาร์/บาร์เรล (เดิมคาด 90.4 ดอลลาร์/บาร์เรล) สวนทางตลาดคาดว่าจะ ลดลง 300,000 บาร์เรล นอกจากนี้ราคาน้ำมันยังมีแรงกดจากสงครามอิสราเอล-ฮามาส ที่ยังอยู่ในวงจำกัด อย่างไรก็ตามความรุงแรงในการสู้รบไม่ได้น่าไว้วางใจ เนื่องจาก สถานการณ์อาจพลิกผันได้ทุกเมื่อ

สำหรับประเด็นที่อาจกำหนดทิศทางสินทรัพย์เสี่ยงในชวงนี้ มีทั้งการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจจีน โดยเช้านี้มีรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ต.ค. ออกมา -0.2%YOY ตาม คาด สะท้อนการบริโภคที่ยังกลับมาได้ไม่เต็มที่ จึงคาดหวังว่ารัฐบาลจีนเร่งฟื้นฟู เศรษฐกิจต่อเนื่อง เพื่อให้ GDP GROWTH ในปี2566 เติบโตตามเป้าหมายที่ 5% ดังที่ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) ออกมาสร้างความเชื่อมั่นล่าสุด

นอกจากนี้วันที่ 10 พ.ย.เวลา 02.00 น. (ตามเวลาไทย) ในช่วงท้ายของงานเสวนา 24TH JACQUES POLAK ANNUAL RESEARCH CONFERENCE ของ IMF จะ เป็นช่วงที่ประธาน FED ตอบคำถามเกี่ยวกับนโยบายการเงินของ FED จึงอาจมี สัญญาณการกำหนดทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ ระยะถัดได้

สรุป ภาพรวมตลาดหุ้นยังดูทรงๆ ขณะที่ BOND YIELD สหรัฐฯ และราคาน้ำมันดิบ ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ท่ากลางความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว โดยประเด็นที่อาจกำหนด ทิศทางสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงนี้ ยังต้องรอติดตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีน รวมถึง สัญญาณการกำหนดทิศทางดอกเบี้ยของ FED บวกกับความเสี่ยงเชิงภูมิรับศาสตร์

ปัจจัยแวดล้อมดูดีกว่า 2 เดือนที่แล้วมาก

ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มีหลายปัจจัยทั้งนอกและในประเทศ กดดันตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึง SET INDEX ที่ปรับตัวลง184จุด หรือ -13% ปิดที่ระดับ 1381.83จุด ขณะที่ วานนี้ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เผยดัชนีความเชื่อมั่นนัก ลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า(ม.ค.67) อยู่ที่ระดับ 76.87 ปรับลง 31.5% จากเดือนก่อน หน้าลงมาอยู่ในเกณฑ์ "ซบเซา" ซึ่งมาจากกลุ่มรายย่อย และบัญชี บล.เป็นหลัก ขณะที่ กลุ่มสถาบันในประเทศ และต่างชาติ ยังอยู่ในเกณฑ์ "ทรงตัว" ซึ่งดัชนีดังกล่าว สอดคล้องกับสัดส่วนการซื้อขายหุ้นไทยของแต่ละนักลงทุน โดยจะเห็นได้ว่า สัดส่วน ของนักลงทุนรายย่อยลดลงอย่างมีนัยฯจากช่วงต้นปีที่มีสัดส่วน 34.0% (คิดเป็น มูลค่าซื้อขาย 2.3 หมื่นล้านบาท)ซึ่งพ.ย.66(MTD) มีสัดส่วน 30.8% (คิดเป็นมูลค่าซื้อ ขาย 1.0 หมื่นล้านบาท)

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

อย่างไรก็ตามนับจากนี้ปัจจัยกดดันเริ่มเบาบาง และมองเห็นแต่ปัจจัยหนุน SET INDEX มากขึ้น ซึ่งแบ่งเป็นปัจจัยนอกประเทศ 2 ประเด็น และ ปัจจัยในประเทศ 2 ประเด็น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

• BOND YIELD US 10 ปี ทยอยปรับตัวลง โดยล่าสุดอยู่ระดับ 4.50% ซึ่ง ปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดในช่วงต้นเดือนนี้ที่ระดับ 4.93%

• เงินเฟ้อของประเทศต่างๆ ชะลอตัวลง จากจุดสูงสุดในช่วงกลางปี 2022 ขณะที่ไทยมีอัตราเงินเฟ้อล่าสุด +0.88%YOY เท่านั้น หลังจากที่ธนาคาร กลางทั่วโลก ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุก ตั้งแต่ปี 2022 และล่าสุดธนาคาร กลางทั่วโลกมีมุมมองผ่อนคลายลงเกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย และมี แนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ต้นปี 2024

• กำไรงวด 3Q66 ประกาศออกมา 110 บริษัทดีกว่าคาดถึง 14% ซึ่งโดยปกติ แล้ว 3 ไตรมาสย้อนหลังมีกำไร NEGATIVE SURPRISE ทั้งสิ้น และ ผลตอบแทนของ SET INDEX มัก UNDERPERFORM ตามมา แต่ปัจจุบันมี โอกาส OUTPERFORM ผิดกับที่ผ่านๆ มา

• กำไรงวด 3Q66 มีโอกาสเพิ่มขึ้นทั้ง QOQ และ YOY โดยอ้างอิงจาก BLOOMBERG CONSENSUS จะเห็นว่า กำไรงวด 3Q66 คาดอยู่ที่ 2.54 แสนล้านบาท (คิดเป็น 83% MARKET CAP) เติบโต 32.5%QOQ และ 36.1%YOY ซึ่งต้องติดตามว่าผลลัพธ์จะออกมาตามคาดหรือไม่

สรุป SET INDEX ปรับตัวลงมาแรงเกิน 180 จุด เพียง 2 เดือนที่ผ่านมา จนทำให้ มูลค่าการซื้อขายเบาบางลงอย่างมีนัยฯ อย่างไรก็ตามหากพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยง นับจากนี้ ไม่เห็นมากนัก และปัจจัยหนุนยังมีอีกมาก ทั้งปัจจัยภายนอก และในประเทศ จึงทำให้มีโอกาสที่นับจากนี้ FLOW ต่างชาติจะทยอยไหลเข้า และกดดันค่าเงินบาทแข็ง ค่าอีกครั้ง ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนเน้นหุ้นขนาดใหญ่ที่มีพื้นฐานสนับสนุน อีกทั้ง กำไรมีโอกาสเติบโตตั้งแต่ 4Q66 จนถึงปี 2567 อาทิ PTTGC AOT (BK:AOT) ERW GULF CK ADVANC BH DELTA CRC BJC MTC SAWAD TIDLOR CPN AP TU เป็นต้น

ส่วน TOPPICKS วันนี้เลือก CPN, GULF, TU

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย