Fed คง อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.5% ตามคาด พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP Growth ปี 2566 เป็น 2.1% ส่วนทิศทางดอกเบี้ยในระยะต่อไปคาดถูกตรึง ไว้ที่ระดับสูงจนถึงกลางปีหน้า สำหรับบ้านเรา กนง. จะมีการประชุมสัปดาห์หน้า เบื้องต้นเราคาดว่าน่าจะเห็นการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.25% แม้จะเห็น สัญญาณ Bond Yield ปรับสูงขึ้น แต่พิจารณาจากต้นเหตุแล้วเห็นว่าน่าจะเกิด จากความคาดหมายเรื่อง Supply ของพันธบัตรที่น่าจะสูงขั้นตามการจัดทำ งบประมาณขาดทุนของรัฐบาลที่มากขึ้น และการใช้เม็ดเงินจำนวนมากของ ภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการปรับตัวในตลาดตราสารหนี้ สำหรับ ปัจจัยที่เรากังวลมากกว่า ได้แก่เรื่องค่าเงินบาทซึ่งเช้านี้อ่อนค่าต่อเนื่องมาที่ 36.28 บาท/USD ซึ่งอาจสร้างแรงกดดันให้Fund Flow ไหลออกต่อ
SET Index ปรับตัวลดลงเข้าใกล้ 1500 จุด ซึ่งเชื่อว่าน่าจะสามารถรักษาฐาน บริเวณดังกล่าวไว้ได้ แนวรับบริเวณ 1495-1500 จุด ส่วนแนวต้าน 1515 จุด หุ้น Top Pick วันนี้เลือก CPN, CRC และTU
ดอกเบี้ยใกล้นิ่ง...แต่ต้องระวังความเสี่ยงปัญหาหนี้พุ่งสูง
ผลการประชุม FOMC วานนี้มีมติคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.5% ตามคาด อย่างไรก็ตามอาจ เห็นการตรึงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงยาวนานกว่าเดิม โดย Dot Plot ส่งสัญญาณว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง สู่ระดับ 5.6% ภายในสิ้นปีนี้ และปรับเพิ่มประมาณการ ดอกเบี้ยในปี 67 จะอยู่ที่ 5.1% (เดือนมิ.ย. คาด 4.6%) โดยมุ่งเป้าให้เกิดการจ้างงาน สูงสุดและจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อให้ลงมาที่ 2% ในระยะยาว ทั้งนี้ผลการสำรวจของ Fed Watch Tool ล่าสุดยังเชื่อว่า Fed จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.5% ไปจนถึงกลางปี 67
นอกจากนี้ Fed ยังมองภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังค่อนข้างแข็งแกร่ง โดยได้มีการ ปรับประมาณการ GDP เพิ่มขึ้นเป็น 2.1%YoY ในปีนี้ (เดิมคาด 1.0%) และยังคงเห็น การเตบโตในปี2567 ที่ 1.5%YoY (เดิมคาด 1.1%) ขณะที่ Jerome Powell ประธาน Fed กล่าวย้ำในการแถลงข่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะ Soft Landing อย่างไรก็ตามภาวะดังกล่าวอาจทำให้ Fed มีโอกาสคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงในระยะยาว จนกระทบต่อการชะลอตัวในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และอาจเพิ่มความเสี่ยงปัญหา หนี้สินที่พุ่งสูงตามมาได้ ขณะที่ปัจจุบันหนี้ภาระสหรัฐพุ่งทะลุ 33 ล้านล้านเหรัยญฯ สูงสุดเป็นประวัติการณ์
ขณะที่บ้านเรา Bond Yield มีการแกว่งตัวสูงขึ้นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยวานนี้ Bond Yield ไทย 1 ปีปรับตัวขึ้นสู่ 2.4% (สูงกว่า Policy Rate ที่ 2.25%) ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะกลไกทางการตลาดที่ Supply เพิ่มขึ้น จากความคาดหวังในการอัด มาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทำให้ฝ่ายวิจัยประเมินว่าการประชุม กนง. ใน วันที่ 27 ก.ย. จะเห็นการคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยบ้านเรายังมี ความเสี่ยงที่จะขยับตัวสูงขึ้น หากภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ในระยะถัดไป ซึ่งอาจมาพร้อมกับความเสี่ยงปัญหาภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นด้วย
สรุป ดอกเบี้ยสหรัฐเข้าใกล้นิ่งมากขึ้น แต่ยังต้องรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจอย่าง ใกล้ชิด ทั้งนี้หากภาพรวมยังดูดี มีโอกาสที่จะเห็น Fed ตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูง ยาวนานขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาหนี้สินพุ่ง ส่วนบ้านเราในการประชุมสัปดาห์หน้า ฝ่ายวิจัยประเมินว่า กนง. จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 2.25% ซึ่งเป็นจุดที่เหมาะสมในระยะกลาง อย่างไรตามดอกเบี้ยบ้านเรายังมีความเสี่ยงที่จะขยับตัวสูงขึ้น หากภาพรวมเศรษฐกิจ ไทยยังขยายตัวได้ในระยะถัดไป
ความคืบหน้า แนวทางปรับลดค่าไฟฟ้า และนโยบายลด ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หวังช่วยแบ่งเบาภาระประชาชน
หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีนโยบายให้ปรับลดค่าไฟฟ้างวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2566 ลงจากเดิม 4.45 บาท/หน่วย เหลือ 3.99 บาท/หน่วย โดยล่าสุดที่ ประชุม (กกพ.) ได้หารือกับ กฟผ. และ ปตท. (BK:PTT) เพื่อหาแนวทางปรับลดค่าไฟฟ้างวด เดือน ก.ย.-ธ.ค. 2566 ลง เพื่อให้เป็นไปตามมติ ครม. ซึ่งก่อนหน้านี้ ครม.ที่ข้อเสนอ
ของกระทรวงพลังงานที่กำหนดให้ 1) ปตท.ปรับลดราคาก๊าซธรรมชาติลงจากเดิม 323.37 บาท/ล้านบีทียู เหลือไม่เกิน 304.79 บาท/ล้านบีทียู 2.) ให้ กฟผ. แบกภาระค่า ไฟคงค้างในช่วงก่อนหน้า และเว้นการเรียกเก็บเงินคืนที่จะเกิดขึ้นในงวดเดือน ก.ย.- ธ.ค. 2566ที่ 38.31 สตางค์/หน่วย ออกไปก่อน ทั้งนี้ในส่วนของการประชุมดังกล่าว ยังไม่ใช่การประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งแต่ขั้นตอนต่อไปทั้ง ปตท. และ กฟผ. จะต้องเสนอราคาก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้ามายัง กกพ. เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอน ปฏิบัติ และสามารถเรียกเก็บไฟฟ้า 3.99 บาท/หน่วยได้ต่อไป
ประเด็นดังกล่าวถือเป็น Sentiment เชิงลบ กดดันต่อกลุ่มโรงไฟฟ้าที่มีสูตรราคาอิง กับค่า Ft ให้มีผลประกอบการปรับตัวลดลงได้ ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า SPP อาทิ GPSC, BGRIM, GULF เป็นต้น รวมถึงกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่มีสูตรโครงสร้าง ราคาค่าไฟฟ้าผันแปรกับค่า Ft เช่น EA, GUNKUL, TPIPP, BCPG, SSP เป็นต้น
ราคาค่าไฟฟ้าผันแปรกับค่า Ft เช่น EA, GUNKUL, TPIPP, BCPG, SSP เป็นต้น ทั้งนี้ กลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ที่มีสัดส่วนขายไฟฟ้าใกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง อาทิ GPSC (สัดส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 30% ของ รายได้รวม) , BGRIM (สัดส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้าอุตสาหกรรมราว 27% ของรายได้รวม), GULF (สัดส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้าให้ลูกค้า อุตสาหกรรมราว 13% ของรายได้รวม) จะได้รับผลกระทบจากอัตรากำไรที่ลดลง จากเดิมที่เคยมีการเรียกเก็บค่า Ft ในงวด ก.ย.-ธ.ค. 2566 ที่ 66.89 สตางค์/หน่วย (ซึ่งเมื่อรวมกับค่าไฟฐาน 3.79 บาท จะส่งผลให้อัตราค่าไฟ/หน่วยสุทธิอยู่ที่ 4.45 บาท/หน่วย) จึงคาดผลประกอบการของกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ในงวด 4Q66 ปรับตัว ลดลง QoQ
เบื้องต้น หากอิงสมมติฐานค่า Ft ลดลงจากเดิมราว 46.0 สตางค์/หน่วย และราคา ก๊าซฯลดลงจากเดิมราว 18.6 บาท/ล้านบีทียู ตามแนวทางข้างต้น ในรอบ 4 เดือน (ก.ย.-ธ.ค. 2566) คาดจะส่งผลกระทบต่อกำไรของ BGRIM และ GPSC ราว 10-15% และ GULF ราว 1.5% จากประมาณการกำไรปี 2566 ที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้
ขณะที่ประเด็นเพิ่มเติม คือ การลดราคาสินค้าเกษตร หลัง รมว.พาณิชย์ ได้มอบ นโยบายเร่งด่วนให้กรมการค้าภายในไปดูเรื่องการลดราคาสินค้าเกษตร ภายใน 15 วัน รวมแล้วกว่า 20 รายการ อาทิ ข้าว ไข่ ไก่ หมู เป็นต้น เพื่อบรรเทาค่าของชีพต่อประชาชน ซึ่งต้องติดตามว่าจะลดลงได้มากเพียงไหน โดยคาดว่าจะเห็นความคืบหน้า ช่วงต้นเดือน ต.ค.66 ประเด็นดังกล่าวสร้าง Sentiment เชิงลบต่อกลุ่มเกษตร อาทิ CPF TFG GFPT BRR แต่สร้าง Sentiment เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มอาหาร อาทิ MINT M NSL SNNP เป็นต้น
สรุป มติ ครม.ที่มีนโยบายช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชน เริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยการลดราคาไฟฟ้าจากเดิม 4.45 บาท/หน่วย เหลือ 3.99 บาท/หน่วย ส่งผลลบต่อ หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามถือเป็นโอกาสดี สำหรับนักลงทุน ระยะกลาง-ยาวที่จะสะสมหุ้นถูกลง โดยฝ่ายวิจัยฯเลือก GULF เป็น Toppick กลุ่มฯ จากผลกระทบต่อกำไรสุทธิน้อยสุด และ เห็นการทยอยฟื้นตัวขึ้นจากฐานกำไรที่ต่ำใน ปี 2565
ต่างชาติมีสัดส่วนซื้อขายหุ้นไทยขึ้นแซงคนไทยแล้ว กดดันหุ้น ใหญ่มีโอกาสผันผวนมากขึ้น
ฝ่ายวิจัยฯ ทำการศึกษาข้อมูลการซื้อขายหุ้นไทยของนักลงทุนไทยเทียบกับนักลงทุน ต่างชาติ พบว่า นักลงทุนต่างชาติมีนัยสำคัญต่อตลาดหุ้นไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนี้ เริ่มจาก แม้ปัจจุบันมูลค่าซื้อขายหุ้นไทยลดลงมาเหลือเพียง 1.2 ล้านล้านบาท/เดือน ลดลงเมื่อเทียบกับช่วง 2 ปีที่แล้วที่อยู่ระดับเกินกว่า 2 ล้านล้านบาท/เดือน
แต่พอลงไปดูรายละเอียด พบว่า มูลค่าซื้อขายหุ้นไทยเป็นการลดลงจากสัดส่วนการ ซื้อขายของนักลงทุนรายย่อยเป็นหลัก จากช่วงก่อนเกิด Covid-19 นักลงทุนไทยซื้อ ขายหุ้นไทยในสัดส่วนเกิน 70% แต่ปัจจุบันลดลงมาเหลือเพียง 49.2% ต่างกับนัก ลงทุนต่างชาติที่เคยซื้อขายหุ้นไทยไม่ถึง 30% ในช่วงก่อนเกิด Covid-19 แต่ปัจจุบันสัดส่วนต่างชาติซื้อขายหุ้นไทยขึ้นมาอยู่ที่ 50.8% สูงกว่ามูลค่าซื้อขายจากนักลงทุน ไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แตกต่างกันกับสัดส่วนการถือครองหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาติที่ต่ำกว่าในอดีต มาก โดยปัจจุบันต่างชาติถือครองหุ้นไทยทางตรงเพียง 23.9% (และ 18.7% กรณีไม่ รวมหุ้น DELTA)
ต่างชาติถือหุ้นไทยน้อยลง แต่มีการซื้อขายหุ้นไทยที่ร้อนแรงขึ้น (ส่วนหนึ่งอาจจะมา จากการซื้อขายผ่านระบบ Algo Trade) หนุน Turnover สูงขึ้นมาก โดยปัจจุบันนัก ลงทุนต่างชาติหมุนการซื้อขายหุ้นไทยสูงถึง 2.47 เท่า ของนักลงทุนไทยทั้งหมด (ผิด กับช่วง 10 ปี ที่แล้ว ที่ต่างชาติยังซื้อขายหุ้นไทยน้อยกว่าคนไทยพอสมควร)
แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันสภาพคล่องในตลาดหุ้นมีน้ำหนักจากนักลงทุนต่างชาติเป็น หลัก แม้ต่างชาติจะถือหุ้นไทยน้อยมาก ส่งผลให้ราคาหุ้นขนาดใหญ่มีโอกาสผันผวน มากกว่าในอดีตมาก ส่วนหุ้นขนาดเล็กพื้นฐานดีที่ต่างชาติยังซื้อขายน้อยน่าจะเป็นที่ หมายปองของนักลงทุนไทยในประเทศมากขึ้น
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities