รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ดูเงินไหลออก บาทอ่อน ... กังวลเรื่องดอกเบี้ย 

เผยแพร่ 20/09/2566 09:34

เงินบาทอ่อนค่าลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะมีสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องหลายประการ เริ่มจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น โดย Brent ล่าสุดอยู่ที่ 94.6 เหรียญฯ/ บาร์เรล สร้างความกังวลว่าการขาดดุลการค้าของบ้านเราอาจสูงขึ้น เนื่องจาก สินค้าในกลุ่มเชื้อเพลิงมีสัดส่วนการนำเข้าสูงเป็นอันดับที่ 1 และในอีกทางหนึ่งก็ เป็นแรงกระตุ้นเงินเฟ้อให้สูงขึ้น และเมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้น ทิศทางอัตราดอกเบี้ยก็อาจ กลับไปอยู่ในสภาวะที่เสียงต่อการปรับตัวสูงขึ้นไปอีก ในส่วนของตลาดการเงิน การที่เงินบาทอ่อนค่า ส่งผลทำให้Fund Flow ไหลออกต่อเนื่องทั้งจากตลาดหุ้น และตราสารหนี้ นอกจากนี้ในอีกด้านหนึ่งคำเตือนของ Fitch Rating ที่อาจลด อันดับความน่าเชื่อถือของบ้านเราหากมีการก่อหนี้สูงขึ้น ก็เป็นอีกหนึ่งแรงกดดัน ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว เมื่อนำไปรวมกับสัญญาณ Technical ที่เป็นลบ น่าจะทำให้SET Index ผันผวนในทิศทางลง แต่ Downsideไม่ต่ำกว่า 1500 จุด

สัญญาณลบจากการที่ SET Index หลุด 1530 จุดลงมา ยังมีผลอยู่ ซึ่งน่าจะทำ ให้เห็นการผันผวนในทิศทางลดลง กรอบวันนี้กำหนดที่ 1515 – 1530 จุด หุ้น Top Pick เลือก BEM, CPFและTU

จับตาการประชุมธนาคารกลางหลายแห่ง ลุ้นวัฎจักรดอกเบี้ยขา ขึ้นจบหรือไม่ ? หลังราคาน้ำมันขึ้นแรง

ราคาน้ำมันดิบล่าสุดยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังมีแรงขับเคลื่อนทั้งจากฝั่ง Demand และฝั่ง Supply โดย Brent และ WTI ปรับขึ้น 25% และ 29% QTD ซึ่งทำให้ ความกังวลว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโมปรับขึ้นอีกครั้ง จึงทำให้นักลงทุนกังวลว่าการ ประชุมของธนาคารกลางต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในเดือน ก.ย.66 มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อรอรับผลกระทบดังกล่าว หรือไม่ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

• การประชุม Fedในวันที่ 20 ก.ย.66 Consensus คาดว่า Fed จะคงดอกเบี้ย ไว้ที่ 5.5% สอดคล้องกับการสำรวจของ Fed Watch Tool ที่ให้ความน่าจะ เป็นสูงถึง99%

• การประชุม BOE ในวันที่ 21 ก.ย. 66 Consensus คาดว่า BOE จะขึ้น ดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ระดับ 5.5%

• การประชุม BOJ ในวันที่ 22 ก.ย. 66 Consensus คาดว่า BOJ จะยังคง ดอกเบี้ยไว้ที่ -0.1%

• การประชุม BOT ในวันที่ 27 ก.ย.66 Consensus ยังไม่มีการคาดการณ์แต่ อย่างใด

ด้วยความกังวลว่าวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นยังไม่จบ หนุนให้ เม็ดเงินไหลออกจาก สินทรัพย์เสี่ยงเข้าสู่ Dollar Index โดย Flow ต่างชาติขายสุทธิทั้งตลาดหุ้น และตลาด ตราสารหนี้

เช่นเดียวกับ Fund Flow ในตลาดการเงินของไทย ที่ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. ถึงปัจจุบัน ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท (MTD) ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวลง - 2.74% และขายสุทธิตราสารหนี้ไทยกว่า 2.0 หมื่นล้านบาท (MTD) ส่งผลให้ Bond Yield 1 ปี ปรับขึ้นกว่า 21 bps. มาอยู่ที่ 2.4% (สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25%) ดังนั้นจึงเห็นค่าเงินบาทอ่อนค่ากว่า 3%(Mtd) อยู่ที่ระดับ 36.09 บาท/เหรียญฯ

สรุป ด้วยราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นแรง ส่งผลให้ความกังวลการเร่งขึ้นดอกเบี้ยยังมี อยู่ ทั้ง FED BOE BOJ และ BOT ที่จะมีการประชุมในช่วงที่เหลือของเดือนนี้ จึงเป็น ประเด็นกดดันให้เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลเข้า Dollar Index และส่งผลให้ค่าเงินบาททะลุแนว ต้านสำคัญที่ระดับ 36 บาท/เหรียญฯได้ไม่ยากนัก

เงินเฟ้อเสี่ยงเพิ่ม + ฐานะการคลังไทยเสี่ยงอ่อนแอ...พาเงินบาท อ่อนค่า

วานนี้เงินบาทวิ่งทะลุ 36 บาท/USD ทำจุดสูงสุดในรอบ 10 เดือน แม้ Dollar Indexจะ ปรับลดลง ซึ่งการที่เงินบาทอ่อนค่าอย่างรวดเร็วเช่นนี้ สะท้อนถึงความผิดปกติที่ เกิดขึ้นด้วยแรงกดดันหลักๆ ดังนี้

• แรงกระตุ้นเงินเฟ้อ ทั้งจากฝั่ง Demand ด้วยความหวังเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว รวมถึงฝั่ง Supply จากความรุนแรงของปรากฏการณ์เอลนีโญ บวกกับ ราคาพลังงานที่ยังเห็นปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคาน้ำมัน Brent อยู่เหนือ 94 เหรียญฯ/บาเรล (+9%Mtd และ +10%Ytd) ทั้งนี้ในเชิงเทคนิค อาจมี Momentum ขยับขึ้นต่อไปถึง 100 เหรียญฯ/บาเรล

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

• ความเสี่ยง ค่าเงินบาทอ่อนค่า จากผลต่างระหว่าง Bond Yield 1 ปีไทย (2.4%) กับสหรัฐ (5.42%) โดยมี Gap ที่กว่างขึ้นเป็น 302 bps. ขณะเดียวกันยังมีความกังวลว่า Fitch Rating จะปรับอันดับความน่าเชื่อถือ ลงไทยลง (ปัจจุบันอยู่ระดับ BBB+) หากฐานะทางการคลังในบ้านเราอ่อนแอ

• ความเสี่ยง ค่าเงินบาทอ่อนค่า จากผลต่างระหว่าง Bond Yield 1 ปีไทย (2.4%) กับสหรัฐ (5.42%) โดยมี Gap ที่กว่างขึ้นเป็น 302 bps. ขณะเดียวกันยังมีความกังวลว่า Fitch Rating จะปรับอันดับความน่าเชื่อถือ ลงไทยลง (ปัจจุบันอยู่ระดับ BBB+) หากฐานะทางการคลังในบ้านเราอ่อนแอ

จากผลของนโยบายรัฐบาลใหม่ที่อาจทำหนี้พุ่ง ถือเป็นความเสี่ยงต่อ Fund Flow รวมถึงค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า

สรุป เงินบาทไทยที่อ่อนค่าอาย่างรวมเร็ว เป็นผลมาจากแรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อที่อาจ สูงขึ้น รวมถึง ยังมีความเสี่ยงที่ Fitch จะ Downgrade อันดับเครดิต หากฐานะการคลัง ไทยอ่อนแอลงมาก ถือเป็นความเสี่ยงให้ Fund Flow ชะลอการไหลเข้า และค่าเงินบาท อ่อนค่าต่อได้

ตลาดหุ้นซึมๆ ระยะสั้นเน้นหุ้นบาทอ่อน ระยะกลางยาว หุ้นรักษ์ โลกน่าสะสมเพิ่ม

คืนนีนักลงทุนรอการประชุม Fed (ตลาดคาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.5%) ส่งผลให้ ตลาดหุ้นไทยน่าจะซึมๆ ในวันนี้ แต่มีโอกาสเห็นทิศทางที่ฟื้นขึ้นหลังจากการประชุม สะท้อนได้จากสถิติในอดีต ปีนี้ Fed ประกาศดอกเบี้ยตามตลาดคาดทุกการประชุม ส่วนใหญ่ตลาดหุ้นจะผันผวนก่อนประชุม Fed แต่หลังประชุมมักฟื้น แม้ Fed จะขึ้น ดอกเบี้ยก็ตาม

ขณะที่ในประเทศ มีประเด็นนายกฯ เดินทางไปสหรัฐ และได้แถลงในงาน SDGs Summit เน้น 1. ลดความยากจน 2. ให้ความสำคัญสิทธิมนุษยชน 3. ส่งเสริม พลังงานสมัยใหม่ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการเข้าพบ CEO BlackRock เพื่อศึกษาแนว ทางการลงทุนในประเทศไทย ทั้งภาคการลงทุนขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ โดยเฉพาะ สนับสนุนธุรกิจ Clean Energy เพื่อขยายฐานการลงทุน และฐานการผลิต และ CEO ของ BlackRock แสดงความสนใจลงทุน SLB (Sustainability Linked Bond) ที่ รัฐบาลไทยจะผลักดันในปีหน้า

ประเด็นดังกล่าวน่าจะเป็น Sentiment ที่ดีต่อหุ้น Clean Energy รวมถึงธุรกิจที่เริ่มมี การเตรียมความพร้อม และเคยออก ESG Bond หรือ SLB ในช่วงที่ผ่านมา น่าจะ ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างประเทศมากขึ้น โดยฝ่ายวิจัยฯ ทำการ รวบรวมข้อมูลมี ESG Bond และ SLB ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น ดังนี้

สรุป ตลาดหุ้นน่าจะซึมๆ รอการประชุม Fed ระยะสั้น แต่ถ้าไม่ขึ้นดอกเบี้ยตามตลาด คาด SET มีโอกาสฟื้นขึ้นหลังการประชุมตามสถิติในอดีตได้ กลยุทธ์ระยะสั้นเน้นหุ้น ได้ประโยชน์จากบาทอ่อนค่า แนะนำ CPF TU ส่วนหุ้นที่เคยออก ESG Bond ได้กระแส หนุน และน่าสะสมหวังผลระยะกลางยาว แนะนำ BEM, BCPG, TU, IVL, EA, GULF, CPN ฯ

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

🙏
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย