ในเชิง Sentiment การที่ SET Index ปิดต่ำกว่า 1530 จุด ถือว่าเป็นสัญญาณ เชิงลบ ซึ่งอาจทำให้เห็นแรงขายตามออกมา เฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่โครงสร้าง การซื้อขายในตลาดหุ้นบ้านเรากว่า 35% เป็น Algo Trade ในทาง Technical เป็นไปได้ที่จะเห็นการย่อตัวลงมาบริเวณ 1500 จุด แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ ดังกล่าวถือว่าสวนทางกับปัจจัยพื้นฐาน ที่เห็นสัญญาณในช่วง 2H66 ที่ดีกว่า 1H66 อย่างมีนัยสำคํญ ทั้งในมุมของ เศรษฐกิจ และ กำไรบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ ยังเห็น Momentum ต่อเนื่องจากมาตรการทางการคลัง ที่รัฐบาล ออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการลดราคาน้ำมันดีเซล ลดค่าไฟฟ้า ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงการแจกเงินเข้า Digital Wallet ซึ่งน่าจะทำให้ทั้ง เศรษฐกิจ และกำไรบริษัทจดทะเบียนดีขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2567 ภายใต้สถานการณ์ ดังกล่าวเชิงกลยุทธ์ เห็นว่ายังเป็นช่วงเวลาที่ควรทยอยสะสมหุ้นลงทุนระยะยาว
การที่ SET Index ปิดต่ำกว่า 1530 ถือเป็นสัญญาณลบในทาง Technical และ อาจทำให้เห็นการอ่อนตัวลงมาต่ำ แนวรับแรกที่ 1520 จุด และปลายทางอาจเป็น 1500 จุด แนวต้าน 1535 จุด หุ้น Top Pick เลือก BEM, CPN และ SCGP
ปัจจัยแวดล้อมยังไร้แรงหนุนใหม่ๆ
การเคลื่อนไหวในตลาดหุ้นสัปดาห์นี้นี้ค่อนข้างให้น้ำหนักเรื่องการประชุมของธนาคาร ธนาคารกลางต่างๆ ที่สำคัญดังนี้
• การประชุม Fedในวันที่ 20 ก.ย.66 (21 ก.ย. เวลา 1:00 น. ตามประเทศไทย) Consensus คาดว่า Fed จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.5% สอดคล้องกับการสำรวจ ของ Fed Watch Tool ที่ให้น้ำหนักสูงถึง99% และอาจเห็นวัฏจักรดอกเบี้ยขา ขึ้นหยุดลงไปจนถึงต้นปีหน้า
• การประชุม BOE ในวันที่ 21 ก.ย. 66 (เวลา 18:00 น. ตามประเทศไทย) Consensus คาดว่า BOE จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ระดับ 5.5% หลังเงิน เฟ้อยังห่างไกลจากกรอบเป้าหมาย 2% (เงินเฟ้อ ก.ค. +6.8%YoY) รวมถึง เงินเฟ้อเดือน ส.ค. อาจเห็นการขยับขึ้นไปที่ +7.0%YoY
• การประชุม BOJ ในวันที่ 22 ก.ย. 66 Consensus คาดว่า BOJ จะยังคง ดอกเบี้ยไว้ที่ -0.1% อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นที่ 2567 มีโอกาสที่ BOJ จะ ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้างวดขึ้น หลังเงินเฟ้อกระโดดขึ้น
เมื่อพิจารณาจากข้อมูลในอดีตพบว่า ภาวะการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed ที่ ผ่อนคลายมากกว่า ECB มักจะกดดัน Dollar ให้อ่อนค่าลง ขณะที่ระยะถัดไปในฝั่ง ยุโรปยังเห็นแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง หรืออาจคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงนานขึ้น สวนทางกับฝั่งสหัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ Dollar Index ปรับตัวลดลงได้
ขณะที่ราคาน้ำมันล่าสุดยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังมีแรงขับเคลื่อนจากฝั่ง Demand มากขึ้นนับตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค. รวมถึงยังเริ่มเห็นแรงขั้บเคลื่อนที่มาจากฝั่ง Supply มากขึ้น โดยในทางเทคนิคประเมินราคาน้ำมันดิบ Brent จะขยับขึ้นไปที่ 96- 97 ดอลลาร์/บาเรล ส่วนราคาน้ำมันดิบ WTI จะไปที่ 92-93 ดอลลาร์/บาเรล
สรุป ภาพรวมในต่างประเทศยังอยู่ในช่วงของการ Wait & See รอติดตามการประชุม นโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ในสัปดาห์นี้ โดย Consensus คาด Fed จะ ดอกเบี้ย สวนทางกับฝั่งยุโรปที่ยังเห็นการขึ้นดอกเบี้ยอยู่ ภาวะดังกล่าวอาจกดดันให้ Dollar อ่อนค่ามากขึ้นในระยะถัดไป ขณะที่ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นอีก เล็กน้อยด้วยแรงขับเคลื่อนในฝั่ง Supply และ Demand
มติ ครม.มีนโยบายอะไรบ้าง ที่พร้อมกระชากใจประชาชน
หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ มีนโยบายที่จะช่วยเหลือประชาชน ซึ่งมีแบบแผนและแนวทางมากขึ้น เพื่อที่จะเร่ง GDP Growth ให้เข้าใกล้เป้าหมายที่ระดับ 5% ตามที่พรรคเพื่อไทยตั้งเป้าไว้ ซึ่งแต่ละนโยบายมีรายละเอียด ดังนี้
1. เปิดสนามบินเชียงใหม่ 24 ชั่วโมง เริ่ม 1 พ.ย.66
2. ลดค่าไฟฟ้าเพิ่มเติมเหลือ 3.99 บาท/หน่วย งวด ก.ย.66-ธ.ค.66 (อาจเข้า
บอร์ด กกพ. พิจารณา 20 ก.ย.66)
3. ลดน้ำมันเบนซิน / ดีเซล
4. พักหนี้เกษตรกรและ SME เสนอครม. ก.ย. 66
5. ค่ารถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย เสนอครม. ต.ค. 66(เริ่มนำร่อง ม.ค. 67ใน
รถไฟฟ้าสายสีแดง และ ม่วง)
6. Digital Wallet 10,000 บาท ชี้แจงวงเงิน + ที่มาเงินทุน ภายใน 10 วันนับจาก
นี้ (เริ่มใช้จ่าย 1Q67)
7. ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน เสนอครม พ.ย. 66 (มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.67)
ซึ่งนโยบายส่วนใหญ่เน้นไปที่การช่วยเหลือประชาชน และกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นหลัก คาด ทำให้เศรษฐกิจโตได้ดีกว่าที่คาดไว้(ระดับเดิม คือ 2%-3%) โดยมีโอกาสสูงที่ GDP Growth ไทยจะโตระดับ 5% ในปี 2567 ดังที่พรรคเพื่อไทยตั้งเป้าหมายไว้ ซึ่งหากเป็น จริง ถือว่าเป็น Sentiment ที่ดีต่อตลาดหุ้น เนื่องจากสถิติในอดีตบ่งชี้ว่า หาก GDP ไทยช่วงปีที่โตมากกว่า 5% หนุน RETURN SET INDEX เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 37%(ข้อมูล ตั้งแต่ปี 2543 – ปัจจุบัน)ซึ่งหากพิจารณาถึงกลุ่มหุ้นที่คาดได้ประโยชน์ คือ AGRI FIN TOURISM TRANS COMM FOOD เป็นต้น
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาในมุมของแหล่งที่มาของเงินทุน มีความเสี่ยงที่การจัดสรร งบประมาณเดิม(ปี 2567) อาจไม่เพียงพอต่อนโยบายข้างต้น ดังนั้น การกู้เงินจึงเป็นอีก หนึ่งวิธีที่สามารถทำได้ โดยประเทศไทยมีหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 61.15% (ข้อมูล ล่าสุดเดือน มิ.ย.66) ซึ่งตามกรอบวินัยการคลัง สามารถกู้เพิ่มได้จนกว่า หนี้สาธารณะ ต่อ GDP จะอยู่ที่ระดับ 70% ซึ่งจะกู้เพิ่มได้อีกราว 1.58 ล้านล้านบาท (บนสมมุติฐาน GDP 17.86 ล้านล้านบาท) แต่โดยหลักการแล้วไม่ควรกู้ จนเต็มเพดานหนี้ ซึ่งการ กระทำดังกล่าว อาจทำให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ อาทิ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด และ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด. ปรับลดความน่าเชื่อถือของ ประเทศได้ลงได้
สรุป ผลการประชุมครม.วานนี้ มีนโยบายออกมามากมาย ซึ่งส่วนใหญ่เน้นไปที่การ ช่วยเหลือภาคประชาชน ลดค่าครองชีพ และกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นหลัก หนุนให้ เศรษฐกิจตั้งแต่ 2H66 เติบโตเป็นขั้นบันได ขณะที่กลุ่มหุ้นที่คาดได้ประโยชน์ คือ AGRI FIN TOURISM TRANS COMM FOOD เป็นต้น คาดทำให้ SET Index มี Momentum ปรับขึ้นได้ในอนาคต โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวในกรอบ 1520 - 1540 จุด
การเก็บภาษีหุ้นต่างประเทศ อาจจูงใจให้นักลงทุนสนใจกองทุน FIF, DR รวมถึงหนุนสภาพคล่องหุ้นไทยเพิ่มขึ้นด้วย
ประเด็นการเก็บภาษีหุ้นต่างประเทศ โดยนำมาคิดรวมคำนวณกับภาษีเงินได้ เริ่ม 1 ม.ค. 67 ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่า มีผลต่างๆ ดังนี้
1. น่าจะเห็นนักลงทุนขายทำกำไรหุ้นต่างประเทศบางส่วน ในช่วงที่เหลือของปี ก่อนการเก็บภาษีจะมีผลบังคับใช้ เพราะนอกจากจะยังไม่เสียภาษีแล้ว ยังได้ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม หลังจากเงินบาทอยู่ในโซนอ่อนค่า 35.67 บาท/เหรียญ (อ่อนค่ามา 3.1%ytd) ซึ่งเม็ดเงินบางส่วนอาจเข้ามาเสริม สภาพคล่องตลาดหุ้นไทยในระยะถัดไป
2. กองทุนต่างประเทศ (FIF) จะได้รับความสนใจมากขึ้น ข้อมูล ณ สิ้นเดือน ส.ค. พบว่า มีกองทุน FIF ในไทยอยู่ 1040 กองทุน คิดเป็นสัดส่วน 36% จาก กองทุนทั้งหมด 2903 กองทุน และมีมูลค่าสินทรัพย์รวม 9.63 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 19% ของมูลค่าสินทรัพย์รวมของกองทุนทั้งหมด 5.08 ล้าน ล้านบาท ประเด็นการเก็บภาษีหุ้นต่างประเทศ น่าจะหนุนให้ บลจ. ต่างๆ ออก กองทุน FIF เพิ่มขึ้น (เพราะได้รับสิทธิไม่ต้องนำกำไรมาคำนวณรวมกับภาษี เงินได้เหมือนกับหุ้นต่างประเทศ) หนุนความต้องการซื้อหุ้นต่างประเทศ เพิ่มขึ้นได้
3. DR, DRx น่าจะได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง ที่เคลื่อนไหวและถูกซื้อขายได้เหมือนหุ้นต่างประเทศ โดยไม่ต้องไปเปิดพอร์ต หุ้นต่างประเทศ และยังไม่ต้องนำกำไรมาคำนวณรวมกับภาษีเงินได้เหมือนกับ หุ้นต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมี DR และ DRx อยู่ในตลาดทั้งหมด 19 ตัว ดังนี้
สรุปประเด็นการเก็บภาษีหุ้นต่างประเทศ น่าจะเป็นแรงหนุนให้นักลงทุนกลับมาสนใจ และให้น้ำหนักกับผลิตภัณฑ์การลงทุนในประเทศมากขึ้น ไม่ว่า กองทุน FIF, DR, DRx รวมถึงหุ้นไทยเอง อาจจะได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่มีการกระตุ้น เศรษฐกิจจากรัฐบาลใหม่ต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีพอดี
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities