สถานการณ์ทางการเมืองกลับมาอยู่ในภาวะที่ไม่แน่นอน อีกครั้งหลังจากที่เกิด อาการ 3 เลื่อน วานนี้ กล่าวคือ ศาลรัฐธรรมนูญเลื่อนพิจารณารับหรือไม่รับ คำ ร้องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินให้วินิจฉัยกว่าการใช้ ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่ 41 กับการโหวตเลือกนายกฯ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตามด้วยรัฐสภาเลื่อนกำหนด โหวตนายกฯ ออกไปจากเดิมที่จะโหวตในวันนี้ และ พรรคเพื่อไทยเลื่อนการแถลง เปิดตัวพรรคร่วมรัฐบาล สถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความไม่มั่นใจนำมาซึ่ง แรงขายของนักลงทุนเฉพาะอย่างยิ่ง นักลงทุนต่างชาติ และเชื่อว่าบรรยากาศ ดังกล่าว จะดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง ส่วนในมุมของเศรษฐกิจ BOE ปรับขึ้น ดอกเบี้ย 0.25% มาอยู่ที่ 5.25% และจากการประเมินท่าทีของธนาคารกลาง ต่างๆ เชื่อว่าวัฎจักรกากรปรับขึ้นดอกเบี้ยน่าจะใกล้จบ
ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานมีน้ำหนักทางลบประเมินว่ากรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index จะเลื่อนลงมาอยู่ที่ 1520 –1545 จุด สำหรับหุ้น Top Pickวันนี้เลือก ADVANC, PTTEP และ SCGP
ดอกเบี้ยสูง-วอลลุ่มหาย เสี่ยงกด SET Index สู่ระดับ 1542
วานนี้BoE มีมติ 6-3 ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25% ตาม คาด ซึ่งเป็นระดับสูงสุในรอบ 15 ปี โดย BoE ยังส่งสัญญาณว่า จะตรึงดอกเบี้ยไว้ใน ระดับสูงต่อไปอีกราว 2 ปี เพื่อจัดการกับเงินเฟ้อให้กลับสู่กรอบเป้าหมายที่ 2% หลัง แตะระดับ 7.9%YoY ในเดือนมิ.ย. ขณะที่ Bloomberg คาดว่าเพดานดอกเบี้ยอังกฤษ ในปีนี้จะอยู่ที่ 5.75% ซึ่งเป็นระดับค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้ยิ่ง ต้องติดตามผลกระทบหลังจากนี้ เนื่องจากดอกเบี้ยสูงจะเป็นแรงผลักให้ต้นทุน ทางการเงินสูงขึ้น จนอาจกระทบกับต่อกำไรของบริษัท โดยภาพใหญ่ของตลาดหุ้น ก็ จะเห็น Market Earning Yield Gapแคบลง
ส่วนดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 2.25% ซึ่งถือว่าเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 7 ปี ขณะที่การดำเนินโยบายการเงินในระยะถัดไป กนง. พร้อมจะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้อง กับภาพรวมเศรษฐกิจ นอกจากนี้สถานการณ์ความเสี่ยงในบ้านเราหลักๆ ยังเต็มไป ด้วยความไม่แน่นอนทางการเมือง จนกระทบต่อการไหลเข้ากับ Fund Flow ในช่วงนี้ ทำ ให้ฝ่ายวิจัยประเมินว่า ณ ดอกเบี้ยที่ 2.25% จะสร้างแรงกดดันต่อ SET Index มีแนว ต้านทางพื้นฐานแรกอยู่ที่ 1542 จุด (EPS66F เท่ากับ 91.8 บาท/หุ้น, MEYG ที่ 3.7%)
สรุป อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับสูง จะส่งผลทำให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ซึ่งก็ หมายถึง Discount Rate ในการทำ Valuation สูงขึ้น ขณะที่ภาพใหญ่ของตลาดหุ้น ก็ จะเห็น MEYG แคบลง ซึ่งในบ้านเรายังมีความเสี่ยงจากการเมืองที่ไม่ชัดเจน จนอาจ สร้างแรงกดดันต่อ SET Index สู่ระดับ 1542 จุด
ตลาดหุ้นซึม กังวลสุญญากาศทางการเมืองที่ยาวนานขึ้น
วานนี้ศาลรัฐธรรมนูญ แถลงเลื่อนวันพิจารณาสั่งรับ หรือ ไม่รับ คำร้อง กรณีใช้ ข้อบังคับการประชุมที่ 41 สำหรับการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ เหตุเพราะต้องพิจารณารอบครอบ-พร้อมตรวจสอบสถานะผู้ร้องเรียน นัด ประชุมเพื่อพิจารณาอีกครั้ง 16 ส.ค.66 ผลสืบเนื่องจากกรณีดังกล่าวทำให้ ประธานสภาฯ สั่งเลื่อนโหวตนายกฯรอบ 3 ออกไปโดยไม่มีกำหนด จากเดิมจะโหวต วันที่ 4 ส.ค.66 ขณะที่ฝั่งพรรคเพื่อไทยก็เลื่อนการแถลงรายชื่อพรรคที่ร่วมรัฐบาล เช่นกัน เดิมวันที่ 3 ส.ค. ออกไปแบบไม่มีกำหนด ซึ่งจากหลายแหล่งข่าวอ้างอิงบ่งชี้ว่า พรรคหลักๆ ที่คาดร่วมรัฐบาล อาทิ พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาชาติ เป็นต้น) ประเมินเสียงสนับสนุนที่ 263 เสียง และต้องการเสียงจาก สส. และ สว. อีกอย่างน้อย 112เสียง ถึงจะจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ
ประเด็นดังกล่าว ทำให้มีโอกาสจะเห็นการจัดตั้งรัฐบาลที่ล่าช้าขึ้นอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และเกิดภาวะสุญญากาศทางการเมืองที่ยาวกว่าที่คาดหมาย โดยเป็นไปได้ที่การได้มา ซึ่งรัฐบาลใหม่อาจอยู่ในช่วงเดือน ก.ย.66 ซึ่งเป็นเวลาที่ใกล้เคียงกับการสิ้น ปีงบประมาณ ปี 2566 และ ต้องเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 วันที่ 1 ต.ค.66 – 30 ก.ย.67 ซึ่งตอนนี้งบประมาณปี 2567 ยังต้องรอรัฐบาลใหม่ เข้ามาพิจารณาต่อ ทำให้ การใช้งบประมาณปี 2567 เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจลดประสิทธิภาพลง
สำหรับการประชุมรัฐสภาในวันนี้ จะมีการนำระเบียบวาระที่ 2 เรื่องการพิจารณาแก้ไข รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระแรกแทน ส่วนการเลือก นายกรัฐมนตรีคงต้องรอหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า จะมีคำสั่งอย่างไร ในวันที่ 16 ส.ค. 66 อีกครั้ง
สรุป ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินภาพการเมืองมีสัญญาณที่ผันผวนและคาดเดาได้ยาก หลัง เกิดการเลื่อนกำหนดการของศาลรัฐธรรมนูญ วันโหวตนายก และพรรคร่วมรัฐบาล ใหม่ ทำให้เกิดความล่าช้าของจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวคาดเห็น Flow ต่างชาติยังไม่ซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทย และมีโอกาสเห็นตลาดหุ้นไทยแกว่งผันผวนช่วง 2 สัปดาห์นี้ โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index 1520-1545 จุด
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ ฝ่ายวิจัยฯมองเช่นไร
ราคาน้ำมันดิบในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมายังอยู่ในกรอบระดับสูง 80-85 เหรียญฯต่อ บาร์เรล โดยได้รับปัจจัยหนุนหลักจากด้าน Supply ที่ผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก พยายามที่จะควบคุมปริมาณน้ำมันดิบในตลาดโลกให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความ ต้องการใช้ เพื่อช่วยพยุงราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับสูง ทั้งประเด็นการประกาศขยาย เวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียโดยสมัครใจจำนวน 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำให้ซาอุดิอาระเบียจะผลิตน้ำมันที่ 9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึง สิ้นเดือน ก.ย. ซึ่งถือเป็นการปรับลดต่อเนื่องเดือนที่ 3 นับตั้งแต่เดือน ก.ค. อีกทั้ง คาดการณ์การประชุมนโยบายการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และ ชาติพันธมิตร (โอเปกพลัส) ในวันนี้ (ศุกร์ 4 ส.ค.66) ว่าที่ประชุมจะยืนตามมติเดือน ต.ค. 2565 ในการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มฯลง 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึง สิ้นปี 2566 รวมถึงประเด็นสนับสนุนล่าสุดที่รองนายกรัฐมนตรีรัสเซียแถลงวานนี้ว่า รัสเซียจะลดการส่งออกน้ำมันจำนวน 3 แสนบาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.ย. ซึ่งจาก ประเด็นต่างๆที่กล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นมุมมองการควบคุมระดับราคาโดยผู้ผลิต
รายใหญ่ของโลกให้อยู่ในระดับที่พึงพอใจราว 80-85 เหรียญฯต่อบาร์เรล ถึงแม้ในช่วง ที่ผ่านมาจะมีหลายปัจจัยที่กดดันทางด้าน Demand ทำให้ฝ่ายวิจัยได้มีการปรับเพิ่ม มุมมองระยะยาวสำหรับราคาน้ำมันดิบดูไบตั้งแต่ปี 2567 ขึ้นมาอยู่ที่ 80 เหรียญฯต่อ บาร์เรล สะท้อนนโยบายของกลุ่มโอเปกและโอเปกพลัสที่มักจะมีมติปรับลดกำลังการ ผลิตในวาระต่างๆออกมาเสมอเพื่อประคองราคาน้ำมันในตลาดไม่ให้ปรับตัวลดลงไป ขณะที่สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบในปี 2566 ยังคงไว้ที่ 90 เหรียญฯต่อบาร์เรล เนื่องจากยังมีประเด็นสงครามรัสเซียยูเครนที่ยังมีความกังวลว่าจะส่งผลกระทบเป็น ระลอกๆ โดยภาพรวมเชิงกลยุทธ์ยังคงแนะนำลงทุนในลักษณะ trading ตามราคา น้ำมันอยู่สำหรับ PTTEP (FV@B178)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities