ปรากฎสัญญาณบวกสำหรับตลาดหุ้นบ้านเราเพิ่มขึ้น เริ่มจากการเมือง ซึ่งวาน นี้ได้ข้อสรุปเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎร์ โดยเพื่อไทย-ก้าวไกล เสนอ คุณวันมู หะมัดนอร์ มะทา เข้าชิงตำแหน่ง ข้อสรุปดังกล่าวช่วยลดระดับความไม่แน่นอนทาง การเมืองลง ถัดไปเป็นกระบวนการในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรามองว่า จะเกิดขึ้นในสัปดาห์หน้า อีกสัญญาณบวกหนึ่งคือ เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดยล่าสุด มาอยู่ที่ 34.96 บาท/USD ซึ่งน่าจะถือเป้น Indicator ว่ามีโอกาสที่ Fund Flow อาจหยุดการไหลออก ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือทิศทางของเงินเฟ้อที่จะประกาศในอีก 2 วันข้างหน้าว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 0.1% YoY ซึ่งหากเป็นดังกล่าวก็จะสร้างโอกาส ให้ กนง. ชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ชั่วคราว ภาพรวมดังกล่าวน่าจะดึงความ เชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมาได้ระดับหนึ่ง แต่ SET Index ก็ยังมี Upside จำกัด
ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมเชิงบวกที่มีมากขึ้น คาดว่า SET Index วันนี้น่าจะปรับตัว ขึ้นได้ต่อ แต่ยังมีUpside จำกัด ประเมินแนวต้านที่ 1520 จุด แนวรับ 1490 จุด หุ้น Top Pick เลือก MAJOR, IVLและTIDLOR
ปัจจัยภายนอก-ในประเทศที่ดูตึงๆ ต้องติดตาม
ปัจจัยภายนอกประเทศ : วานนี้ตลาดฝั่งสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นในกรอบแคบราว +0.03% ถึง +0.4% เนื่องจากมีการเปิดตลาดเพียงครึ่งวันทำการ บวกกับความหวังว่าFedจะ ชะลอการขึ้นดอกเบี้ย หลังดัชนีISM Manufacturing ของสหรัฐในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 46.0 จุด ต่ำกว่าคาดที่ระดับ 47.0 ซึ่งหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 สะท้อนภาคการ ผลิตยังคงอยู่ในโซนหด (PMI
ส่วนตลาดหุ้นในฝั่งยุโรปปิดตัวราว -0.02% ถึง -0.4% หลัง PMI ภาคการผลิตของ ยุโรปเดือน มิ.ย. ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 43.4 ต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดโควิด19 ทำให้ยิ่งเพิ่มระดับความกังวลเศรษฐกิจ Recession ในระยะข้างหน้า
ปัจจัยภายในประเทศ : ธปท. ได้ปรับปรุงสถิติเปลี่ยนนิยามหนี้ครัวเรือน (หนี้เดิมที่เกิด ขึ้นมานานแล้ว) เพื่อให้ครบถ้วนครอบคลุมมากขึ้น โดยมาจากผู้ให้กู้ 4 กลุ่ม ได้แก่ กย ศ., สหกรณ์อื่นๆ (ที่ไม่ใช่สหกรณ์ออมทรัพย์), การเคหะแห่งชาติ, พิโกไฟแนนซ์ ทำให้ ยอดหนี้ใน 1Q66 เพิ่มขึ้นแตะ 16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ต่อ GDP (เดิม 86.3%) ขณะที่แนวโน้มหนี้เสีย (NPL) ในอนาคต ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. มองว่า NPL มีโอกาส สูงขึ้นบ้าง จากกลุ่มเปราะบางที่รายได้น้อย หรือรายได้ยังไม่ฟื้นตัวแต่ทั้งนี้ ธปท. เชื่อว่า จะบริหารจัดการได้ อีกทั้งการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยจะทำให้ความสามารถ การชำระหนี้ดีขึ้น ประเด็นดังกล่าว ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่า หุ้นกลุ่ม Fin ลิสซิ่งและบริหาร หนี้เป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ อาทิ JMT JMART TIDLOR MTC SAWAD
สรุป PMI ภาคการผลิตที่ยังคงตัวต่อเนื่องในสหรัฐ-ยุโรป เป็นอีกหนึ่งสัญญาณ ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะ Recession จากการชะลอตัวลงของภาคการค้า ระหว่างประเทศ ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศยังต้องติดตามยอดหนี้ครัวเรือนไทย และ NPL ที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่เข้ามากดดันภาพรวมเศรษฐกิจในระยะ ข้างหน้าได้
เสียงจากผู้คุมกฎ และแหล่งข่าวจากสถาบันการเงิน
วานนี้ ธปท. จัด Media Briefing เรื่อง สถานการณ์หนี้ครัวเรือนและความคืบหน้า แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน ประเด็นหลัก อาทิ
1. หนี้ครัวเรือน ภายหลังปรับปรุง ผ่านการรวมหนี้ กยศ. 4.83 แสนล้านบาท, สหกณ์ (ไม่รวมสหกรณ์ออมทรัพย์) 2.65 แสนล้านบาท , การเคหะแห่งชาติ 1.1 หมื่นล้านบาท และ พิโกไฟแนนซ์ 6 พันล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ณ สิ้นงวด 1Q66 มาอยู่ที่ 90.6% (VS สิ้นงวด 4Q65 ที่ 91.4%) จากเดิม 86.3% (สิ้นงวด 4Q65 ก่อนปรับปรุงที่ 87.0%) ในมุมมองของ ธปท. มองสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่ เหมาะสมอยู่ที่ 80% ของ GDP ตามความเห็นของฝ่ายวิจัยประเด็นดังกล่าวไม่ได้ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกำลังซื้อผู้บริโภคในประเทศ เนื่องจากเป็นหนี้ที่มีอยู่เดิม
2. มาตรการการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน (เตรียมเปิดรับฟังความเห็น คาดเห็นบาง มาตรการอย่างเป็นทางการในช่วง 3Q66 เช่น Responsible Lending) หลักๆ ประกอบด้วย
2.1) Responsible Lending (RL) อย่าง ไม่กระตุ้นการกู้จนเกินตัว รวมทั้งการ แก้ปัญหาให้กับลูกหนี้ที่มีหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt) หวังผลให้ลูกหนี้ สามารถปิด จบหนี้ได้เร็วขึ้น เน้นไปที่ Revolving P-Loan (อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 25%) ที่จ่ายหนี้ได้ ตามปกติแต่ปิดจบหนี้ไม่ได้หรือต้องใช้เวลานานมากเกินไป กล่าวคือ จ่ายดอกเบี้ย มากกว่าเงินต้น เป็นระยะเวลาติดต่อกัน X ปี ทั้งนี้ อ้างอิง นสพ. กรุงเทพธุรกิจ วันนี้ เปิดเผยว่าแหล่งข่าวจากสถาบันการเงิน กรณีที่เข้าข่ายเป็นลูกหนี้เรื้อรัง (จ่ายดอกเบี้ย มากกว่าเงินต้น 2 ปี) ต้องสามารถจบหนี้ให้ได้ภายใน 4 ปี หากไม่จบในปีที่ 3 และหนี้เริ่ม ลามเข้าสู่ปีที่ 4 เจ้าหนี้ต้องลดดอกเบี้ยให้มากที่สุด 8% - 12% ตามความเสี่ยงของ ลูกหนี้
ความเห็นฝ่ายวิจัย ต่อประเด็น RL ให้น้ำหนักหลักไปที่การแก้หนี้เรื้อรัง เนื่องจากอาจ ส่งผลต่อ Yield ของสินเชื่อกลุ่มนี้ได้ มองเป็น Sentiment ลบ ต่อ SETBANK และ Non Bank (กลุ่มบัตรเครดิตเป็นหลัก) ขณะที่ในทางพื้นฐานสำหรับกลุ่มธนาคาร ด้วยสัดส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตและ P-Loan มีสัดส่วนไม่สูงอยู่ที่ราว 6% ของพอร์ต สินเชื่อ จะมี KTB ที่มีสัดส่วนสินเชื่อสินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิต ราว 25% ของพอร์ต สินเชื่อ แต่เป็นการปล่อยสินเชื่อบุคคลให้กับกลุ่มราชการเป็นหลัก คิดอัตราดอกเบี้ย ตาม MRR ส่วนพอร์ตสินเชื่อบัตรเครดิตและ P-Loan ของ KTC ราว 1 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 4% ของพอร์ตสินเชื่อ KTB ด้าน TISCO ที่มีสัดส่วนสินเชื่อ บุคคลราว 17% ของพอร์ตสินเชื่อ แต่เป็นจำนำทะเบียนรถยนต์ มีระยะเวลาการผ่อน 5 – 7 ปี ซึ่งสัดส่วนการจ่ายเงินต้นจะสูงขึ้นตามระยะเวลาการผ่อนอยู่แล้ว (Fix installment : หลักการเดียวกับการผ่อนชำระบ้าน) จึงไม่ได้เป็นประเด็น เช่นเดียวกับ Non Bank ที่ทำสินเชื่อจำทะเบียนรถเป็นหลัก อย่าง TIDLOR มองว่าผลกระทบจำกัด
2.2) Risk-based pricing คิดดอกเบี้ยตามความเสี่ยงลูกหนี้ มองประเด็นนี้กระทบ จำกัด เพราะเปิดทางให้ ธ.พ. และ Non Bank คิดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกับลูกหนี้ที่มี ความเสี่ยงสูงขึ้น เปิดทางให้ ธ.พ. เข้าถึงลูกค้าที่ยังไม่เข้าถึงบริการของธนาคารมาก ขึ้น
2.3) MacroPrudential Policy (MaPP) หลักๆ คือ DSR (ค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระ ต่อเดือน / รายได้ลูกหนี้) ยังต้องรอรายละเอียดอย่างเป็นทางการต่อไป ซึ่งปกติแล้วแต่ ละ ธ.พ. มีสัดส่วน DSR ในกระบวนการพิจารณาสินเชื่อของแต่ละธนาคาร และการ คำนวณค่าใช้จ่ายในการผ่อนชำระต่อเดือนไม่เท่ากัน
นอกจากนี้ประเด็นการเพิ่มธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดอัตราดอกเบี้ย ตามที่เป็นกระแส ข่าวในช่วงที่ผ่านมา ในมุมมองฝ่ายวิจัยประเมินการเพิ่มธนาคาร ไม่ได้ส่งผลต่ออัตรา ดอกเบี้ยโดยตรง เหตุเพราะกลไกลอัตราดอกเบี้ยราว 60% -70% ของพอร์ตสินเชื่อ กลุ่มฯ อิงตาม M-Rate (รายใหญ่, SME และสินเชื่อบ้าน) ซึ่งเคลื่อนไหวตามอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายเป็นหลัก ส่วนบัตรเครดิตและสินเชื่อรายย่อย อื่นๆ มีเพดานอัตรา ดอกเบี้ยโดย ธปท. อยู่แล้ว ขณะที่สินเชื่อรถยนต์ มีคู่แข่งหลัก คือ กลุ่มค่ายรถยนต์ที่ จัดสินเชื่อเอง ทั้งนี้ ธปท. มีแผนเปิดใบอนุญาตจัดตั้ง Virtual bank อยู่แล้ว 3 ใบ คาด เปิดดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบปี 2569 เชื่อว่า ธปท. คงติดตามการดำเนินงานของ 3 Virtual bank นี้ก่อน เพื่อพิจารณาเปิดใบอนุญาตเพิ่มต่อไป
กล่าวโดยสรุป ภาพดังกล่าวเป็น Sentiment ลบต่อ SETBANK แต่ทางพื้นฐานจำกัด ต่อกลุ่มธนาคาร ส่วน Non Bank ให้น้ำหนักไปที่กลุ่มบัตรเครดิต มากกว่าจำนำ ทะเบียน สำหรับ ธ.พ. ใหญ่ เรียงตามประโยชน์จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและคุณภาพ สินทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ดี ช่วยให้การบริหารจัดการสำรองยืดหยุ่นกว่า ดังนี้ KTB (Outperform : FV@B20.3) > BBL (Outperform : FV@B174) > SCB (Outperform FV@B132) > KBANK (BK:KBANK) (Neutral : FV@B140) ส่วน ธ.พ. เล็กเลือก TISCO (Neutral : FV@B108) > KKP(Underperform : FV@B73)
ประเด็นการเมืองชัดเจนขึ้น หนุน SET Index ปัจจุบันน่าสะสม
ประเด็นการเมือง มีสัญญาณความชัดเจนมากขึ้นในการจัดตั้งรัฐบาล หลัง แถลงการณ์ร่วมระหว่างพรรคก้าวไกล-เพื่อไทย ได้ข้อสรุปเห็นตรงกันว่าจะเสนอชื่อ คุณวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ (อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร์ปี 2539) เป็นประธานสภาฯ และเสนอให้รองประธานฯ คนที่ 1 มาจากพรรคก้าวไกล , รองประธานฯ คนที่ 2 มาจากพรรคเพื่อไทย โดยวันนี้จะมีการโหวตเลือกประธานสภา ฯ ขณะที่วาระถัดไป คือ การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี (ประเมินว่าน่าจะทิ้งช่วง ประมาณ 10 วัน)ซึ่งผู้ที่ผ่านการโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่ง ของรัฐสภา ประกอบด้วย ส.ส. 500 คน และ ส.ว. 250 คน รวม 750 คน หมายความ ว่าต้องได้คะแนนเสียงสนับสนุน 376 คนขึ้นไป ทั้งนี้เสียงของพรรคร่วมรัฐบาลที่มีการ ลงมติข้อตกลง MOU ร่วมกันมีเพียง 312 เสียงซึ่งขาดอีก 64 เสียงถึงจะมีคะแนนเสียง สนับสนุนเลือกนายกรัฐมนตรีได้ซึ่งต้องเพิ่งพาเสียงสนับสนุนจาก สว. บางส่วน ทั้งนี้ จากการที่ ว่าที่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร์ ให้ความเห็นผ่านสื่อ ระบุว่า ถ้าโหวตนาย พิธาเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ผ่านรอบแรก อาจเปิดจะให้โหวตใหม่อีก 1-2 ครั้ง เพื่อให้อิง ตามหลัก MOU ที่ได้ว่าร่วมกันทั้ง 8 พรรค ว่าด้วยเรื่อง การร่วมมือกันเพื่อสนับสนุน ให้ตัวแทนของพรรคก้าวไกลเป็นนายกรัฐมนตร
ประเด็นดังกล่าว คาดทำให้นักลงทุนผ่อนคลายความกังวลช่วงสั้น และหนุน SET Index ปรับตัวขึ้นต่อได้ โดย SET Index ในปัจจุบัน ถือว่าอยู่ในโซนน่าทยอยสะสม และ Laggard กว่า ตลาดหุ้นหลายๆ ประเทศพอสมควร
แม้บรรยากาศการเมืองตลบอบอวล แต่ตลาดหุ้นไทยมี สัญญาณดูดีขึ้น
ภายใต้บรรยากาศการเมืองที่ตลบอบอวล ตลาดหุ้นไทยแอบมีสัญญาณดูดีขึ้นดังนี้
1. ในช่วง 3 วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยฟื้นขึ้น 40 จุด หรือ 2.7% มาอยู่ที่ 1506.84 จุด ซึ่งในเชิงเทคนิคดูดีขึ้นเล็กๆ หลังดัชนีกลับมายืนเหนือเส้น EMA 10 วัน ที่ 1502 จุด ได้
2. Fund Flow เริ่มมีการไหลกลับมาในตลาดหุ้นแถบเอเชียใต้ รวมถึงตลาดหุ้น ไทยบ้าง โดยในช่วง 4 วันที่ผ่านมา ต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย 3 ใน 4 วัน ทำการมูลค่ารวม 1.4 พันล้านบาท และเป็นการซื้อที่โดดเด่นสุดในภูมิภาค ขณะที่ตลาดหุ้นในฝั่งเอเชียเหนือเริ่มเห็นการสลับมาขายสุทธิบ้างหลังจากซื้อ ติดต่อกันมานาน
3. ค่าเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าแรงสุดในภูมิภาค โดยในช่วง 28 มิ.ย. – 3 ก.ค. 66 ค่าเงินบาทพลิกกลับมแข็งค่า 1.08% มาอยู่ที่ 35.23 บาท/เหรียญ ขณะที่ เช้านี้แข็งค่าขึ้นต่อจนต่ำกว่า 35 บาท/เหรียญแล้ว ทำให้เชื่อว่า Fund Flow ยัง มีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเช่นกัน
ทั้ง 3 ปัจจัย อาจช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนน้อยลง โดยประเมินกรอบแนวต้าน ทางพื้นฐานที่ 1540 จุด และแนวรับที่ 1480 จุด หาก SET Index ย่อตัวลงมาน่าจะเป็น จังหวะที่ดีในการเข้าสะสมอีกครั้ง
ส่วนวันนี้ Top pick แนะนำหุ้นพื้นฐานย่อตัวลงลึก มีแรงหนุนจากกำไร 2Q66 เด่น IVL, MAJOR และหุ้นหวังแรงกดดันการขึ้นดอกเบี้ยน้อยลง อย่าง TIDLOR
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities